เดิมบ้านจะรังตาดงชื่อว่า จือแร ซึ่งหมายถึง ป่าดงดิบ มีสัตว์ดุร้าย เช่น เสือ สิงห์โต กระทิง กวาง ช้างป่า และอีกหลากหลายชนิด อาศัยอยู่ ป่าจือแรแห่งนี้ ตั้งอยู่ไกล้กับแม่น้ำ ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกแม่น้ำนี้ว่า”แม่น้ำสายบุรี” ป่าจือแรแห่งนี้จึงมีฝูงสัตว์มากมายอาศัยอยู่และอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ต้นไม้หลายชนิด
พื้นที่ใกล้เคียง ป่าจือแร นี้เป็นทุ่งนาที่มีชาวบ้านประมาณ 3 - 5หลังคาเรือน อาศัยอยู่ ต่อมาก็ได้มี ชาวบ้านจากที่อื่นเดินทางเข้ามาอาศัยด้วย และได้จับจองที่ดินในละแวกนั้น เพื่อประกอบอาชีพ คือการทำนา และการเกษตร รอบ ๆ ทุ่งนานั้นมีต้นตาลเป็นจำนวนมาก ต่อมา ก็ได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่นเข้ามาอีกมา จนไม่มีที่อาศัยชาวบ้านหลาย ๆ คนจึงรวมตัวกันเพื่อบุกเบิกป่าจือแร โดยเริ่มจากพื้นที่ไกล้แม่น้ำก่อน ชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำ ใช้เรือในการเดินทางไปยังหมู่บ้านอื่นๆ เช่น เกะรอ โคกงอ มือลอ และในหมู่บ้านใกล้เคียง ใช้เรือในการสัญจรไปมา ในขณะนั้นชาวบ้านเริ่มมีอาชีพใหม่คือค้าขาย แต่ชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำใช้เส้นทางน้ำในการสัญจรเพื่อค้าขาย หมู่บ้านนี้จะมีท่าเรือ ซึ่งชาวบ้านจะตั้งผ้าผูกไว้กับไม้คล้าย ๆ ธง เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ว่ามีท่าเรือและมีหมู่บ้านมีผู้คนอาศัยอยู่ (ผ้าที่ตั้งไว้เป็นประวัติความเป็นมาของชื่อตำบล คือท่าธงในปัจจุบันนี้)
ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ นั้น จะเรียกหมู่บ้านเล็ก ๆ นี้ว่า กาปงจือแร (คือหมู่บ้านจะรังตาดงนั้นเอง) ซึ่งหมายถึง หมู่บ้านที่เกิดจากป่าดงดิบมาก่อน ส่วนชาวบ้านบ้านจือแร จะเรียกหมู่บ้านทุ่งนา นั้น คือ บ้านตาดง เนื่องจาก คำว่าตาดง มาจาก รอบหมู่บ้านทุ่งนาล้อมรอบด้วยต้นตาลเป็นจำนวนมาก แล้วต้นตาลต้นหนึ่งในหมู่บ้าน ถูกฟ้าผ่า ต้นตาลต้นนั้นจึงด้วน ต้นตาลภาษามาลายูท้องถิ่นเรียกว่า ตา (ต้นตาล) ด้วน ในภาษามาลายูท้องถิ่น เรียกว่า กูดง (ด้วน) แต่ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียก คำว่ากูดง สั่นๆ ว่า ดง จึงเป็นประวัติความเป็นมาที่ทำให้เกิด หมู่บ้านบ้านจะรังตาดง ในปัจจุบันนี้
หมู่บ้านจารังตาดงเป็นหมู่บ้านที่มีป่าล้อมรอบ ซึ่งเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีหมู่บ้านเล็กไม่กี่หลังเรือน ต่อมาบ้านจารังตาดงได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือนมากกว่าหมู่บ้านอื่นๆในตำบลท่าธง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 350 ครัวเรือน