ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 33' 7.8848"
19.552190230906415
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 58' 28.9272"
99.97470201113646
เลขที่ : 118828
นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 22 พฤศจิกายน 2554
อนุมัติโดย sirirat_admin วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : เชียงราย
1 1036
รายละเอียด

ตั้งอยู่ที่123/2 ม.1 ต.ป่าแงะ อ.ป่าแดด จ.เชียงราย (โทร 084-4948831) คนดีศรีเชียงรายประจำปี ๒๕๕๒ สาขา ศิลปะการแสดงและดนตรี ชื่อ นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว อายุ 25 ปี อาชีพ พนักงานบริษัท ที่อยู่ปัจจุบัน 123/2 หมู่ที่ 1 ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย 57190 โทร 0844948831 นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว เป็นบุตรชายของนางลอย ปวงคำ(ศศิวรรณ จักรมูล) ชาวจังหวัดเชียงรายกับนายสุขสันต์ เปลี่ยนแก้ว ชาวจังหวัดสระบุรี เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2527 ที่โรงพยาบาลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มี น้องร่วมมารดาอีก 3 คน คือ นายยศวรรษ หนองหารพิทักษ์(ปัจจุบันอาศัยอยู่กับบิดาที่ จังหวัดสุราฏธานี) เด็กชายอนุรักษ์ จักมูล และเด็กชายอนุวัฒน์ จักรมูล เมื่อแรกเกิดบิดาและมารดาได้แยกทางกันนายธีรวุฒิ จึงมาอาศัยอยู่กับ นางหล้า(ลุน) ปวงคำ ผู้เป็นยายที่ ตำบลดอยลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่อายุได้เพียง 9 เดือน จนกระทั่งมารดาได้แต่งงานใหม่กับนายธีรยุทธ(นิติภัทร) จักรมูล ชาวอำเภอป่าแดด ในเวลานั้นนายน้อง จานเก่าผู้เป็นตาได้มาขอรับไปเลี้ยงดูที่ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ซึ่งขณะนั้นอายุได้เพียง 9 ขวบ อยู่ได้ปีเดียวก็มารดาซึ่งกำลังตั้งท้องอ่อน ๆ จึงมาขอรับตัวกลับไปอยู่ด้วยที่ บ้านบ่าแงะ ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดดจังหวัดเชียงรายตั้งแต่นั้นมา ประวัติการศึกษา. จบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-2 โรงเรียนบ้านปอเรียง ตำบลแม่อ้อ อำเภอพานจังหวัดเชียงราย จบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเหล่า(วังทองวิทยา) ตำบลวังทองอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านป่าแงะ ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย จบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านป่าแงะ ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดดจังหวัดเชียงราย จบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” ตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ประวัติด้านความสนใจเกี่ยวกับสายงาน นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว มีความสนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมครั้งแรกเมื่อ ได้ชมการแสดงซอและฟ้อนสาวไหมของนายพิพัฒพงศ์ หน่อขัด (ขวัญชัย หน้อยป่าแดด)ศิลปินช่างซอที่มีชื่อเสียงในภาคเหนือปัจจุบัน ในงานของโรงเรียนบ้านป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ขณะนั้นยังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนบ้านป่าแงะ แต่ก็ยังไม่ได้ลงมือศึกษาในด้านนี้เหตุเพราะทางบ้านไม่ค่อยสนับสนุนให้ทำเรื่องนี้เท่าที่ควร เพียงแต่ได้รับการสอนอักษรล้านนาจากนายธีรวิทย์ ขันสุธรรม(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย ที่ โรงเรียนบ้านป่าแงะ เรียนได้ปีเดี่ยวก็ได้หยุดสอน เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบ้านป่าแงะ ได้สมัครสอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงราย ช่วงที่ศึกษาที่นี่ด้วยความสนใจในด้านภาษาไทยเป็นนิจจึงเข้าร่วมการแข่งขันการอ่านทำนองเสนาะ และได้เป็นรับรางวัลอันดับหนึ่งของวิทยาลัยศึกษาได้ปีเดียวบิดาก็มารับไปอยู่ด้วยที่จังหวัดสระบุรี ต่อมาในปี 2545 จึงได้เข้ารับการศึกษาโรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีช่วงปิดเทอมได้เดินทางมาเยี่ยมมารดา และได้พบกับนายนิรชร กองตาพันธุ์อาจารย์ที่เคยสอนวิชาพละที่โรงเรียนบ้านป่าแงะเมื่อได้ทราบว่านายธีรวุฒิ ได้ไปอยู่ที่จังหวัดสระบุรี จึงได้เล่าให้ทราบว่าตนอดีตเป็นคนจังหวัดสระบุรี และภายในจังหวัดสระบุรีมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีภาษาและเอกลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับคนเหนือ ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ไท-ยวนสระบุรี” จึงทำให้คิดว่าหากเอาวัฒนธรรมของภาคเหนือไปเผยแพร่ที่นั้นคงได้รับความสนใจไม่น้อย จังไดไปขอให้รุ่นพี่อีกท่านหนึ่งซึ่งไปเรียนนาฏศิลป์ที่กรุงเทพมาคือ ครูเอก อาศัยอยู่ที่ หมู่ที่ 9 บ้านถิ่นเจริญ ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ให้สอนฟ้อนสาวไหมให้ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ทราบถึงเรียงราวเกี่ยวกับฟ้อนสาวไหมมากนักเมื่อเรียนได้เพียงครึ่งวันก็ฟ้อนได้หลังจากกลับจากบ้านที่เชียงรายก็ได้นำฟ้อนสาวไหมไปสอนให้กับเพื่อนที่โรงเรียนและได้แสดงครั้งแรกในงานวันแม่ที่โรงเรียนซึ่งได้รับความสนใจมากจากเพื่อนโดยเฉพาะอาจารย์สอนศิลป์ดนตรีเมื่อมีงานทั้งงานอำเภอและจังหวัดมักพาไปออกแสดงในงานด้วยเสมอและด้วยความใฝ่รู้จึงได้ศึกษาฟ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม คือฟ้อนดาบ เหตุนี้จึงทำให้คนทางจังหวัดสระบุรีรู้จัก นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว ฐานะนักแสดงฟ้อนรำจากโรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” มากยิ่งขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมจากอาจารย์ อารี คำปู่ อาจารย์สอนดนตรีนาฏศิลป์และอาจารย์ขวัญใจ อาจารย์ ชาลี ขุนสูงเนิน ในการไปแสดงตามที่ต่าง ๆ แล้วได้รับเชิญให้ไปแสดงในงานใหญ่ ๆ เสมออธิงานสมโภชไท-ยวนสระบุรี และงานจี่ข้าวเผาข้าวหลามเผาและงานอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในงานสมโภช 201 ปี ไท-ยวนสระบุรี ได้มีนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะสังคมและเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้นั่งชมการแสดงฟ้อนสาวไหมและฟ้อนดาบอยู่จึงเข้ามาทาบทามให้ไปแสดงในงานไหว้ครูที่มหาวิทยาลัย ในปี 2546 มีความประสงค์ที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมไปยังโรงเรียนอื่น ๆ และได้ทราบว่าที่โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนเกี่ยวกับดนตรีไท-ยวน(สะล้อซึง)ชื่อครูหนานคำ(เสาร์แก้ว อภิวงศ์) ชาวอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายที่ เข้ามาอาศัยในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จึงเข้าไปหาแล้วขอสอนฟ้อนให้กับนักเรียนที่นั่นช่วงหลังเลิกเรียนและวันหยุด เก็บค่าเรียนเพียงคนละ 10 บาท แต่มักหมดไปเพราะเด็กขอให้ซื้อขนมเสียหมดระหว่างสอนอยู่ก็ได้เรียนการเล่นดนตรีสะล้อซึงไปด้วย พอไปเรียนพักเที่ยงก็ได้เข้าไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดโรงเรียนได้พบหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย-ภาคเหนือ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติและภาษาของภาคเหนือจึงได้ค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติต่าง ๆ และได้ศึกษาอักษรธรรมล้านนาเพิ่มเติมด้วยตนเองด้วยมีพื้นฐานอยู่บ้างจึงทำให้เรียนรู้ได้จนอ่านออกเขียนได้บ้างพอสมควร วันหนึ่งด้วยความอยากรู้เกี่ยวกับประวัติของฟ้อนสาวไหม จึงลองเปิดหาดูในสารานุกรมก็ทราบว่าฟ้อนสาวไหมที่ตนใช้ฟ้อนอยู่เป็นของกรมนาฏศิลป์(ของแม่ครูพลอยศรี)ที่ประยุกต์มิใช่ของพื้นบ้านดั้งเดิม(ของแม่บัวเรียว) ผิดวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเมื่อถึงเวลาปิดเทอมจึงเดินทางไปเยี่ยมมารดาที่เชียงรายอีกครั้งและในครั้งนี้จึงเดินทางไปที่บ้านแม่ครูบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ และขอยกขันไหว้ครูต่อท่าฟ้อนสาวไหมจนฟ้อนได้ และนำฟ้อนสาวไหมเชียงรายไปเผยแพร่ในสระบุรีอีกครั้งและใช้ฟ้อนสาวไหมนี้ฟ้อนในงานต่าง ๆ มาโดยตลอดนับตั้งแต่นั้นมา ในปีนี้ได้ร่วมกับอาจารย์ ต่อมาในปี 2547 ได้ไปแสดงในงานไท-ยวน ที่ ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีอีกครั้งและได้พูดคุยกับอาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ประธานสมาคมไท-ยวนสระบุรี ท่านได้พูดเกี่ยวกับการอยากให้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ ของ ชาวไท-ยวน นายธีรวุฒิ จึงสอบถามลักษณ์ การฟ้อนที่อยากได้และอาสาประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้และแล้วเสร็จในปี 2548 ให้ชื่อว่า “ร่มฟ้าไท-ยวน” หรือที่ชาวไท-ยวนสระบุรีเรียกว่าฟ้อนยวนสาวไหม ต่อมาขณะเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทางมหาวิทยาลัยมีการจัดงานทานก๋วยสลากฯ และเพื่อนในกลุ่มจึงปรึกษาในเรื่องการแสดงจึงเสนอตัวจัดการแสดงและได้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นมาอีชุดให้ชื่อว่าฟ้อนแง้นเชียงราย ระหว่างนั้นได้พบกับศิลปินช่างซอ แม่ครูจำปา แสนพรม และได้ขอให้สอนซอให้แต่เนื่องไม่มีเวลาแม่ครูจำปาจึงให้บทซอและCDซอไปฝึกเองจนพอซอเป็นบ้าง หลังจากนั้นได้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นมาอีก 2 ชุด เพื่อเป็นที่ระลึกและทดแทนบุญคุณให้กับอำเภอป่าแดด คือฟ้อนเบิกม่านป่าแดด และฟ้อนจอมคีรีศรีธาตุ โดยฟ้อนป่าแดดเป็นฟ้อนที่แสดงเอกลักษณ์ของชาวอำเภอป่าแดด ออกมาในรูปแบบของการฟ้อนได้อย่างอ่อนช้อยและงดงาม ส่วนฟ้อนจอมคีรีศรีธาตุ นายธีรวุฒิ ตั้งใจให้เป็นฟ้อนแห้ขบวนในงานขึ้นพระธาตุจอมคีรีและงานสำคัญต่าง ๆ และฟ้อนต่อมาได้ประดิษฐ์ท่าฟ้อใช้ในงานสรกิจนิทัศคือฟ้อนขันส้มป่อยเป็นฟ้อนที่สำหรับอวยพรปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายโดยนำเอานำส้มป่อยเป็นสื่อในการฟ้อน ปัจจุบันได้เดินทางมาทำงานที่เทสโก้โลตัสสาขาเพชรบูรณ์ยังคงเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านล้านนาต่อโดยไม่คิดค่าสอนแต่อย่างใด โดยเป็นวิทยากรพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ โรงเรียนยาวีบ้านโป่ง โรงเรียนบ้านโตกในด้านการสอนอักษรธรรมล้านนาและการฟ้อนต่าง ๆ อธิเช่น ฟ้อนสาวไหม(ฉบับแม่ครูบัวเรียว) ฟ้อนป่าแดด ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน ฟ้อนขันส้มป่อย ฟ้อนก๋ายลาย ฟ้อนไตอ่างของ ฟ้อนดาบ ฯลฯ เป็นต้น และสอนเกี่ยวกับการทำตุงและโคมล้านนาให้อีกด้วย ช่วงนี้ได้ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จัดทำเว็บไซด์เพื่อการศึกษาศิลปะพื้นบ้านล้านนา เป็นเว็บไซด์ของอำเภอป่าแดด ขณะนี้ได้ดำเนินงานไป 70 % แล้ว ยังได้ประพันธ์บทซอกำเนิดพระธาตุจอมคีรีให้กับอาจารย์สมบูรณ์ ศรีโชติ และกำลังประพันธ์นิราศป่าแดด ปัจจุบันได้แต่งมาได้ประมาณ หนึ่งแล้ว “เชียงรายเป็นบ้านที่ข้าพเจ้ารักแม้ข้าพเจ้าจักไม่ได้อยู่ที่นั้นมาพักหนึ่งแล้วแต่ข้าพเจ้าก็ยังคงสืบรักษาให้รากแก้วของล้านนาคงสืบไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสักวันข้าพเจ้าจักกลับไปที่บ้านเพื่อเผยแพร่สิ่งที่ข้าพเจ้ารักให้กับบ้านของข้าพเจ้า” ประวัติด้านผลงาน 1. ประดิษฐ์ท่าฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน 2. ประดิษฐ์ท่าฟ้อนแง้นเชียงราย 3. ประดิษฐ์ท่าฟ้อนม่านฟ้าป่าแดด 4. ประดิษฐ์ท่าฟ้อนจอมคีรีศรีธาตุ 5. ประดิษฐ์ท่าฟ้อนขันส้มป่อย 6. ประพันธ์บทซอเก้าเหง้าไท-ยวน(ทำนองซออื่อ) 7. ประพันธ์บทซอกำเนิดพระธาตุจอมคีรี(ทำนองพม่า) 8. ประพันธ์บทจ๊อยตั้งบ้านยวน 9. ได้รับยกย่องให้เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้กับจังหวัดสระบุรี 10. เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านการฟ้อนล้านนาและการทำตุง โคมล้านนาให้กับโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ 11. เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านการฟ้อนล้านนาและการทำตุง โคมล้านนา ให้กับโรงเรียนหนองแค สรกิจพิทยา 12. เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านการฟ้อนล้านนาและการทำตุง โคมล้านนาให้กับชนชนไท-ยวนสระบุรี ทั้งอำเภอหนองแค เสาไห้ และ อำเภอเมืองสระบุรี 13. ส่งเสริมและร่วมสร้างเว็บไซด์อำเภอป่าแดด 14. ค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับประวัติของพระธาตุจอมคีรี อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย เพื่อฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ของอำเภอที่สูญหายไป คือประเพณีทอผ้าขึ้นธาตุ ตักบาตรพระอุปคุต บูชาพระพุทธบนสวรรค โดยอยู่ในช่วงประสานงานกับอาจารย์สมบูรณ์ ศรีโชติ ประธานวัฒนธรรมอำเภอป่าแดด 15. ปัจจุบันได้ดำเนินการเพื่อขอเข้าเผยแพร่วัฒนธรรมให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ 16. ส่งเสริมฟ้อนสาวไหมเชียงรายให้เป็นที่แพร่หลาย

คำสำคัญ
วิถีชีวิต
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 123/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล ป่าแงะ อำเภอ ป่าแดด จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย อีเมล์ chiangrai@m-culture.go.th
ตำบล ริมกก อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57100
โทรศัพท์ 053150169 โทรสาร 053150170
เว็บไซต์ http;//province.m-culture.go.th/chiangrai
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่