ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 46' 12.3078"
14.7700855
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 8' 9.001"
102.1358336
เลขที่ : 117219
วัดพลับพลา
เสนอโดย สมจิตต์ วันที่ 27 ตุลาคม 2554
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : นครราชสีมา
0 486
รายละเอียด

วัดพลับพลา ตั้งอยู่เลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๓ ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๘ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๐๐๕ วัดพลับพลาได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ วัดพลับพลาเดิมเป็นวัดมอญ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ขอมได้กวาดต้อนเอาครอบครัวคนมอญมากเป็นจำนวนมาก และได้แยกย้ายไปอยู่ตามถิ่นต่าง ๆ กลุ่มหนึ่งได้อพยพมาอยู่ที่บ้านพลับพลา สมัยนั้นเรียกว่าบ้านมอญ วัดที่สร้างขึ้นพร้อมกับหมู่บ้าน เรียกว่า วัดบ้านมอญ ภาษาที่ใช้พูดกันส่วนมากจะเป็นภาษามอญ และหนังสือก็เรียนภาษามอญ การทำวัตรสวดมนต์ก็เป็นภาษามอญ ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ไทยแผ่อำนาจการปกครองมาถึงพวกขอม คนไทยได้อพยพมาปลูกบ้านเรือนอยู่ใกล้กับบ้านมอญ เรียกว่าบ้านไทย ต่อมาการเรียนภาษาไทยได้เจริญขึ้น ภาษามอญก็เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านพลับพลา จากการบอกเล่าของผู้ที่ทำการสร้างวัด คือ พระอาจารย์อัดปริง เพราะท่านเป็นเจ้าของที่ดินสร้างวัด เมื่อพระอาจารย์อัดปริงมรณภาพแล้ว พระอาจารย์หนูเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ได้ทำการซ่อมแซมบูรณะวัดได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แต่ไม่แล้วเสร็จ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน พระอาจารย์คร่ำ จึงได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ได้ก่อสร้างอุโบสถจนสำเร็จ ต่อมาพระอาจารย์บุญเย็นได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านพิจารณาเห็นว่าอุโบสถหลังเก่ามันเล็กและคับแคบจนเกินไป จึงได้ทำการต่อเติมให้มันกว้างขึ้น โดยยึดแบบอย่างอยุธยา เมื่อพระอาจารย์บุญเย็นได้มรณภาพลง พระอาจารย์ทิมได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ท่านได้ตกแต่งผนังโบสถ์ และผนังศาลาการเปรียญโดยการแกะสลักลวดลายให้สวยงาม และในเวลาต่อมา ท่านได้สร้างกุฏิขึ้นอีกหนึ่งหลัง โดยได้มอบหมายให้พระเพชร เป็นนายช่างแกะสลักลวดลายเครือเถาวัลย์ติดตามช่องประตู และหน้าต่างพระอาจารย์ทิม ท่านได้พัฒนาวัดมาโดยตลอด และท่านได้ลาสิกขา ต่อมาก็มีพระครูพรหมพงษ์พิสุทธิ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักพัฒนาที่มีความสามารถมากในอำเภอโชคชัย จนได้รับพระราชทานพระบรมรูปหล่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เพื่อเป็นเกียรติประวัติ และได้ประดิษฐ์ฐานอยู่ที่วัดพลับพลา เจ้าอาวาสแทน ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด จนท่านมรณภาพลง จึงมีพระครูสุวัฒน์ชัยคุณ มาเป็นเจ้าอาวาสในรูปปัจจุบันนี้

คำสำคัญ
วัดพลับพลา
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพลับพลา
เลขที่ 65 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ซอย - ถนน -
ตำบล พลับพลา อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระครูสุวัฒน์ชัยคุณ
บุคคลอ้างอิง นางสาวสมจิตต์ เต็งตระกูล อีเมล์ somjittng@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักวัฒนธรรมอำเภอโชคชัย อีเมล์ somjittng@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30190
โทรศัพท์ 082 6037383 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่