ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 35' 57.8533"
16.5994037
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 50' 55.2602"
99.8486834
เลขที่ : 122775
เครื่องเซ่นและอุปกรณ์รับขวัญข้าว
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 13 มิถุนายน 2555
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 1781
รายละเอียด

ประเพณีรับขวัญข้าว หรือ ประเพณีรับขวัญแม่พระ โพสพจากกลางนามาประทับในยุ้งข้าว เมื่อ ทำพิธีนี้

แสดงว่า ฤดูทำนาได้สิ้นสุดลง ช่วงเวลาที่ทำพิธีมี 2 วัน คือ วันศุกร์ข้าวลาน หมายถึง ประเพณีรับขวัญแม่พระ โพสพเมล็ดข้าวที่ตกอยู่ตามลานไปไว้ที่ยุ้งวันจันทร์ข้าวยุ้ง คือ การอัญเชิญแม่โพสพ (ข้าว) จากลานไปไว้ในยุ้ง

อุปกรณ์ในการประกอบพิธีรับขวัญข้าวขึ้นยุ้ง มีดังนี้

๑. กระบุง ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๒ นิ้ว

๒. ขอฉาย (ไม้ไผ่มีลักษณะเป็นขอ)

๓. ผ้าขาวม้า

๔. ด้ายแดง ด้ายขาว

๕. บายศรีปากชาม ปลายบายศรีใช้ดอกกระถินที่กำลังบานเสียบ

๖. เผือก ๑ หัว มันเทศ ๑ หัว (ต้มสุก)

๗. ยาสูบ ๑ มวน

๘. ข้าวปากหม้อ ๑ ปั้น

๙. ไข่ไก่ต้มสุก

๑๐. ขนมแดกงา

- ปั้นเป็นรูปเต่า ๑ ตัว

- ปั้นเป็นรูปคันไถ ๑ คัน

- ปั้นเป็นรูปคาด ๑ อัน

- ปั้นเป็นรูปหัวนิ้วมือ ๓ อัน

- ปั้นเป็นรูปแบนกลม ๓ อัน

๑๑. ยำ (มะเขือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล ปลาย่าง ปรุงรส)

๑๒. กระบอกไม้ไผ่ (สำหรับใส่น้ำ)

๑๓. เทียน ๑ ดอก ธูป ๓ ดอก

๑๔. ไม้ขีด ๑ กล่อง

การประกอบพิธีทำขวัญข้าว

ผู้ประกอบพิธีจัดเตรียมไว้ใส่ในกระบุง สำหรับเผือก มันเทศ ไข่ต้ม ข้าวปากหม้อปั้นก้อน ขนมแดกงา รูปต่าง ๆ

ยำ ใส่ลงในบายศรีปากชาม นำด้ายแดง ด้ายข้าว นำผ้าขาวม้าพาดบ่าเป็นสะใบ นำขอฉายเกี่ยวกระบุง เดินทางไปทุ่งนา

เมื่อไปถึงนำกระบุงวางลง จุดเทียนธูป ปักไว้ ใช้มือหยิบดินขึ้นมา ๓ ก้อน จากนั้นเอามือขวา กวักเรียกเข้ากระบุง

พร้อมพูด(นึกในใจหรือพูดออกมาก็ได้) มีข้อความดังนี้

"วันนี้ วันดี ศรีวันพญาวัน จะมารับแม่โพสพ แม่โพศรี แม่จุฬามณี แม่ศรีพระคงคา เชิญขึ้นกระเช้าเงิน

กระเช้าทอง มัวไปชมสวนพระอินทร์ พระจินดา เชิญแม่โพสพเสด็จลงมา ขึ้นกระเช้าเงินกระเช้าทอง" เสร็จแล้ว

กูตะโกน ๓ ครั้ง(โก้ว*) ภาษาถิ่นลานกระบือเรียกว่า โก๋

จากนั้น ผู้ประกอบพิธีจะนำขอฉาย เกี่ยวกระบุงแบกกลับบ้าน มาที่ยุ้งฉางของตน ซึ่งเป็นที่เก็บข้าวเปลือก

สำหรับสีเป็นข้าวสารกิน และเก็บไว้เป็นข้าวปลูกในปีต่อไป นำกระบุงขึ้นไปวางแล้วกล่าวเชิญแม่โพสพ มีข้อความ ดังนี้

"เชิญแม่โพสพมาอยู่ยุ้งมุงหญ้า มาอยู่คามุ้งถี่ มาอยู่เลี้ยงลูกเลี้ยงเต้า ข้าวให้ล้นยุ้ง นะปัดตะโยโหตุ" ถือเป็นเสร็จพิธี

หลังจากเสร็จพิธีแล้ว ต้องเปิดประตูยุ้งไว้ ๓ คืน ๓ วัน จึงจะทำการปิดประตูยุ้งได้ จากนั้นเกษตรกรจะไม่ตักข้าวออกจากยุ้ง จนกว่าจะถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓(ปีไทยโบราณ) มีความเชื่อว่า ทำพิธีแล้วจะทำให้มีข้าวขึ้นยุ้งทุกปีไป และในการตักข้าวออกจากยุ้งวันแรก (เรียกว่าวันแรกตัก) ให้นำช้อนตักข้าวใส่ลงในขันน้ำ ๓ ตัก และกล่าวข้อความ ดังนี้

"ตักไม่ให้รู้บก หกไม่ให้รู้พร่อง ให้ไหลมูลพูนกอง เหมือนศรีธนชัย ปัดตะโยโหตุ" เสร็จแล้ว ให้ตั้งขันข้าวที่ตักไว้ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน หลังจากครบกำหนดให้เทข้าวในขันคืนกลับยังกองข้าว หลังจากนี้ เกษตรกรสามารถนำข้าวในยุ้งฉางไปใช้ได้ ความเชื่อแต่โบราณ ผู้ประกอบพิธีทำขวัญข้าวต้องเป็นผู้หญิงปีเกิดในปีสัตว์ที่ไม่กินข้าวเป็นอาหาร เช่น ปีขาล

ปีมะโรง และปีมะเส็ง เป็นต้น

* (โก้ว) เป็นคำกริยา ภาษาถิ่นเรียกว่า โก๋ หมายถึง การกู่ตะโกนเสียงดังๆ หลังจากกล่าวขอขมา

พระแม่โพสพเสร็จ ผู้นำพิธีก็จะตะโกนเพื่อส่งเสียงให้พระแม่โพสพรับรู้

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๓๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๓ บ้านปลักไม้ดำ
ตำบล ลานกระบือ อำเภอ ลานกระบือ จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายมนตรี ราชบุรี
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมอำเภอลานกระบือ
ตำบล ลานกระบือ อำเภอ ลานกระบือ จังหวัด กำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62170
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่