ภาษาผู้ไท(เขียนผู้ไทยหรือภูไทก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่างๆ ของไทยลาวและเวียดนามเข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูของเวียดนาม เรียกว่าชาวไทดำในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำอีกทอดหนึ่ง
ภาษาผู้ไทเป็นภาษาในตระกูลไท จึงมีลักษณะเด่นร่วมกับภาษาไทยด้วย นั่นคือ
เป็นภาษาคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
เป็นภาษามีวรรณยุกต์
โครงสร้างประโยคแบบเดียวกัน คือ"ประธาน กริยา กรรม" ไม่ผันรูปตามโครงสร้างประโยคค88คค889คค
หน่วยเสียงพยัญชนะฐานกรณ์ของเสียงริมฝีปากล่าง-ฟันริมฝีปากโคนฟันเพดานส่วนแข็งเพดานส่วนอ่อนช่วงคอเสียงหยุด (ไม่ก้อง)-/ป//ต//จ//ก//อ/เสียงหยุด (ไม่ก้อง)-/พ//ท/-/ค/-เสียงหยุด (ก้อง)-/บ//ด/---เสียงขึ้นจมูก-/ม//น//ญ//ง/-เสียงเสียดแทรก/ฟ//ส/---/ห/กึ่งสระ/ว/--/ย/--ลอดข้างลิ้น-/ล/----
ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้
/ญ/ เป็นหน่วยเสียงพิเศษ ที่ไม่พบในภาษาไทยภาคกลาง แต่พบได้ในภาษาไทยถิ่นอีสาน เหนือ และใต้ (บางถิ่น) ในภาษาผู้ไท บางถิ่นผู้พูดใช้เสียง /ญ/ โดยตลอด บางถิ่นใช้ทั้งเสียง /ญ/ และ / ย/ โดยไม่แยกแยะคำศัพท์หน่วยเสียงสระ
ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น (เพื่อความสะดวก ในที่นี้ใช้อักษร อ ประกอบสระ เพื่อให้เขียนง่าย)สระสูงอิ, อีอึ, อืออุ, อูสระกลางเอะ, เอเออะ, เออโอะ, โอสระต่ำแอะ,แออะ,อา
เอาะ, ออ
อนึ่ง ในภาษาผู้ไทมักไม่ใช้สระประสม นิยมใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้ ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว
ภาษาไทยกลางภาษาผู้ไท/หัว//โห//สวน//โสน//เสีย//เส//เขียน//เขน//เสือ//เสอ//มะเขือ//มะเขอ/[แก้]หน่วยเสียงวรรณยุกต์
หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย
[แก้]พยางค์
พยางค์ในภาษาผู้ไทมักจะเป็นพยางค์อย่างง่าย ดังนี้
เมื่อประสมด้วยสระเสียงยาว พยางค์อาจประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ โดยจะมีพยัญชนะตัวสะกดหรือไม่ก็ได้เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด