ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 24' 57.8862"
16.4160795
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 9' 11.6716"
101.1532421
เลขที่ : 120630
คำขวัญจังหวัดเพชรบูรณ์
เสนอโดย thun วันที่ 6 มกราคม 2555
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 27 มกราคม 2555
จังหวัด : เพชรบูรณ์
1 2896
รายละเอียด

"เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"

"เมืองมะขามหวาน" จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นแหล่งปลูกมะขามหวานมากที่สุดและคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะขามหวานประมาณ 16,000 ไร่ มีเกษตรกรชาวสวนมะขามประมาณ 4,000 กว่าราย พันธุ์ที่นิยมกันมาก ได้แก่ พันธุ์ประกายทอง หรือ ตาแป๊ะ พันธุ์ศรีชมพู พันธุ์สีทอง และพันธุ์ขันตี ในแต่ละปีจะมีผลผลิตมากในช่วงเดือนมกราคม และจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีการงานมะขามหวาน นครบาลเพชรบูรณ์ เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงมะขามหวานพืชเอกลักษณ์ และพืชเศรษฐกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย กำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี ณ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

“อุทยานน้ำหนาว”อยู่ในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่หรือ 966 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวผ่านจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นเนินยอดป้านที่เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกบริเวณนี้ในอดีต มีความสูงอยู่ระหว่าง 650-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วย ภูผาจิต ภูกุ่มข้าว โดยภูด่านอีป้องเป็นจุดสูงสุด มีความสูง 1,271 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบขึ้นเป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของลำธารสายยาว เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย ห้วยขอนแก่น ห้วยน้ำเชิญ ซึ่งไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนจุฬาภรณ์

“ศรีเทพเมืองเก่า” หมายถึง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16

“เขาค้ออนุสรณ์”หมายถึง อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา โดดเด่นด้วยแท่งหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม ออกแบบโดย ดร.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีความหมายตามขนาดและรูปร่าง ดังนี้

-รูปทรงสามเหลี่ยม หมายถึงการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง พลเรือน ตำรวจ และทหาร
- ฐานอนุสรณ์สถานกว้าง 11 เมตรหมายถึง พ.ศ.2511 อันเป็นปีเริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นี้
- ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถาน 24 เมตรหมายถึงพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่
- ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตรหมายถึงปี 2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธ
-ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตรหมายถึงปี 2526 อันเป็นปีเริ่มการก่อสร้างอนุสรณ์สถานผู้เสียสละแห่งนี้

“นครพ่อขุนผาเมือง”จากประวัติศาสตร์บันทึกว่าพ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าผู้ครองเมืองราด และมีข้อสันนิษฐานว่า “เมืองราด”น่าจะอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งได้แก่อำเภอหล่มสักในปัจจุบัน ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง พระรูปทำด้วยโลหะ ประดิษฐานในอิริยาบทยืน พระหัตถ์ขวาทรงดาบปักดิน พระหัตถ์ซ้ายชี้ลงพื้น ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง (สี่แยกหล่มสัก) บ้านน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหล่มสัก ประมาณ 3 กิโลเมตรเพื่อเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวเพชรบูรณ์ และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา ในเส้นทางดังกล่าว

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
คำขวัญจังหวัดเพชรบูรณ์
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
www.phetchabun.go.th
บุคคลอ้างอิง นายบรรทูล อิ่มสุขศรี
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ จังหวัด เพชรบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่