ช่างจักสานกระติบข้าว
การจักสานกระติบข้าว เป็นภูมิปัญญาในการทำภาชนะจากไม้ไผ่ ภาชนะเหล่านี้ใช้สอยมานานในท้องถิ่นอีสาน การทำต้องมีเทคนิค มีความรู้ในการคัดเลือกไม้ เพราะไม้ไผ่ที่จะสานกระติบข้าวได้ดี ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะการเลือกไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษจะถ่ายทอด ต่อลูกหลานสืบมากล่าวคือ ไม้ไผ่ที่นิยมใช้ในการสานกระติบข้าวแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ ไม้บง หรือไม้ไผ่ตรง ไม้คาย และไม้ปล้องห่าง
คุณสมบัติของไม้ไผ่ที่ดีที่สุด คือ ไม้คาย จะเหนียวที่สุด และจักตอกง่าย ส่วนไม้บงจะมีคุณภาพรองลงมา
การสานกระติบข้าว ด้วยไม้ไผ่ทำกันอยู่หลายหมู่บ้าน ในจังหวัดชัยภูมิ แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ คือ กระติบข้าวบ้านสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
๓
คำบอกเล่า/ตำนานของผลงาน
ความเป็นมาของงานจักสานกระติบข้าว เริ่มแรกจากตระกูลโสมชัยภูมิ มีการถ่ายทอด
การสานกระติบข้าวให้แก่ลูกหลานสืบต่อมา ทำในครัวเรือนสำหรับไว้ใช้ใส่ข้าวเหนียว ต่อมานายหมา
นางแหว โสมชัยภูมิ รับมรดกสืบทอดงานจักสาน และได้มีกรถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน สืบต่อกันมา
โดยมีการถ่ายทอดให้แก่บุตรสาว คือ นางคำภา ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้ขยายแพร่จากครอบครัว เป็นหลาย ๆ ครอบครัว จนถึงปี ๒๕๒๔ มีครอบครัวสานกระติบข้าวประมาณ ๕๐ % ของตำบล เนื่องจากมีรายได้ดี
มีผู้สนใจมาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ และพัฒนาการอำเภอ
คอนสวรรค์ สำหรับจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เช่น มีด ไม้ไผ่ เส้นหวาย และมีการรวมจัดตั้งเป็นกลุ่ม
ชื่อ กลุ่มผู้นำอาชีพก้าวหน้า ซึ่งนางคำภา อาฤทธิ์ เป็นประธานกลุ่ม
เมื่อมีการรวมเป็นกลุ่ม มีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย สำหรับใส่ข้าวเหนียว และสำหรับเป็นของชำร่วย ของขวัญ เช่น รูปหัวใจ รูปวงรี รูปวงกลม