ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 33' 0"
14.55
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 27' 0"
100.45
เลขที่ : 114298
วัดราชปักษี (นก)
เสนอโดย - วันที่ 20 กันยายน 2554
อนุมัติโดย อ่างทอง วันที่ 29 สิงหาคม 2559
จังหวัด : อ่างทอง
0 1317
รายละเอียด

อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ (สายอ่างทอง-อยุธยา) กิโลเมตรที่ ๕๒-๕๓ จากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์จากวัดป่าโมกแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมากปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราวพ.ศ. ๒๑๖๓ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาต่อมาเมื่อใกล้จะพังลงน้ำ พระมหาวิเชียร ขันนาค พร้อมด้วยพุทธบริษัทได้ช่วยกันเลื่อนเข้ามาประดิษฐาน ไว้ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาได้ชักชวนกันสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉลองเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๒ เพราะเหตุที่ผ่านอุปสรรคจากกิเลสมารตลอด รอดมาได้อย่างราบรื่น จึงพร้อมใจกันถวายพระนามนิมิตรว่า “ พระรอดวชิรโมลี ” เพื่อเป็นที่สักการะเคารพบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดกาล ๕,๐๐๐ พรรษา วัดนก (วัดราชปักษี) อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านนก ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาไม่ถึง ๑๐ ปื ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตะวันออก ห่างจากตัวเมืองจังหวัดอ่างทองประมาณ ๔ กิโลเมตร เดิมสัญจรไปมาใช้เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก หน้าวัดจึงผินสู่ทางทิศตะวันตก ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าได้ก่อสร้างราวปีพ.ศ. ๒๓๐๒ ก่อนเสียกรุงตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เหตุเพราะสงครามไทยกับพม่าทำให้วัดร้างว่างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพ.ศ. ๒๔๑๐ วัดนกได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ วัดนกได้ขนานนามใหม่ว่า วัดราชปักษี ตั้งแต่ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นต้นมา ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา หันพระพักตร์สู่ทิศเหนือ เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมากปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราวพ.ศ. ๒๑๖๓ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อใกล้จะพังลงน้ำ พระมหาวิเชียร ขันนาค พร้อมด้วยพุทธบริษัทได้ช่วยกันเลื่อนเข้ามาประดิษฐาน ไว้ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาได้ชักชวนกันสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉลองเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๒เพราะเหตุที่ผ่านอุปสรรคจากกิเลสมารตลอดรอดมาได้ อย่างราบรื่น จึงพร้อมใจกันถวาย พระนามนิมิตรว่า “ พระรอดวชิรโมลี ” เพื่อเป็นที่สักการะเคารพบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดกาล ๕,๐๐๐ พรรษาปัจจุบันทางวัดได้จัดงานสมโภชหลวงพ่อพระนอน หลวงพ่อพระรอด เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในเดือน ๔ แรม ๒ ๓ ๔ ค่ำ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้นมัสการ

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดราชปักษี (นก)
ตำบล โพสะ อำเภอ เมืองอ่างทอง จังหวัด อ่างทอง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อที่ทำงาน กระทรวงวัฒนธรรม
ถนน ถนนบรมราชชนนี
ตำบล บางบำหรุ อำเภอ เขตบางพลัด จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10700
โทรศัพท์ 1765
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่