การสักเลกเมืองกาฬสินธุ์ในอดีต
การสักเลกเลก หมายถึง ชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่ 2.5 ศอกขึ้นไป จนถึงอายุ 70 ปี การสักคือการเอาเหล็กแหลม แทงตามเส้นหมึกที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายที่สังกัด โดยสักที่ข้อมือด้านหน้า หรือด้านหลังมือ
ทั้งหัวเมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.2392 มีเลกรวมทั้งสิ้น 4,387 คน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกเลิกการสักเลก โดยให้มีการสำรวจสำมะโนครัวแทนการเก็บส่วยส่วย หมายถึง สิ่งของหรือเงินที่เลกหัวเมืองส่งให้แก่ทางราชการ เพื่อทดแทนการที่เลกไปรับราชการหรือถูกเกณฑ์แรงงาน สาเหตุที่เลกเมืองกาฬสินธุ์ต้องส่งส่วยให้กับกรุงเทพ ฯ ก็เพื่อเป็นการตอบแทนต่อรัฐบาลในฐานะที่ได้รับการคุ้มครองจากทางกรุงเทพ ฯ ในเชิง "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" รวมทั้งการที่เจ้าเมือง กรมการเมือง ได้รับพระราชทานยศ อำนาจและรางวัลจากทางกรุงเทพ ฯ การเกณฑ์ส่วยเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ.2373 – 2375 ทางกรุงเทพ ฯ ได้ส่งข้าหลวงคือขุนพิทักษ์ และหมื่นภักดีมาสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ เพื่อกำหนดเกณฑ์ส่วยสำหรับหัวเมืองกาฬสินธุ์ผูกส่วย ผลเร่ง (หมากเหน่ง) เงิน กระวานและสีผึ้ง ต่อทางราชการ ถ้าหาสิ่งของดังกล่าวไม่ได้ก็จะต้องชำระเงินส่วยคนละ 4 บาทต่อปี ธรรมเนียมการเกณฑ์ส่วยได้ตั้งเกณฑ์สำหรับเลกแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มไว้เป็นอัตราที่แน่นอน เช่น กำหนดให้เลก 5 คน ต่อผลเร่งหนัก 1 หาบ ซึ่งคิดเป็นเงินได้ 5 ตำลึง ต่อมาในปี พ.ศ.2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงิน ค่าราชการ แต่สำหรับมณฑลอีสานยังคงเก็บจากเลกคนละ 4 บาทเช่นเดิม จนถึงปี พ.ศ.2468 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนชื่อเรียกว่า เงินรัชชูปการ ซึ่งก็ยังคงเรียกเก็บจากเลกคนละ ๔ บาทเช่นเดิม ครั้นถึงปีระกา เบญจศก ศักราช 1235 พ.ศ. 2416 พระยาไชยสมุทรหนูและกรมการเมืองกาฬสินธุ์ มีใบบอกขอเพียคำมูล คนเมืองมหาสารคาม มาเป็นเจ้าเมือง โดยขอบ้านทันทาง แขวงเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมือง จึงโปรดเกล้าตั้งเพียคำมูล ขึ้นเป็นที่พระประทุมวิเศษ เป็นเจ้าเมืองขนานนามบ้านกันทางเป็นเมืองกันทะวิไชย(กันทรวิไชย)ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ครั้นถึงปีจอ ฉะศก ศักราช 1236 ราวพ.ศ. 2417 เจ้าคุณมหาอำมาตย์ชื่นขึ้นมาชำระ(ทวง-ถาม) เงิน ส่วย (ภาษี) เมืองอุบลราชธานี พอถึงปีกุล สัปดศก ศักราช 1237 ราวพ.ศ. 2418 ก็เกิดราชการทัพ(เกิดศึก)อ้ายฮ่อ ขึ้นที่เมืองหนองคาย เจ้าคุณมหาอำมาตย์ชื่น พาหัวเมืองทั้งปวงยกขึ้นไปตีทัพอ้ายฮ่อ ณ เมืองหนองคาย เมื่อเสร็จราชการแล้ว ก็จัดราชการอยู่เมืองหนองคายแล้วโปรดตั้งหลวงจุมพลพนาเวศมุง ให้ว่าที่ประชาชลบานเจ้าเมืองษาหัศขัน(สหัสขันธ์) ครั้นอยู่ถึงปีชวด อัฐิศกศักราช 1238 ราว พ.ศ. 2419 พระราษฎรบริหารเจ้าเมืองกระมาลาไสย(กมลาไสย) ถึงแก่อสัญกรรมเป็นเจ้าเมืองอยู่ได้ 11 ปี