ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 10° 29' 53.3141"
10.4981428
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 13' 57.3323"
99.2325923
เลขที่ : 104461
วัดชุมพรรังสรรค์ (พระอารามหลวง)
เสนอโดย panut วันที่ 25 กรกฎาคม 2554
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 4 มีนาคม 2565
จังหวัด : ชุมพร
2 7657
รายละเอียด

วัดชุมพรรังสรรค์ (พระอารามหลวง)
วัดชุมพรรังสรรค์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๒๒๗๕

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔๐ หลัง นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน หอกลอง โรงครัว เรือนเก็บพัสดุ กุฏิเจ้าอาวาส และเรือนรับรอง ปูชนียะวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒

วัดชุมพรรังสรรค์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ผู้สร้างวัด คือ พระยากำแหงสงคราม (ซุ้ย) ในสมัยเมืองชุมพรตกอยู่ในอำนาจของพม่าเข้ายึด ราษฎรตกอยู่ในความลำบาก และทุกขืทรมาน นายซุ้ยได้สมทบกับพวกประมาณ ๓๐ กว่าคน เข้าตีค่ายพม่าได้สำเร็จพวกพม่าหนีข้ามภูเขาหินซอง เมื่อศึกสงบลงปรากฏว่านายซุ้ยได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็นพระยาเพชรกำแหงสงครามในสมัยรัชการที่ ๓ ราษฎรทั่วไปเรียกท่านว่า พระยาตับเหล็ก เพราะมีอาคมคงกระพันชาตรี ท่านได้สร้างวัดเพื่อเทิดพระเกียรติแด่องคืพระมหากษัตริย์และเพื่อเป็นเกียรติประวัติของตนที่ได้ชนะศึก กอบกู้เมืองชุมพรและเพื่อเป็นพุทธบูชาท่านได้ขนานนามว่า วัดราชคฤห์ดาวคะนอง เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในที่ลุ่มและติดกับแม่น้ำท่าตะเภา เมื่อถึงฤดูฝนน้ำหลากเมืองชุมพร พระภิกษุสามเณรไม่สามารถจำพรรษาที่วัดได้ ต้องละทิ้งวัดเพื่อหนีอุทกภัย คณะสงฆ์และราษฎรเรียกวัดนี้ว่า“วัดท่าเภาเหนือ”ต่อมาในสมัยราชการที่ ๕ มีการก่อสร้างทางรถไฟได้ตัดทางสายใต้ผ่านเมืองชุมพร เนื้อที่วัดได้แยกออกเป็นสองส่วน ทำให้พื้นที่วัดคงเหลือเพียง ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดลงผิดเป้าหมาย มาลงในวัด อาคารเสนาสนะ พระอุโบสถพังพินาศ คงเหลือแต่พระพุทธปฏิมากรภายในอุโบสถเพียงองค์เดียวนามว่า “ สมเด็จพระรอดสงคราม ” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๘๘ สงครามได้ยุติลง พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร เจ้าอาวาสได้พัฒนาและปฏิสังขรวัด หลังจากที่วัดร้างไปเป็นเวลาถึง ๕ ปี สมัยนั้นการพัฒนาวัดแสนยากลำบากในการหาวัสดุมาก่อสร้างเสนาสนะ ต้องนำไม้จากประเทศพม่าและล่องมาตามแม่น้ำท่าตะเภา พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร ต้องใช้ความพากเพียรและอดทนในการพัฒนาวัดและปฏิสังขรณ์วัด ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ วัดชุมพรรังสรรค์ได้สละที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนศรียาภัย เป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด ผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน คือ นางสาวชื่น ศรียาภัย ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งอยู่ถนนพิศิษย์พยาบาล อาคารเรียนจึงว่างลง ท่านเจ้าคุณวิชัยธารโศภณและคณะกรรมการสงฆ์มีมติจัดตั้งโรงเรียนราษฎรภายในวัดชื่อว่า โรงเรียนพุทธยาคมศรียาภัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะสงฆ์ได้เปลี่ยนชื่อ วัดท่าเภาเหนือเป็น“วัดชุมพรรังสรรค์” ปัจจุบันวัดชุมพรรังสรรค์เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดชุมพร

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือรูปที่ ๑ พระนุ้ย ขนฺติพโล รูปที่ ๒ พระวันัยธร (อ่ำ) อริโย รูปที่ ๓ พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๙๙ รูปที่ ๔ พระธรรมวรนายก พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๑๕ รูปที่ ๕ พระครูพิศาลธรรมโสภณ พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๔๔รูปที่ ๖ พระครูศรีธรรมนิเทศ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ปัจจุบัน

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดชุมพรรังสรรค์ (พระอารามหลวง)
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕ /นาทุ่ง
ตำบล นาทุ่ง อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
ตำบล นาชะอัง อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ ๐ ๗๗๕๐ ๗๗๕๓ โทรสาร ๐ ๗๗๕๐ ๗๗๗๖
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chumphon
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
attaphong 22 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09:03
อยากจะเห็นรูปวัดของจริงมากกว่า จะเปลี่ยนเป็นรูปวัดชุมพรรังสรรค์ได้มั้ยครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่