ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 18' 18.167"
20.3050464
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 13' 53.6596"
100.2315721
เลขที่ : 109857
แคนม้ง บ้านธารทอง
เสนอโดย ตุ๊ต๊ะต๋อมแต๋ม วันที่ 24 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย sirirat_admin วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : เชียงราย
0 483
รายละเอียด

แคนม้ง เป็นเครื่องดนตรีชนเผ่าม้งที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะพบเห็นที่ไหนก็สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของม้ง แคนประดิษฐ์จากไม้ไผ่ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างพิเศษแตกต่างจากไม้ไผ่โดยทั่วไป ผู้ที่มีความสามารถในการเป่าแคนต้องมีใจรัก เสียงเพลงจากแคนม้งและเครื่องดนตรีประกอบเสียง ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ เข้าไปอยู่ในทุกพิธีกรรม ทุกเทศกาล ที่สำคัญเสียงเพลงจากแคนม้งสามารถบอกกล่าวเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าทุกเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความสุข ความทุกข์ของครอบครัว ชุมชน แต่ปัจจุบันคนรุ่นหลังในชุมชนบ้านธารทองขาดผู้สืบทอดความสามารถในการเป่าแคน เหลือเพียงผู้เฒ่าในชุมชน ๖ คน และเยาวชน ๑ คน ที่เป็นผู้สืบทอดและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดศิลปะเสียงเพลงจากแคนได้

ผู้สืบทอดเสียงเพลงจากแคนม้งบ้านธารทอง

๑. ผู้เฒ่าเลาก้า แซ่ย่าง บ้านเลขที่ ๓๑๗

๒. ผู้เฒ่าชาลี มุกดาสวรรค์ บ้านเลขที่ ๓๒ (๐๘๙ – ๘๕๔๖๕๑๕)

๓. นายจันทร์ แซ่เล่า บ้านเลขที่ ๑๗

ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์

ปัจจุบัน วัฒนธรรมการเป่าแคนเปลี่ยนแปลงไป ใช้เป่าในหลายงาน แม้งานรื่นเริงก็ใช้เป่าอาจเป็นเพราะมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง ในปัจจุบัน เสียงแคนไพเราะมาก น้ำเสียง ลีลาทำนอง ให้อารมณ์ ความรู้สึกที่บอก ถึงความรักอาลัย และความสูญเสีย
การเป่าแคนหรือเก้ง ของชาวม้งนี้ มีท่าเต้นประกอบการเป่าแคนด้วย มีลีลาและอารมณ์ที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้และน่าสืบทอด การบันทึกเรื่องราวของการทำแคน การเป่าแคน การเต้นตามทำนองแคน สู่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม จึงการบันทึกวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามารับใช้วัฒนธรรมอาจทำให้วัฒนธรรม การเป่าแคน การทำแคน และการเต้นตามทำนองของแคน อยู่คู่วัฒนธรรมชาวม้งต่อไป อย่างนิจนิรันดร์

สถานที่ตั้ง
บ้านธารทอง
เลขที่ 317 หมู่ที่/หมู่บ้าน 11 ซอย - ถนน -
ตำบล แม่เงิน อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงิน
บุคคลอ้างอิง นางสาวทัศนีย์ ดอนเนตร์ อีเมล์ tudsanee_l@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเชียงแสน
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล เวียง อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57150
โทรศัพท์ 053777110 โทรสาร 053777115
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่