ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 47' 49.6748"
16.7971319
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 18' 18.8186"
101.3052274
เลขที่ : 103227
หลวงปู่เง้า
เสนอโดย natcha วันที่ 15 กรกฎาคม 2554
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 9 มิถุนายน 2555
จังหวัด : เพชรบูรณ์
1 2555
รายละเอียด

หลวงพ่อเหง้า ก็คือ “พระครูสังวรธรรมคุตสุวิสุทธคณีสังฆวาหะ” เจ้าคณะจังหวัดหล่มสัก ครองวัดศรีภูมิ (บ้านติ้ว) เมื่อสมัย 50 ปีล่วงมาแล้วนั่นเอง ชาวอำเภอหล่มสัก รวมทั้งชาวหล่มเก่ารู้จักดีทั่วกัน โดยเฉพาะชาวบ้านติ้ว บ้านโสก บ้านหวายบ้านห้วยไร่ บ้านห้วยโปร่ง ฯลฯ ล้วนเป็นลูกศิษย์ ลูกหาท่านทั้งนั้น.
ลูกศิษย์ที่สำคัญทางฝ่ายบ้านเมืองได้แก่ ท่านเจ้าเมืองหล่มสักคนที่ 3 คือ พระสุริยะวงษามหาภักดีเดชชนะสงคราม และพระประเสริฐสุริยะศักดิ์ และลูกพระยาพานทองเมืองหล่มสัก ซึ่งเป็นต้นตระกูลสกุลของ “สุวรรณทา” เป็นต้น ทางฝ่ายพุทธจักร ก็มี พระครูวาทีวิสุทธิ์ วัดทุ่งจันทร์สมุทร เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏี แม้ปัจจุบันก็ยังมีลูกศิษย์หลวงพ่อเหง้าที่ยังเรืองวิชาอาคมอยู่แทนท่าน ก็คือ “พระครูวิชิตพัชราจารย์” หรือ “หลวงพ่อทบ” แห่งวัดพุทธบาท เขาน้อย อำเภอชนแดนนั่นเอง ทางฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ ก็มีเจ้าคณะจังหวัดหล่มสักองค์แรกคือ “พระครูวิเศษสารคุณ” แห่งวัดศรีสะอาด ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดอยู่ 25 พรรษา ก็ลาสิกขาไปประกอบอาชีพอื่น ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดจึงมาตกแก่ “ครูบาเหง้า” หรือ “หลวงพ่อเหง้า” แห่งวัดศรีภูมิ (บ้านติ้ว) ได้รับยศพระครูเป็น “พระครูสังวรธรรมคุตสุวิสุทธคณี สังฆวร” นับว่าได้รับพระราชทานยศเป็นเจ้าคณะจังหวัด พร้อมกับเจ้าเมืองหล่มสักคนที่ 3 ได้รับยศพระยา คือ “พระยาสุริยะภักดีสุนทร”
หลวงพ่อเหง้า ท่านเป็นคนในถิ่นฐานบ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสักโดยกำเนิด นามสกุลเดิมท่าน คือ “บัวบา” และเหล่านามสกุล “อินดีคำ” เป็นนามสกุลญาติพี่น้องของท่าน ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุยังเยาว์ เมื่ออายุครบอุปสมบท ท่านก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี ครูบาหนองดู่เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมเป็นพระภิกษุแล้ว ก็คงครองวัดศรีภูมิ (บ้านติ้ว) เรื่อยมาจนได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น “พระครูสังวร ธรรมคุตฯ” ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดหล่มสัก ท่านมีอายุที่ยืนนาน และมรณภาพเมื่ออายุได้ 99 พรรษา ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีภูมินั้น นับว่าท่านเป็นผู้วางรากฐานสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดศรีภูมิเป็นอันมาก จนวัดใหญ่โตกว้างขวาง จนต้องจัดแบ่งคณะปกครอง เช่น คณะศรีบุญเรือง คณะเหนือ คณะศรีภูมิ เป็นต้น จนต่อมาชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นวัดติดกัน 3 วัด แท้ที่จริงเป็นการแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยหลวงพ่อเง่านั่นเอง
วัดศรีภูมิหรือวัดบ้านติ้วนี้ เดิมทีเดียวเมื่อแรกสร้างวัดนี้ มีพระภิกษุจากเวียงจันทร์มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก จะสังเกตได้จากถาวรวัตถุ คือ เจดีย์ระหว่างพระอุโบสถกับอนุสาวรีย์ รูปเหมือนหลวงพ่อเหง้า ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยศรัทธาของชาวเวียงจันทร์ที่ติดตามเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกที่มาอยู่วัดนี้ไม่ว่าจะเป็นเมืองหล่มเก่าหรือเมืองหล่มสัก ชาวบ้านมักจะนิมนต์พระจาก เวียงจันทร์มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเสมอ ซึ่งมีประวัติอันยาวนานให้ศึกษาค้นคว้าที่ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม แม้นามจะเรียกขานเป็นเจ้าอาวาส แต่ก็ยังนิยมเรียกขานยศแบบเวียงจันทร์ หลวงพ่อเหง้า นับเป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งในด้านของจิตใจทางพระพุทธศาสนาและทางโลกโดยครบถ้วน เล่าขานกันว่า ครั้งกระโน้นชาวบ้านติ้ว บ้านโสก และบ้านใกล้เคียง มีอาชีพทางค้าโค กระบือ ต้องคุมขบวนไปขายทางขอนแก่นและภูเขียว โดยใช้เส้นทางสายซำบอน นาพ้อสอง และผานกเค้า ตามเส้นทางนั้นต้งฝ่าป่าฝ่าดงและเทือกเขาสลับซับซ้อน ทั้งมีโจรปล้นชิงอยู่เสมอ ชาวบ้านอาศัย “หลวงพ่อเหง้า” เป็นหลักชัย นั่นคือขอตระกรุตละผ้าประเจียดของหลวงพ่อไปด้วย ถึงป่าไหนมืดค่ำก็พักขบวนคาราวาน ใช้ทรายเสกของหลวงพ่อเง่าสาดซัดขัดแปดทิศทาง โจรขโมยหรือสัตว์ร้ายไม่เคยมา กล้ำกลายเลย บางครั้งก็อาศัยวัวธนู ควายธนู ป้องกันบริเวณรอบนอก ด้วยอำนาจจิตแห่งวิทยาคมของหลวงพ่อเง่าเป็นที่ประจักแก่ชาวบ้านทั้งหลายจึงสมัครเป็นลูกศิษย์ลูกหาท่านมากมาย และมีเรื่องเล่าทำนองอภินิหารว่า แม้แต่บ้านพักของท่าน สวนของท่าน ครั้งเป็นฆราวาส ยิงปืนข้ามยังไม่ดัง หลวงพ่อเหง้าจึงดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้าน ที่เลื่อมใสศรัทธาในท่านยิ่งนัก แม้แต่เมื่อคราว พ.ศ.2509 คณะศิษยานุศิษย์ได้ระลึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อเหง้า ได้สร้างรูปจำลองของท่านทั้งขนาดพระบูชารูปเหมือนขนาดหน้าตัก 4 นิ้ว และพระเครื่องรูปเหมือนองค์เล็ก ๆ แบบลอยตัว ทำพิธีพุทธาภิเษกและบวงสรวงวิญญาณของท่าน ก็ยังปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ทั้งในด้านคงกระพันและคลาดแคล้ว ยิ่งนัก ปรากฏว่าทั้งพระเครื่องและพระบูชารูปเหมือนของท่านหมดไปจากวัดศรีภูมิ (บ้านติ้ว) ไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันชาวบ้านติ้ว บ้านโสก บ้านหวาย ที่เป็นศิษยานุศิษย์ของท่าน ต่างหวงแหนพระที่สร้างชุดนี้ยิ่งนัก หวงแม้กระทั่งจะขอชม
นอกจากวัดศรีภูมิ (บ้านติ้ว) จะมีหลวงพ่อเหง้า ผู้เรืองวิชาอาคมเป็นดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้านและถิ่นใกล้เคียงแล้ว ทางวัดยังมีพระพุทธรูปโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นทองสัมฤทธิ์ดำอยู่คู่วัดคู่บ้าน 2 องค์ องค์หนึ่งมีอักษรไทยลานช้าง หรืออักษรไทยเวียงจันทร์ จารึกชื่อว่า “พระพุทธสรณาคม” และได้สร้างตั่งแต่ปี พ.ศ.1480 นับว่าอายุประมาณ 1,057 ปี แต่พระพุทธรูปสัมฤทธิ์อีกองค์หนึ่งไม่มีอักษรจารึก กลับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านติ้ว และชาวบ้านใกล้เคียงนับถือยิ่งนัก ใช้เป็นองค์พยานเป็นที่ยกเสี่ยงทายให้หนักจนยกไม่ขึ้นหรือเบามาก ตามจิตปรารถนาอธิฐานไม่ว่ามีงานประเพณีไหนก็ตาม ประชาชนที่เลื่อมใสจะนิมนต์ไปประกอบการเสี่ยงทายอยู่เสมอมา และก็มักปรากฏการณ์อัศจรรย์เป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคนไม่เสื่อมคลาย.

คำสำคัญ
หลวงปู่เหง้า
สถานที่ตั้ง
วัดศรีภูมิ
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 บ้านติ้ว ถนน หล่มสัก - บ้านต้ว
ตำบล บ้านติ้ว อำเภอ หล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางณัชชา ประจันตะเสน
บุคคลอ้างอิง นางณัชชา ประจันตะเสน อีเมล์ ab1142@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอหล่มสัก อีเมล์ ab1142@hotmail.com
เลขที่ 114/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน ชุมชนวัดศรีบุญเรือง ถนน พิทักษ์
ตำบล หล่มสัก อำเภอ หล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67110
โทรศัพท์ 0897052753
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่