ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 10° 29' 35.0002"
10.4930556
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 10' 49.0001"
99.1802778
เลขที่ : 103584
คณะโนราศรียาภัย
เสนอโดย panut วันที่ 19 กรกฎาคม 2554
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 23 กรกฎาคม 2554
จังหวัด : ชุมพร
2 1160
รายละเอียด

คณะโนราศรียาภัย ( ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชุมพร )

คณะโนราศรียาภัย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยการประชุมของศิลปินพื้นบ้านจังหวัดชุมพร มอบหมายให้โรงเรียนศรียาภัยร่วมกับองค์กรชุมชน และศิลปินพื้นบ้านชุมพรร่วมดำเนินการจัดฝึกโนรา ให้กับนักเรียนและผู้สนใจ โดยเน้นการอนุรักษ์ของดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ โดยเชิญวิทยากรท้องถิ่นในจังหวัดชุมพรและจังหวัดต่างๆ เช่น ระนอง , พัทลุง , สุราษฎร์ เป็นผู้ร่วมกันถ่ายทอด โดยใช้สถานที่ฝึก ที่โรงเรียนศรียาภัย อ.เมือง จ.ชุมพร โดยนำเอาวิชาโนรามาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เปิดเรียน เป็นวิชาเลือกของนักเรียน และใช้เป็นต้นแบบในการฝึกสอนให้กับประชาชนทั่วไปพร้อมกันนั้นได้ออกเผยแพร่ และบริการชุมชนทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ โดยมีองค์การทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สนับสนุนกองทุนเพื่อสังคม ( SIF ) , เครือข่ายประชาคมจังหวัดชุมพร

มโนห์รา , มโนราห์ , โนราห์ , โนรา คือ ชื่อของการแสดงพื้นเมืองที่สำคัญของชาวภาคใต้ ในที่นี้ใช้คำว่า " โนรา " เพราะ เป็นชื่อที่คนภาคใต้คุ้นเคยและนิยมใช้ แท้จริงแล้ว โนรามิใช่เป็นเพียงศิลปะการแสดงแต่เพียงอย่างเดียว แต่โนราเป็นนาฏการที่รวบรวมเอาวิถีชีวิต ความเชื่อคตินิยม และการบริหารร่างกายไว้ได้อย่างน่าทึ่ง ทั้งนี้คงจะเป็นผลพวงของบรรพบุรุษ ที่ได้วิวัฒนาการโนรามาอย่างยาวนาน ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ปี สันนิษฐานกันว่า โนรา น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากราชสำนักของกษัตริย์หัวเมืองพัทลุง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้ซึมซับไปยังชุมชนระดับฐานรากไปทั่วทั้งบริเวณภาคใต้ และภาคกลางของไทย จากเครื่องแต่งกายและท่ารำของโนรา จะมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับ " โขน " ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงของราชสำนักในชุมชนบริเวณภาคกลางของประเทศไทย นั่นคือ มีลีลาที่อ่อนช้อย หนักแน่นแสดงถึงความอ่อนโยน และความมีอำนาจในเวลาเดียวกัน
องค์ประกอบและท่ารำโนรา
๑. ท่ารำโนรา
กล่าวกันว่ามีต้นแบบ ๑๒ ท่า คือ ท่าแม่ลาย , ท่าราหูจับจันทร์ , ท่าขี้หนอน ( กินนร ) , ท่าจับระบำ , ท่าลงฉาก , ท่าฉากน้อย , ท่าผาหลา , ท่าบัวตูม , ท่าบัวบาน , ท่าบัวคลี่ , ท่าบัวแย้ม , ท่าแมงมุมชักใย ท่ารำเหล่านี้ได้รับการดัดแปลงหรือแตกลายออกเป็นท่านับร้อยท่า ได้แก่ ท่าครู แบบต่างๆ เช่น ท่าครูสอน , สอนรำ ประถมฯ , เฆี่ยนพราย , คล้องหงษ์ , แทงเข้ , รำเพลงปี่ , เพลงทับ เป็นต้น
๒. ดนตรีโนรา มีเครื่องหลัก ๖ ชนิด คือ โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ แตระ ประกอบด้วยเพลงเครื่องหลายชนิด เช่น เครื่องดำเนิน , เพลงรำประเภทต่างๆ , เพลงทับ , เพลงโทน , เครื่องเชิด , เดินรำ เป็นต้น
๓. การขับร้อง ( ว่าบท ) บทโนรามีหลายประเภท เช่น บทเชิญครู , กาศโรง , บทประกอบท่าครู , คำพรัด , มุตโต , บทพราน , บทหน้าแตระ , บทสีโต ( ทำบท ) , บททอย ( กลอนทอย ) เป็นต้น

สถานที่ตั้ง
โรงเรียนศรียาภัย
ตำบล ท่าตะเภา อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
บุคคลอ้างอิง นายนิยม บำรุงเสนา
ชื่อที่ทำงาน โรงเรียนศรียาภัย
จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ ๐๘๙-๘๗๑๑๕๗๓
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่