ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 25' 27.5902"
16.4243306
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 9' 42.2482"
101.1617356
เลขที่ : 106220
สะเดาหวาน
เสนอโดย thun วันที่ 2 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 11 ตุลาคม 2555
จังหวัด : เพชรบูรณ์
0 1393
รายละเอียด

สะเดาหวานหรือสะเดาเพชรป่าสัก มีรสขมหรือฝาดเพียงเล็กน้อยปนรสมัน เป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ สะเดาหวานเป็นชื่อที่รู้จักและนิยมบริโภคโดยทั่วไปของจังหวัดเพชร บูรณ์และชาวจังหวัดใกล้เคียง
สะเดาหวานเพชรป่าสักเป็นพืชยืนต้น ใบและดอกรับประทานเป็นผักได้มีรสขมอมฝาด ปลูกกันโดยทั่ว ไปในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ แหล่งที่มีมากและรู้จักกันดี ได้แก่ ท้องที่อำเภอหล่มสักและอำเภอหล่มเก่าโดยรู้จัก กันในชื่อว่า สะเดาหวานหล่มสัก
สะเดาหวานที่รู้จักกันโดยทั่วไป มีอยู่ ๒ พันธุ์ คือ
๑. สะเดาหวานสนิท พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่มีรสหวานจืดมันเล็กน้อย ยอดอ่อนสีเขียวอ่อน ๆ
๒. สะเดาหวานไม่สนิท มีรสหวานอมขมเล็กน้อย (ขมอมฝาด) รสอร่อยเป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป ยอดอ่อนสีเขียวปนแดง
เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นายจำเนียร ปฏิเวธวรรณกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้น ได้มองเห็นความสำคัญของสะเดาหวานว่า จะเป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ของจังหวัด จึงได้ มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ดำเนินการประกวดการตั้งชื่อสะเดาหวานเสียใหม่ ผลปรากฎ ว่าได้ชื่อว่า สะเดาเพชรป่าสัก เป็นชื่อที่ชนะการประกวดจังหวัดจึงได้ถือเอาสะเดาเพชรป่าสัก เป็นพืชเอก ลักษณ์ชนิดใหม่ที่จะต้องหาทางส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนได้ปลูกกันมากขึ้น
วิธีปลูก
ใช้เมล็ดเพาะให้เป็นต้นกล้าแล้วนำไปปลูก
คุณค่าและประโยชน์
ในสะเดาทั้ง ๒ ชนิดมีสารอาหารวิตามิน เอ แคลเซี่ยม ดอกและใบอ่อนใช้เป็นอาหาร

สถานที่ตั้ง
สะเดาหวาน
อำเภอ หล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.phetchabun.com
อำเภอ หล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
kanoo.ub (kanoknual) 27 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:54
น่าอร่อย ชอบมากค่ะ :))
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่