ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 14' 36.8599"
16.2435722
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 55' 47.8538"
101.9299594
เลขที่ : 116500
ธาตุบุงเกีย บ้านเก่าน้อย
เสนอโดย ชัยภูมิ วันที่ 10 ตุลาคม 2554
อนุมัติโดย ชัยภูมิ วันที่ 28 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ชัยภูมิ
0 358
รายละเอียด

แหล่งโบราณสถานบ้านเก่าน้อย หรือธาตุบุงเกีย

ที่ตั้ง

โบราณสถานแห่งนี้อยู่ในเขตการปกครองของบ้านเก่าน้อย ตำบลบัวหัวขัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 14 40 05 เหนือ และเส้นแวง 101 55 06 ตะวันออก หรือที่พิกัดกริด 47 QRT128975 (แผนที่ กรมแผนที่ทหาร L7017 ระวาง 5341 พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD) อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิประมาณ 90 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอเกษตรสมบูรณ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 6 กิโลเมตร

บริเวณที่ตั้งของโบราณสถานอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวหมู่บ้าน โดยมีระยะห่างเป็นเส้นตรงประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณอันเป็นที่ตั้งของโบราณสถานนี้มีลักษณะเป็นเนินดินเตี้ยๆ อยู่ห่างจากทางลูกรังซึ่งตัดเข้าหมู่บ้านทางด้านซ้ายมือเข้าไปเล็กน้อย

สภาพของโบราณสถานในปัจจุบันได้เสื่อมลงจนเห็นเพียงแต่ฐานศิลาแลง เศษอิฐและมูลดินที่ปกคลุมอยู่ ได้เคยมีการลักลอบขุดฐานโบราณสถานแห่งนี้ลงไปบริเวณใจกลางแต่ไม่พบโบราณวัตถุ คงพบแต่ทราย ซึ่งเข้าใจว่าใช้รองรับฐานศิลาแลงเท่านั้นปัจจุบันร่องรอยของการลักลอบขุดยังปรากฏให้เห็นอยู่

ฐานศิลาแลงมีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวประมาณ 8 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร มีมุขยื่นออกทั้งด้านหน้าด้านหลัง กว้างประมาณ 5.70 เมตร ยาว 1090 เมตร ฐานศิลาแลงมีลักษณะเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ตั้งอยู่บนฐานเขียงเหนือบัวคว่ำบัวหงายมีเศษแผ่นอิฐตั้งเรียงอยู่ประมาณ 7-8 แผ่น เมื่อพิจารณาแผนผังของฐานและเศษอิฐที่หักกองทับถมอยู่ อาจกล่าวได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงมีลักษณะเป็นวิหารหรือบรรณาลัย มีฐานเป็นศิลาแลงผนังก่ออิฐแต่ผนังได้พังลงมาจนหมดสิ้นแล้ว

โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ แผ่นกระเบื้องเชิงชายดินเผาสลักลายเป็นรูปกลีบบัวมีลายเม็ดบัวหรือเกสรบัวอยู่ในระหว่างเส้นคู่ขนานล้อมรอบลายกลีบบัว 4 กลีบ ไว้ภายในถัดจากลายเม็ดบัวออกมาก็จะถึงขอบของแผ่นกระเบื้อง ซึ่งตกแต่งเป็นลายกนกโดยรอบเช่นกัน ลักษณะของกระเบื้องเชิงชายดินเผานี้คล้ายกับกระเบื้องเชิงชายดินเผาที่พบบริเวณปราสาทหินพิมาย โดยเฉพาะรูปทรงนั้นคล้ายคลึงกันมาก แต่แตกต่างกันที่ลวดลายและเนื้อดินเท่านั้น ในการสำรวจไม่พบเศษกระเบื้องดินเผาแต่อย่างใด

จากหลักฐานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สรุปได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีลักษณะเป็นวิหารหรือบรรณาลัยก่อผนังด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง ในปัจจุบันมีราษฎรในละแวกใกล้เคียง เรียกว่า พระธาตุบุงเกีย เพราะตั้งอยู่ใกล้กับหนองบุงเกีย ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางด้านใต้เล็กน้อย

เป็นที่น่าสังเกตว่า โบราณสถานแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเนินดินเตี้ยๆ เพียงลำพังไม่มีกำแพงหรือระเบียงคตล้อมรอบ ส่วนบริเวณใกล้เคียงก็ไม่ปรากฏว่ามีซากของโบราณสถานอื่นๆ ตั้งอยู่แต่อย่างใด

ปัจจุบันราษฎรบ้านเก่าน้อยได้ไปสร้างกุฏิขนาดเล็กไว้ตรงบนบริเวณด้านหน้าของซากโบราณสถานแห่งนี้และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีราษฎรเข้าไปลักลอบขุดหาของเก่า แต่ทางกำนันบัวหัวขัว บ้านเก่าน้อย ได้ระงับการขุดไว้ และไม่ยินยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใดขุดของเก่าอีก มิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
ธาตุบุงเกีย บ้านเก่าน้อย
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเก่าน้อย ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านบัว อำเภอ เกษตรสมบูรณ์ จังหวัด ชัยภูมิ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ธาตุบุงเกีย บ้านเก่าน้อย
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน บรรณาการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองชัยภูมิ จังหวัด ชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36000
โทรศัพท์ 044-812984 โทรสาร 044-812984
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chaiyaphum/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่