ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 9' 24.007"
7.1566686
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 9.8999"
100.5360833
เลขที่ : 119938
ขนมม่อฉี่
เสนอโดย สงขลา วันที่ 20 ธันวาคม 2554
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 20 ธันวาคม 2554
จังหวัด : สงขลา
1 1026
รายละเอียด

ขนมม่อฉี่ เป็นขนมไทยโบราณที่นับวันหาซื้อกินยาก เพราะมีคนทำเป็น หรือมีคนทำขนมนี้ที่มีรสชาติอร่อยหายากขึ้น สืบสาวราวเรื่องที่มาที่ไปของ “ขนมม่อฉี่” ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่ที่แน่ๆเป็นขนมที่มีแต่ในจังหวัดสงขลาเท่านั้น และคำว่า มอฉี่ (สำเนียงกลาง)ม่อชี่ (สำเนียงใต้)เข้าใจว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "โมจิ" ขนมของญี่ปุ่น มีคนเฒ่าคนแก่ในอำเภอสิงหนคร ของสงขลา เล่าให้ฟังว่า “เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพอยู่ที่ฝั่งสิงหนคร ได้มีการหาคนไทยมาทำอาหารให้คนทหารญี่ปุ่นกิน และคนญี่ปุ่นก็ได้สอนวิธีทำ “ขนมโมจิ” ให้กับคนไทยในครั้งกระนั้น โดยประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่พอหาได้ในท้องถิ่นมาทำ เช่น แป้งข้าวเหนียว น้ำผึ้งแว่น ถั่วใต้ดิน(ลิสง) และงา ชาวบ้านเห็นเป็นขนมแปลกแต่ทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่น ก็ทำกินกันมานับตั้งแต่นั้นมา โดยเรียกชื่อ ขนมโมจิ ตามสำเนียงใต้ เพี้ยนมาเป็น “ขนมม่อชี่” ถึงทุกวันนี้ ในสงขลาเนื่องจากมีขนมที่มีชื่อเรียกว่า “ม่อชี่” เหมือนกันทั้งขนมของไทย และขนมของจีน ขนมพื้นบ้านของไทยเรียกว่า “ขนมม่อชี่ไทย” เป็นขนมมีไส้ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนึ่งสุกห่อไส้เป็นลูกกลมๆขนาดพอคำ“ขนมม่อชี่จีน” หรือ “กะลอจี๊” เป็นขนมไม่มีไส้ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนึ่งสุกนำมาทอดบนกระทะแบนด้วยน้ำมันน้อยๆพอผิวด้านนอกสุกกรอบตัดเป็นชิ้นเล็กๆขนาดพอคำ นำไปคลุกเครื่องปรุงซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลทราย-งาคั่ว-ถั่วคั่วบด เหมือนไส้ขนมม่อชี่ไทย ปัจจุบันถึงแม้ว่า ขนมม่อชี่ จะหาซื้อกินยากแต่ก็ยังมีขายอยู่ตาม(ตลาด)นัดเช้าในหมู่บ้านต่างๆของสงขลา

คำสำคัญ
ขนมม่อฉี่
สถานที่ตั้ง
ตลาดนัดในหมู่บ้าน
ตำบล เกาะยอ อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นงเยาว์ บุญมณี
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4 บ้านสวนทุเรียน
ตำบล เกาะยอ จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90100
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่