ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 15' 20.7918"
16.2557755
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 26' 52.7248"
100.4479791
เลขที่ : 120222
ประเพณีกำฟ้าไทยพวน
เสนอโดย พิจิตร วันที่ 23 ธันวาคม 2554
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 31 มกราคม 2555
จังหวัด : พิจิตร
0 937
รายละเอียด

ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า “กำ” ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือ การบูชาฟ้า

ความเ็ป็นมา ความเชื่่อ ชาวไทยพวน มีอาชีพหลักคือ การทำนา ในสมัยก่อนการทำนา ต้องพึ่งธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ชาวนาไทยพวนในสมัยก่อนจึงมีความเชื่อและความเกรงกลัวต่อฟ้ามาก ไม่กล้าที่จะทำให้ผีฟ้าพิโรธ ถ้าผีฟ้าพิโรธนั้นย่อมหมายถึง จะไม่มีฝนตกต้องตามฤดูกาล หรือไม่ก็ฟ้าจะผ่าคนตาย ความแห้งแล้งทุกข์โศกก็จะบังเกิดขึ้นกับประชาชนโดยทั่วไปจึงต้องมีการเซ่นไหว้สักการบูชาฟ้าขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อมิให้ฟ้าพิโรธอีกนัยหนึ่ง ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม รู้สึกสำนึกในบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน อันหมายถึงความชุ่มชื่น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคน สัตว์ หรือ พืชพรรณต่างๆ จึงได้เกิดประเพณีกำฟ้าขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการประจบผีฟ้าไม่ให้พิโรธ และเป็นการแสดงความขอบคุณเทพยดาแห่งท้องฟ้าหรือผีฟ้า ดังกล่าวนั่นเอง

วัน เวลา จัดกิจกรรม ประเพณีกำฟ้าไทยพวนบ้านป่าแดง จัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี (ทยพวนแต่ละพื้นที่ จะกำหนดวันเวลา แตกต่างกันภายใน 3 เดือน คือ ขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย ถึงขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 แต่โดยทั่วไปเป็นที่รู้กันว่า “กำฟ้า” คือ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)

พิธีกรรมแต่ละวัน มีดังนี้

วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 สมาชิกทุกคนในครอบครัวแต่ละครอบครัว จะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) พร้อมทั้งน้ำยา เผาข้าวหลามและที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง คือ ข้าวเหนียวปั้น ยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ทาด้วยไข่แล้วปิ้งไฟให้เหลืองเกรียม เรียกว่าข้าวจี่ เพื่อนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งปันกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง มิตรสหาย

เช้าวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 วันกำฟ้า ทุกคนในบ้านจะตื่นนอนแต่เช้าตรู่ แม่บ้านเตรียม อาหารคาวหวาน จัดใส่สำรับไปทำบุญถวายพระที่วัด มีการใส่บาตรพระด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ หลังจากถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์แล้ว มีการรับประทานอาหารร่วมกัน และการจัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชน ชาวไทยพวนบ้านป่าแดง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนอำเภอตะพานหิน ร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย

พิธีบรวงสรวง

อาหาร/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง

1. ข้าวปุ้น(ขนมจีน)
2. ขนม อาทิ ขนมตาควาย ข้าวโล้ง ขนมกงแหน ข้าวเกรียบ ขนมดาดกระทะ ข้าวจี่
3. การละเล่นพื้นบ้าน อาทิ ผีกระด้ง ผีนางกวัก เตะหมากเบี้ย เดินโทงเทว ถ่อส้าว ต่อไก่ ฯลฯ
4. พิธีเผาข้าวหลามทิพย์

เวลาประมาณ 15.00 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น ผู้อาวุโสที่มีความรู้ทางด้านการประกอบพิธี จะทำหน้าที่เป็นพราหมณ์ เบิกบายศรีบูชาเทวดา (ผีฟ้า) อ่านประกาศอันเชิญเทพยดา ให้มารับเครื่องสังเวย ตอนเย็นจะมีงานพาข้าวแลง การแสดงดนตรีให้ชม การเดินแบบผ้าทอป่าแดง ณ บริเวณสนามโรงเรียนวัดป่าแดง โดยการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลหนองพยอม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของ ไทยพวนให้อนุชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติสืบทอดต่อไป

สถานที่ตั้ง
บ้านป่าแดง
ตำบล หนองพยอม อำเภอ ตะพานหิน จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสราญรัตน์ ชูมา
บุคคลอ้างอิง นางสราญรัตน์ ชูมา อีเมล์ tockca-ja@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร อีเมล์ tockca-ja@hotmail.co.th
จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 056612675 โทรสาร 056612675
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่