คันไถเป็นเครื่องมือที่ใช้ควายหรือวัวลากเพื่อพลิกหน้าดิน มีรูปร่างโค้ง ไถแต่ละท้องถิ่นอาจมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไถที่ใช้กันทั่วไปจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ ไถเดี่ยว (ใช้ควายไถตัวเดียว) และ ไถคู่ (ใช้วัวไถ 2 ตัว) โดยส่วนประกอบหลักของไถประกอบด้วย
คันไถทำจากไม้เนื้อแข็ง เป็นส่วนที่เป็นมือจับของไถ ใช้บังคับไถ มีลักษณะโค้งงอ รูปร่างและขนาดพอเหมาะแก่การจับถือและบังคับ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามความนิยมของชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น
หางยามเป็นส่วนที่เสียบลงบนหัวหมู มีลักษณะโค้งงอ ใช้ประโยชน์ในการบังคับไถให้ทรงตัวหรือเคลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการ
แอกเป็นไม้ที่วางบนคอวัวหรือควาย มีขนาดโตราวท่อนแขน เจาะรูกึ่งกลางเพื่อร้อยเชือก ปลายทั้งสองข้างควั่นรอยลึกสำหรับผูกเชือก ให้ควายหรือวัวดึงไถไปข้างหน้า
ในปัจจุบันที่บ้านห้วยสะพาน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีการไถนาโดยการใช้วัวหรือความเทียมคันไถกันน้อยลง นายสวงค์ สารีวงษ์ ชาวบ้านบ้านห้วนสะพานจึงได้ประดิษฐ์คันไถขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ ๑ - ๑.๕ เมตร
โดยมีรูปร่างลักษณะและองค์ประกอบเหมือนคันไถจริงทุกประการ แต่ทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก เพื่อความสวยงาม และใช้ประดับตกแต่งบ้าน