ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 20' 40.9459"
15.3447072
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 57.0038"
104.1658344
เลขที่ : 107314
ศาลพระยากตะศิลา อำเภอราษีไศล
เสนอโดย ssk วันที่ 8 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 29 มกราคม 2555
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 1046
รายละเอียด

เยอ เป็นชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ของจังหวัดศรีสะเกษ จัดอยู่ในกลุ่มของชาวกูย (กวย,ส่วย) มีภาษาพูดภาษาเดียวกัน มีเพียงบ้างคำเท่านั้นที่แตกต่างกัน ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าเยอ ในจังหวัดศรีสะเกษ เริ่มต้นที่พญากตะศิลาเป็นหัวหน้านำผู้คนเผ่าเยออพยพมาทางเรือตามลำน้ำมูล จนมาตั้งเมืองคงโคก หรือเมืองคงปัจจุบันนี้ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำมูล เหตุของการตั้งชื่อเมือง อาจมาจากการที่พื้นที่เหล่านี้มี ป่ามะม่วงมาก่อนแล้วหรือมีการปลูกไม้ผล เช่น ขนุน มะนาว มะพร้าว ฯลฯ ผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลเร็ว คือมะม่วง มะม่วง ภาษาเยอว่า เยาะค็อง หรือเยาะก็อง ต้นมะม่วงที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกเมืองตนเองว่าเมืองเยาะค็อง และเพี้ยนเป็นเมืองคอง และเมืองคงในที่สุด ปัจจุบันมีรูปปั้นพญากตะศิลาที่บึงคงโคก บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่เคารพของชาวเยอและมีการบวงสรวงในวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี

สถานที่ตั้ง
บ้านหลุบโมก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 บ้านหลุบโมก
ตำบล เมืองคง อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ที่ว่าการอำเภอราษีไศล
บุคคลอ้างอิง นายวิทิต กตะศิลา
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมอำเภอราษีไศล
ถนน ถนนบริหาร
ตำบล เมืองคง อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่