ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 47' 41.3452"
16.7948181
Longitude : E 103° 59' 44.2568"
103.9956269
No. : 104941
น้ำตกผานางคอย อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
Province : Kalasin
2 8181
Description

ประวัติน้ำตกผานางคอย

ความเป็นมาของที่เที่ยวน้ำตกผานางคอยนี้ มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า ชาวบ้านบางคนบ้างก็ให้ชื่อตามนิทานเรื่องจันทโครพ เป็นความเชื่อที่ว่านางโมรา หลังจากที่ถูกสาปให้เป็นชะนีแล้ว ได้มารอคอยจันทโครพอยู่ที่นี่จนตาย เพราะชาวบ้านได้ยินเสียงชะนีร้องโหยหวนที่นี่อยู่เป็นประจำ ส่วนอีกเรื่องเล่าอีกเรื่อง บ้างก็มีการเล่าต่อๆ กันมาว่ามีหญิงสาวคนหนึ่ง มานั่งรอคอยแฟนหนุ่ม ซึ่งเขาทั้งสองนั้นเป็นแฟนกันแล้วนัดกันมาเจอกันที่หน้าผาแห่งนี้ แต่ฝ่ายชายโดนกักตัวไว้เพื่อบังคับให้แต่งงานกับสาวอีกนางหนึ่งซึ่งตนไม่ได้รักสาวนางนี้เลย ส่วนหญิงสาวนั้นที่มานั่งรอแฟนของตนเองอยู่เป็นประจำ จนรอคอยมานานแสนนาน แต่แฟนหนุ่มของเธอนั้นก็ไม่มาซักที จากนั้นหญิงสาวก็ได้ร้องไห้ไม่หยุดด้วยความเศร้าเสียใจที่ฝ่ายชายหนุ่มไม่มาตามนัด หญิงสาวจึงได้ตัดสินใจที่จะกระโดดน้ำตกเพื่อฆ่าตัวตายเป็นการประชดรัก จนฝ่ายชายพยายามดั้นด้นเพื่อจะมาที่น้ำตกตามที่ได้นัดจนได้ แต่ก็สายไปเสียแล้วเพราะว่าฝ่ายหญิงได้เสียชีวิตอยู่ที่ด้านล่างของน้ำตกเสียแล้ว ส่วนฝ่ายชายเสียใจเช่นเดียวกัน จึงตัดสินใจกระโดดหน้าผาตายตามหญิงสาวที่ตนเองรักไป นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “น้ำตกผานางคอย” นั่นเอง

น้ำตกผานางคอย

เป็นน้ำตกขนาดใหญ่บนภูเขา เส้นทางขึ้นเขาช่วงก่อนถึงตัวน้ำตกเป็นทางสูงชันและโขดหิน ในฤดูฝนต้องจอดรถที่ลานจอดรถด้านล่าง แล้วเดินขึ้นไปอีกราว 150 ม.

- เดือน ก.พ.-พ.ค. มีน้ำน้อยหรืออาจไม่มีเลย

เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ เป็นหน้าผาสูงไหลมาจากเทือกเขาภูพาน แบ่งออกเป็นชั้นๆ มีความสวยงามมาก สภาพป่าโดยรอบเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ ลักษณะเด่นคือ จะมีน้ำไหลตลอดปีแม้ในฤดูแล้ง แถมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ถูกค้นพบประมาณปลายปี พ.ศ.2535 อีกด้วย น้ำตกผานางคอยนั้นบนยอดผาเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ผาเจริญธรรม ทางขึ้นมีบันไดหลายร้อยขั้น เพื่อนำมาใช้วัดใจกันกับนักท่องเที่ยวที่บุกบั่น และกำลังอยากที่จะต้องการเข้าไปเชยชมทัศนียภาพที่สวยงามของธรรมชาติ ให้นักท่องเที่ยวได้ออกกำลังกายเรียกเหงื่อน้อยๆ

ทางเดินขึ้นน้ำตกผานางคอย มีบันไดหลายร้อยขั้น น้ำตกผานางคอย

ชั้นที่ 1 เป็นชั้นด้านล่างสุดติดกับห้วย ไหลไปตามทุ่งนาผ่านหมู่บ้านถึง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนางาม บ้านดอนแคน บ้านชาด ซึ่งชาวบ้านทั้งสามหมู่บ้านนี้สามารถนำน้ำในห้วยไปใช้เป็นประโยชน์ได้

ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่มีคนอยู่เยอะที่สุด เพราะชั้นนี้มีความสวยงามมากกว่าทุกชั้น และมีน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูงเป็นสายสวยงาม นักท่องเที่ยวจึงชอบมาถ่ายรูปบริเวณนี้ หรือชั้นนี้กันมาก

ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่นักท่องเที่ยวที่ไม่เคยมาเที่ยวส่วนใหญ่ขึ้นไปไม่ค่อยถึง อาจเป็นเพราะห่างจากชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 อยู่มาก ซึ่งชั้นที่ 3 นี้จะเป็นชั้นที่ต่อจากห้วยที่น้ำไหลออกมาจากอ่างเก็บน้ำ “อ่างเก็บน้ำเหล่าหลุ่บ” อ่างเก็บน้ำนี้จะเก็บน้ำจากห้วยและแหล่งน้ำต่างๆ ที่ไหลลงมาจากเขาอีกทีหนึ่ง และชาวบ้านนางามยังได้นำน้ำจากอ่างเก็บน้ำนี้มาใช้ในหมู่บ้านในรูปแบบประปาภูเขาอีกด้วย

ที่ตั้งและการเดินทาง

-บ้านนางงาม ต.บ่อแก้ว กิ่ง อ.นาคู

รถยนต์ส่วนตัว

จากกิ่ง อ.นาคูใช้ถนน รพช.ไปทางบ้านหินลาดพัฒนา เลยบ้านหินลาดฯ ไปประมาณ 6 กม. ถึงบริเวณน้ำตก

รถประจำทาง

ขึ้นรถสายกาฬสินธุ์-นาคู ลงรถที่ตัวกิ่งอำเภอ แล้วต่อรถรับจ้าง

สิ่งน่าสนใจ

น้ำตกอยู่ในลำห้วยยาง ซึ่งต้นน้ำไหลมาจากหุบเขาที่อยู่ระหว่างเขาภูชันและเขาภูงอยบนเทือกเขาภูพาน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามบนเขาสูง สายน้ำไหลจากหน้าผาซอกซอนไปตามแก่งหินขนาดใหญ่ ด้านล่างน้ำตกใกล้ลานจอดรถมีบริเวณที่ลงเล่นน้ำได้ บรรยากาศเป็นป่าเขาร่มรื่น

Location
อ.นาคู
Tambon บ่อแก้ว Amphoe Na Khu Province Kalasin
Details of access
อำเภอนาคู
Reference วัฒนธรรมอำเภอนาคู
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
Tambon กาฬสินธุ์ Amphoe Mueang Kalasin Province Kalasin ZIP code 46000
Tel. 043-815806 Fax. 043-811349
Website www.ksculture.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 March 2013 at 16:20
ดีมาก ให้เจ้าของข้อมูลทราบและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป



osung 17 August 2011 at 12:41
งามแท้



เสียม 17 August 2011 at 10:20
สวยมากครับ....แต่ว่ายน้ำไม่เป็นอ่ะ



hs4wpc 17 August 2011 at 10:19
สนันสนุนครับ



apichet 16 August 2011 at 22:56
สวยงามมากเลยไม่เคยไปอยากปไปจัง
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่