ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 28' 41.862"
16.4782950
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 30' 35.343"
99.5098175
เลขที่ : 122131
ตีมีด,ตีเหล็ก บ้านปากคลองกลาง
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 1368
รายละเอียด

การตีมีด, ตีเหล็ก ดำเนินการโดย นายเสมอ กุลบุตร ภูมิปัญญาบ้านปากคลองกลาง ตำบลนครชุม

อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และนายชำนาญ กุลบุตร(น้องชายฉและครอบครัว ร่วมกันทำ ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ผลิตภัณฑ์ เช่น มีด จอบ เสียม ชะแลง เคียว ฯลฯ มีจำหน่ายที่บ้านภูมิปัญญา(นายเสมอ กุลบุตร)

การตีมีด,ตีเหล็ก วัสดุที่ใช้ในการผลิต (๑) เหล็ก(เหล็กแท่งทั้งเก่า,ใหม่) (๒) ถ่านไม้ (๓) น้ำ (๔) น้ำมันมะพร้าว

เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต (๑) เตาหลอม(เผา) (๒) ค้อนปอนด์ (๓) ตะไบ (๔) อ่างน้ำ (๕) ทั่งสำหรับรองตีมีด (๖) คีมจับ

เหล็กร้อน (๗) เครื่องเจียรแต่งคมมีด (๘) กระดาษทรายสำหรับใส่เครื่องเจียร

ขั้นตอน/วิธีทำ

ขั้นเตรียมการ

(๑) เตรียมเหล็กตีมีด,เชื้อเพลิงที่ใช้กับเตาเผาเหล็ก เช่น ถ่าย

(๒) อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในงานตีมี เช่น เตาเผาเหล็ก ทั่งตีเหล็ก ค้อน คีมจับชิ้นงาน

(๓) อ่างน้ำ ตะไบสำหรับลบเหลี่ยมมีด กระดาษทราย เครื่องเจียรแต่งคมมีด

ขั้นการผลิต

(๑) นำเหล็ก(วัสดุ) ไปเผาไฟให้แดง

(๒) นำมาตีให้เป็นรูปมีด

(๓) ใช้ตะใบฝนให้เรียบ

(๔) นำมาชุบน้ำเย็น เพื่อให้เหล็กเย็นตัวเร็วขึ้น

(๕) ตีห่อบ้อง ตีแต่งคม เจียรลบคม ทาน้ำมันมะพร้าวกันสนิม

ขั้นหลังการผลิต

(๑) นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ให้แก่ลูกค้าที่สั่งซื้อ หรือ จำหน่ายให้ร้านค้าในตลาด(เมืองกำแพงเพชร)

(๒) นำไปใช้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ในครัวเรือน งานบ้าน งานสวน ไร่ นา และอื่น ๆ

สถานที่ตั้ง
บ้านนายเสมอ กุลบุตร
เลขที่ ๖๗/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๔ บ้านปากคลองกลาง
ตำบล นครชุม อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเสมอ กุลบุตร
ชื่อที่ทำงาน บ้านนายเสมอ กุลบุตร
เลขที่ ๖๗/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๔ บ้านปากคลองกลาง
ตำบล นครชุม อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000
โทรศัพท์ ๐-๕๕๗๓-๘๒๓๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่