ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 9' 35.3945"
17.1598318
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 45.6718"
104.1626866
เลขที่ : 123316
หน่อหวาย
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : สกลนคร
1 1715
รายละเอียด

ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ

หวายเป็นพืชป่าชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นอยู่ใน เขตป่าเบญจพรรณมีทั้งชนิดที่มีลำต้น ยาว นำไปทำเครื่องใช้ไม้สอยจักสานผูก มัดเสาเรือนให้ยึดแน่น หวายอีกชนิดหนึ่งเป็น หวายที่นิยมใช้หน่อรับประทาน นำมาทำกับข้าว เช่น ต้มจิ้มแจ่ว น้ำพริก และแกงปรุงรสตาม ที่ต้องการโดยเฉพาะกลุ่มชาวภูไท ชาวกะเลิง ชาวญ้อ เป็นกลุ่มที่ชอบรับประทานแกงหวาย มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ จึงนิยมปลูกหวายไว้ขาย รับประทานในครัวเรือน

หวายมีมากกว่า50 พันธุ์ แต่ที่ชาวบ้านรู้ จักและนำมาใช้ปรุงอาหารมี 4 ขนิดได้แก่

1. หวายขมหรือหวายโคก เป็นหวายชนิดต้น เตี้ย มักชอบขึ้นตามป่าละเมาะหวายชนิดนี้มี อายุหลายปี พุ่มหวายสูงประมาณ 1 เมตรแต่ลำ ต้นเลื้อยยาวออกไปหวายชนิดนี้จึงต้องสับ นำมาทั้งหัวแกะกาบออกจึงจะได้หน่อ หวายอ่อนนำไปเป็นอาหาร

2. หวายบุ่นหรือหวายกระบองเป็นหวายที่มี ลำต้นใหญ่ มีข้อถี่ มีหนามมาก ถ้ามี อายุมากจะเป็นเครือให้เส้นหวายหนาใหญ่ นำ ไปทำเครื่องเรือนเช่น เก้าอี้ หกถักทอภาชนะต่าง ๆ หวายชนิดนี้นำไปแกงไม่อร่อย

3. หวายหางหนู เป็นหวายต้นเล็ก ๆ ลำต้น โตประมาณนิ้วมือ ลำต้นสูงชะลูด ขึ้นเร็วเมื่อ ปล่อยทิ้งไว้หลายปี จะให้เส้นหวายขนาดเล็ก นำเส้นหวายไปใช้จักรสานได้ นำส่วนยอด มาแกงเป็นอาหารได้ แต่มีข้อเสียคือ เนื้อ ยอดอ่อนไม่นุ่มจึงขายไม่ได้ราคามากนัก นอกจากจะบริโภคเองหรือแจกจ่ายผู้คุ้นเคย

4. หวายดง หวายชนิดนี้มีลำต้นใหญ่ กว่าหวายหางหนูแต่เล็กกว่าหวายหางหนูหรือ หวายกะบองถ้าเกิดในป่าดงดิบหวายชนิด นี้จะยาวเลื้อยไปตามต้นไม้ตั้งแต่ลำ ต้นจนถึงยอดไม้จึงให้เส้นหวายยาว 20 -30 เมตร นำเส้นหวายมาใช้จักรสานได้ ส่วนยอดหรือหน่อนำมาแกงอ่อมได้รสชาด อร่อยมากกว่าหวายชนิดอื่น
แหล่งที่พบ

หวายป่าพบได้ตาป่าละเมาะและป่าเบญจพรรณ ทั่วไป เกิดจากนกถ่ายมูลเมล็ดหวาย เมื่อ หวายตกลงพื้นดินมีอุณหภูมิพอเหมาะจะขึ้น เป็นหวายป่า ในปัจจุบันนิยมนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะ ในแปลงหรือกระบะในเรือนเพาะชำ เมื่อเมล็ดหวาย ขึ้นเป็นต้นอ่อนก็ย้ายลงในถุงพลาสติก เพื่อนำ หวายลงไปปลูกในหลุมเป็นแถว เพื่อให้ตัด ยอดอ่อนมาจำหน่ายหรือนำมาปรุงอาหารต่อไป

แหล่งที่ปลูกหวายมากที่สุดคือบริเวณไหล่เขา ภูพาน ในบริเวณอำเภอกุดบาก อำเภอวาริชภูมิ กิ่ง อำเภอภูพาน เป็นแหล่งที่มีหน่อหวายจำหน่ายมาก ที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม เป็นช่วงที่หวายแตกยอดอ่อนหน่อเจริญ งอกงาม
ความสัมพันธ์กับชุมชุม

หวายเป็นอาหารที่นิยมรับประทาน แต่เนื่องจากมี ราคาแพง จึงมักเป็นอาหารพิเศษ ในการรับแขก หรืองานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม ชาวผู้ไทยนิยมรับประทานแกงหวายถือว่าหวาย เป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหวายมีรส ขมเล็กน้อย แต่เมื่อดื่มน้ำหลังรับประทานจะ มีรสหวาน ชาวผู้ไทยจึงนิยมแกงหน่อหวาย เมื่อรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนเป็นสำคัญ แกงหวาย ของชาวผู้ไทยอำเภอวาริชภูมิ มีวิธีทำดัง นี้

เครื่องปรุง

หน่อหวายที่ลอกเปลือกแล้ว

ซี่โครงหมู

บวบ

เห็ดหูหนู เห็ดฟาง

ผักชีฝรั่ง-ผักชีลาว

ใบแมงลัก

ใบย่านาง

น้ำปลาร้า

ใบชะอม

เมล็ดข้าวเหนียว


วิธีปรุง

1. ต้มหวายให้เดือดเพื่อลดความขม เทน้ำทิ้ง

2. คั้นใบย่านางผสมน้ำต้มกับหน่อหวาย ใส่ซี่โครงหมูหรือเนื้อไก่หรือปลาตามต้องการ เติมน้ำปลาร้าน้ำข้าวเหนียวตำ (ข้าวเบือ) ปรุงน้ำแกงให้ได้รสชาดจนน้ำแกงเดือด

3. ใส่ผักต่าง ๆ เช่น บวบ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว (ผักสะแงะ) ใบชะพลู (ผักอีเลิศ) ทิ้งไว้สักครู่ ก็ยกหม้อแกงลงเป็นเสร็จการปรุงแกงหวาย
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

หน่อหวายเป็นพืชที่มีราคา เพราะเป็นการนำพืชป่า มาปลูกเป็นพืชสวน เนื่องจากหน่อหวายมีจำนวนน้อย หวาย กอหนึ่งให้หน่อเพียงหน่อเดียว และต้องทิ้งไว้บ้างเพื่อ ให้กอใหญ่งอกงาม ดังนั้นหวายจึงมีราคาแพง หวาย ขมชนิดหน่อสมบูรณ์มีราคาหน่อละ5-10 บาท จึงนับว่า เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกขายอย่างมาก

เนื่องจากหวายไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่มีแมลงรบ กวน ไม่ต้องรดน้ำมากนัก เพียงแต่ต้องหมั่น ถางหญ้า ตัดแต่งกิ่งจึงทำให้สะดวกในการ ดูแลกว่าพืชชนิดอื่น ทำรายได้มากกว่า การปลูกข้าว จึงเป็นที่นิยมปลูกหวายแทนการ ทำนาไปบางพื้นที่

คำสำคัญ
หน่อหวาย
สถานที่ตั้ง
จังหวัดสกลนคร
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/sgk/good.html
บุคคลอ้างอิง จังหวัดสกลนคร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อีเมล์ sakon.culture@gmail.com
ถนน สกล - กาฬสินธ์
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042716247 โทรสาร 042716214
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่