อนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ เทศบาลปากแพรก ได้หารือกรมศิลปากร เพื่อดำเนินการก่อสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไปประดิษฐาน ณ บริเวณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบิดาแห่งการรถไฟไทย พระองค์ทรงวางรากฐานการรถไฟ มาตั้งแต่อดีต จึงมีผลให้อำเภอทุ่งสงเป็นศูนย์กลางการคมนาคม และความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ของการรถไฟ สำหรับการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชการที่ ๕ หลายฝ่ายได้มองเห็นว่ามีความเหมาะสม เพราะทุ่งสงเป็นอำเภอที่ใหญ่อำเภอหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับอำเภออื่น ๆ ซึ่งมีศักยในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าได้หลายด้าน เช่น เป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการกลายหน่วยงาน ทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค จึงสมควรมีพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชการที่ ๕ ประดิษฐานไว้เพื่อการสักการบูชาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวทุ่งสงและ บริเวณใกล้เคียง
เทศบาลตำบลปากแพรก ได้ทำหนังสือขออนุญาตก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอพระราชทานนามสวนสาธารณะแห่งนี้ ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราชและสำนัก ราชเลขาธิการ เพื่อกราบบังคุมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทและได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ก่อสร้างได้และพระราชทานนามสวนสาธารณะแห่งนี้ว่า สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา
เทศบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเินินการก่อสร้างสวนสาธารณะแห่งนี้ โดยใช้งบประมาณประจำปี ๒๕๔๑ และ ๒๕๔๒ ของเทศบาลเป็นเงิน ๗ ล้านบาาท ในการก่อสร้างสวนสาธารณะดังกล่าว โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดสินประสานมิตร เป็นผู้ำดำเินินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๒
ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์์ ๒๕๔๒ กรมศิลปากรได้ดำเนินการหล่อพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตบแต่งแล้วเสร็จและอัญเชิญมาประดิษฐานชั่วคราว ณ ศาลจังหวัดทุ่งสง
วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสู ลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐาน ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา
รายละเอียดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑ ฉลองพระองค์ ชุดจอมพลทหารบก (ทั่วไป) เต็มยศใหญ่
๒ เครื่องราชิสริยาภรณ์ สายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตน์ราชวราภรณ์
๓ เครื่องราชอิสริยยศ ประดับดวงตราเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ฉลองพระองค์เบื้องซ้าย
๔ ขนาด ทรงยืนขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง
๕ วัสดุที่ใช้ โลหะสัมฤทธิ์ร่มแดง
๖ อื่น ๆ พระหัตถ์ขวาทรงถือพระคฑาจอมพล (รูปช้างสามเศียร) พระหัตถ์ซ้ายถือพระแสงกระบี่