ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 24' 23.9263"
17.4066462
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 44' 11.7614"
103.7366004
เลขที่ : 122304
เซิ้งผีโขน
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : สกลนคร
2 917
รายละเอียด
ผีโขน หมายถึง การแต่งหน้ากากคล้ายหัวโขน คือแต่ง หู ตา จมูก ปาก ให้น่ากลัวคล้ายผี ไม่เพียงปต่เท่านั้นยังจัดทำทรงผม เครื่องห่อหุ้มร่างกายให้รกรุงรัง คล้ายผีมากขึ้น เป็นงานบุญเฉพาะอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนครน

ผีตาโขน หมายถึง การละเล่นของงานบุญหลวงซึ่งเป็นงานบูญเฉพาะท้องถิ่นของ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และยังเป็นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องส่งพระเวสสันดร กลับพระนคร โดยพวกผีตาโขน จะร่วมขบวนตามมาส่งเสด็จซึ่งเป็นขบวนสุดท้าย ในสมัยก่อนเรียกว่า "ผีตามคน" พอนานเข้าก็เพี้ยนมาเป็น "ผีตาโขน" ดังที่ใช้เรียนในปัจจุบันผีโขนเกิดจากความเชื่อของชนเผ่าหนึ่งในจังหวัดสกลนคร คือ เผ่าไทอีสาน ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งในจำนวน 6 เผ่า ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งประกอบไปด้วย เผ่าย้อ เผ่ากะเลิง เผ่าภูไทย เผ่าโส้ และเผ่าไทยอีสาน การเล่นผีโขน บ้านไฮหย่อง จึงสืบมรดกวัฒนธรรมประเพณีต่อกันมา ดังปรากฎว่า บรรดาผีมเหสักข์หลักเมือง ในบ้านไฮหย่องมีชื่อว่า "ผีจันต์" อยู่ในกลุ่มผีระดับสูงด้วย ที่เข้าร่วมขบวนแห่พระเวสสันดร
ปัจจุบันเผ่าไทอีสาน ที่บ้านไฮหย่อง จ.สกลนคร ยังสืบทอดการแสดงผีโขนต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ประเพณีผีโขนบ้านไฮหย่อง ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งเป็นวันจัดขบวนแห่ผีโขนที่ยิ่งใหญ่

จุดประสงค์การแสดงผีโขน

เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี การบำเพ็ญกุศลของพระเวสสันดรชาดกในอดีตกาล เพื่อเป็นข้อเตือนใจว่า การเป็นคนดีมีคุณธรรมมีน้ำใจเกื้อกูลต่อผู้อื่น เสียสละ บริจาค ให้อภัยซึ่งกันและกัน แม้กรณีทั้งภูตผีปีศาจ ก็ยังแซ่ซ้องสรรเสริญ เข้าร่วมขบวนแห่อัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมืองด้วย เพื่อเป็นการบอกบุญ พุทธศาสนิกชน ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำบุญบริจาคทานก่อนถึงวันงานประเพณีบุญมหาชาติ โดยใช้ผีโขน แห่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ผีโขน เป็นส่วนหนึ่งของงานบุญมหาชาติที่สำคัญ ซึ่งทำให้งานเกิดความครึกครื้น สนุกสนาน เพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ ในหมู่ญาติมิตร เพื่อนฝูงในรอบหนึ่งปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันกลับคืนสู่มาตุภูมิของคนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมพิธีในการแสดงผีโขน

การประกอบพิธี

ก่อนที่ผีโขนจะนำขบวนเพื่อไปบอกบุญตามหมู่บ้านต่างๆ จะต้องคาระวะต่อศาลเจ้าปู่เมืองหาญ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชา ของคนในหมู่บ้านไฮหย่อง การร่วมพิธีของผีโขนจะมีห้วหน้าผีเป็นผู้ควบคุมโดยใช้เชือก ล้อมผีโขนไว้เพื่อไม่ให้แตกกลุ่มไปรบกวนชาวบ้านที่ร่วมขบวนแห่ ในขณะที่เคลื่อนขบวนแห่ จะมีหัวหน้าผีเป็นผู้ร้องนำ ซึ่งเรียกว่า "การเซิ้งผีโขน" และผีโขนจะร้องตามหัวหน้าทีละวรรค เนื้อหาคำเซิ้งจะมีลักษณะเป็นกาพย์ เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับนิทานสอนใจ คติเตือนใจ เป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้ฟัง การเซิ้งผีโขน จะมีเครื่องดนตรีประกอบการเซิ้ง ได้แก่ กลองตุ้ม ฉิ่ง ฉาบ หมากจันทร์ ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผีโขนบ้านไฮหย่อง ต.พังโคน จ.สกลนคร กับ ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย ความแตกต่างของขบวนแห่ ผีโขนบ้านไฮหย่อง เป็นขบวนแห่ที่มีอยู่เพียง 3 - 4 ขบวน ซึ่งคงความเป็นงานบุญแบบโบราณ แต่ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นขบวนที่ใหญ่มาก มีการตกแต่งสีสันของขบวนแห่ต่างๆ ให้สวยงาม มีขบวนแห่ที่ยาวมาก นอกจากนี้ยังมีการประกวดขบวนผีตาโขน การประกวดการเต้นผีตาโขน และเป็นงานประจำปีของอำเภอ ความแตกต่างของบทเซิ้งผีโขน บ้านไฮหย่องจะมีบทเซิ้งผีโขนแต่ผีตาโขนอำเภอด่านซ้ายจะไม่มี รูปแบบการเตรียมงาน บ้านไฮหย่องจะมีการเตรียมงานล่วงหน้าประมาณ 45 วัน โดยมีการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อมอบหมายหน้าที่ตามความสามารถของแต่ละคน แต่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย นั้นประเพณีผีตาโขนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและถือเป็นงานประจำปีของอำเภอ ดังนั้นการเตรียมงานจึงต้องมีหลายส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมนอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวนมาก
สถานที่ตั้ง
ตำลบพังโคน
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านไฮหย่อง
ตำบล ไฮหย่อง อำเภอ พังโคน จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
บุคคลอ้างอิง นางยงรัก ราชคำ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อีเมล์ sakon.culture@gmail.com
ถนน สกล - กาฬสินธ์
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042716247 โทรสาร 042716214
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่