แต่เดิมคนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านท่าแร่ แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ 1. ชาวบ้านท่าแร่ เชื้อสายญวน อพยพมาจากเวียดนาม 2. ชาวบ้านท่าแร่ อพยพมาจากประเทศลาว ในรัชกาลที่ 3
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. 2427 คุณพ่อยวงบัปติสตาโปรดม (มิสซังนารีชาวฝรั่งเศส ได้เดินทางมาที่
เมืองสกลนครเพื่อเยี่ยมคลิสตังที่มาจากประเทศเวียดนามและจัดตั้งศูนย์คาทอลิกในวันที่
8 กันยายน 2427 และต่อมาได้มอบงานใหม่ให้คุณพ่อชาเวียร์ ซึ่งได้พาครอบครัวคริสตัง อพยพข้ามหนองหารมาตั้งบ้านเรือนเพราะเห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งตอนแรกมีประมาณ 20 ครอบครัว 150 คน และมีบางคนมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและมีนามสกุลอุดมเดช ,ศรีวรกุลและโสรินทร์ และ
ตั้งชื่อบ้านว่าท่าแฮ่ หรือท่าแร่ในปัจจุบัน
๒. วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ (ระบุสาระสำคัญโดยสังเขป)
ชาวบ้านท่าแร่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพมี 3 ประเภทคือ ค้าขาย ทำนา และรับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีอาชีพเลี้ยงสัตว์ รับราชการ รัฐวิสาหกิจและมีการประมง เนื่องจากมีพื้นที่ติด
หนองหาร
๓. วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ (ระบุสาระสำคัญโดยสังเขป)
ประเพณีบุญกองข้าวสู่ขวัญข้าวโค กระบือ , ประเพณีถือศีลอดอาหารเข้ามหาพจน์ ,
งานแห่เทียนปัสกา ,เทศกาลวันสงกรานต์ , ฉลองวัด ,งานฉลองนักบุญทั้งหลาย ,ประเพณีแห่ดาว
๔. ศาสนา/ความเชื่อ (ระบุสาระสำคัญโดยสังเขป)
ชาวบ้านท่าแร่สามัคคี นับถือศาสนาคริสต์ มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งมีวัดอัครเทวดามีคาแอล โดยเฉพาะในช่วงเวลาตอนเช้าประมาณ 6 โมงเช้า เด็กๆ จะเข้าวัดไปฟังคำสั่งสอนทุกเช้าเรียกว่า ทำมิสซา ส่วนในวันเสาร์ตอนเย็น ประมาณ 1 ทุ่ม จะมีการถวายช่อดอกไม้และในวันอาทิตย์จะเป็นวันพระเจ้า ที่ชาวคริสต์จะต้องเข้าวัดเพื่อแก้บาปรับศีล
๕. สถานที่สำคัญ (ระบุสาระสำคัญโดยสังเขป)
วัด โบสถ์คริสต์ โทรศัพท์สาธารณะสนามเด็กเล่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาลากลางบ้าน หอกระจายข่าว มีสถานที่ผักผ่อน