ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 52' 13.0001"
18.8702778
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 8' 12.0001"
99.1366667
เลขที่ : 124375
วัดรังษีสุทธาวาส (เมืองลวงใต้)
เสนอโดย arporn_v วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 6 มีนาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 703
รายละเอียด

ประวัติวัดรังษีสุทธาวาส ( เมืองลวงใต้ )

ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

วัดรังษีสุทธาวาส (เมืองลวงใต้) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๕๐ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๓๖๕๙ และ ๑๓๖๖๐ วัดรังษีสุทธาวาส สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๗ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเมืองลวงใต้ เดิมชื่อ วัดศรีนางแยง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๕ เมตร

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

รูปที่ ๑ พระทองมั่น

รูปที่ ๒ พระยอดแก้ว รตนปญฺโญ

รูปที่ ๓ พระสุรินทร์ อคฺคปญฺโญ

รูปที่ ๔ พระอธิการแสง พฺรหฺมสโร

รูปที่ ๕ พระคำแสน ปญฺญาทีโป

รูปที่ ๖ พระอธิการแก้ว จนฺทรํสี

รูปที่ ๗ พระครูสิริสุทธาจาร

รูปที่ ๘ พระครูรัตนปัญญากร

รูปที่ ๙ พระครูสุตธรรมวิจิตร เจ้าอาวาสปัจจุบัน

ปูชนียสถาน

พระธาตุเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ กว้าง ๗ เมตร สูง ๑๘.๕ เมตร อายุโดยประมาณ ๕๒ ปี สถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตามประวัติ เป็นปูชนียสถาน ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน เพราะเป็นที่ครูบาอภิชัยขาวปีได้นั่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานตรงนั้น ชาวบ้านจึงขอเมตตาครูบาอภิชัยขาวปีเป็นประธานในการก่อสร้างเจดีย์

วางศิลาฤกษ์ วันศุกร์ ที่ ๙ เดือน พฤษภาคม ๒๕๐๑ ตรงกับเดือน ๘ เหนือ แรม ๗ ค่ำ เวลา ๑๓.๐๐ น.

บรรจุพระธาตุ วันพุธ ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๐๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.

อบรมสมโภชน์ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๐๑ เวลา ๑๒.๓๐ น.

บรรจุแกนพระธาตุ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๐๒ เดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เวลา ๑๐.๐๐ น.

ทุกปีชาวบ้าน จะร่วมกันสรงน้ำพระธาตุ โดยถือเอาเดือน ๘ ออก ๘ ค่ำ เป็นวันทำบุญประจำปี นิมนต์หัววัดมาร่วมทำบุญและรับไทยธรรม ๓๑ วัด

ปูชนียวัตถุ อายุ / คุณค่า ทางจิตใจ - ประวัติศาสตร์ / สภาพอุโบสถ

อุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๔๘๑ คุณค่าทางจิตใจ เป็นที่ทำบุญ ที่พึ่งทางจิตใจ ที่ประกอบกิจของสงฆ์ ประวัติศาสตร์ ไม่มีข้อมูลการก่อสร้าง แต่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕สภาพ แข็งแรง มั่นคง สวยงาม ตามสถาปัตยกรรมล้านนา

วิหาร

-วิหารวัดรังษีสุทธาวาส ไม่มีข้อมูลการก่อสร้าง

-คุณค่าทางจิตใจ ที่พึ่งทางจิตใจ ที่เสริมสร้างบุญ กุศล ความดี

-ประวัติศาสตร์ ไมมีข้อมูลการก่อสร้าง แต่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐

และบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕

กุฏิสงฆ์

กุฏิสงฆ์ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๑ อายุ ๔๒ ปีประวัติศาสตร์ ใช้เวลาก่อสร้าง ๕ ปี ทำบุญฉลอง พ.ศ. ๒๕๑๖

หอธรรม / พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิต

หอธรรม สร้างพ.ศ. ๒๔๙๖ อายุ ๕๗ ปี ประวัติศาสตร์ อดีตเป็นอุโบสถ

ศาลาเอนกประสงค์

ศาลาเอนกประสงค์ สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๙

กุฏิที่ประดิษฐ์สถานรูปเหมือนครูบาอภิชัยขาวปี

กุฏิที่ประดิษฐ์สถานรูปเหมือนครูบาอภิชัยขาวปี สร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ ประวัติศาสตร์ สืบเนื่องจากครูบาได้มาเป็นประธานสร้างพระธาตุเจดีย์ ชาวบ้านจึงได้มองเห็นคุณูปการของครูบาที่มีต่พระพุทธศาสนา จึงได้สร้างกุฏิและรูปเหมือครูบาไว้เป็นที่กราบไหว้และรำลึกถึงคุณความดีของครูบา

หอฉัน

หอฉัน สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๕ อายุ ๔๘ ปีประวัติศาสตร์ เป็นที่จำพรรษาหลับนอนพักผ่อนของเจ้าอาวาสและพระภิกษุ-สามเณร

โรงครัวแม่บ้าน

โรงครัวแม่บ้าน (ศาลาเอนกประสงค์) สร้างพ.ศ. ๒๕๒๗ประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ใช้ทำบุญวันพระและทำบุญทั่วไปของพุทธศาสนิกชนปัจจุบัน เป็นที่เก็บวัสดุสิ่งของวัดและเป็นที่ประกอบอาหารของแม่บ้าน

บ้านเมืองลวงใต้เป็นชุมชนไตลื้อ ซึ่งตามประวัติย้ายถิ่นฐานมาจากสิบสองปันนา มณฑลยูนาน สาธารณะรัฐประชาชนจีน และมาตั้งรกรากอยู่ทางทิศตะวันตกที่ว่าการอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ ๑ กิโลเมตร โดยมีวัดรังษีสุทธาวาสหรือวัดลวงใต้ เป็นวัดประจำหมู่บ้าน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๑ หมู่ ๘ ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

วัดรังษีสุทธาวาส เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้ จัดกิจกรรม อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ของชาวไตลื้อ และยังส่งเสริมกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยความร่วมมือระหว่าง พระสงฆ์ อาสาสมัคร ผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ จึงทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆดังต่อไปนี้

ศาสนวัตถุของวัด ประกอบด้วย วิหาร ศาลาเอนกประสงค์ หอไตร บ้านไทลื้รัาล มีโรงอาหาร โสภาพใช้งานได้ิจกรรม ออที่เป็น สถาปัตกรรมล้านนาและไตลื้อ

ด้านการจัดสุขภาวะ ห้องน้ำมีการแบ่งสัดส่วน ห้องน้ำชาย ห้องน้ำหญิงและห้องน้ำสำหรับคนพิการ มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ สะดวกสำหรับผู้ใช้

ภายในวัดมีระบบท่อระบายน้ำเสีย น้ำทิ้ง ที่มีการจัดการถูกหลักสุขาภิบาล

มีโรงครัว ที่ปลอดภัยสำหรับการประกอบอาหาร และได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ ได้จัดทำโครงการน้ำดื่มสะอาด ภายในวัดเพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน และเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ด้านการจัดการน้ำสะอาดสำหรับบริโภค

บริเวณวัดมีการรักษาความสะอาด ปราศจากขยะมูลฝอย มองดูสบายตา นำพาให้สบายใจ มีความปลอดภัย โดยมีการจัดเก็บเสร็จอาหารไปทำปุ๋ยชีวภาพ และทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืช โดยงดการเผาขยะเพื่อส่งเสริมการลดภาวะโลกร้อน

ด้านการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ วัดร่วมมือกับอาสาสมัคร สาธารณสุขและเทศบาลตำบล ในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อป้องกันไข้เลือดออก และกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของพาหะนำโรค

ร่วมมือกับฝ่ายจราจรทำป้ายบอกทางและติดตั้งกระจกตรงทางโค้งมุมวัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการสัญจรไปมา

ในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน มีจัดการมุมหนังสือพิมพ์เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั่วไป และมุมธรรมะสำหรับการฝึกฝนพัฒนาจิตใจ

การส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจมีการอบรม สัมมนา แหลกเปลี่ยนความรู้และแสดงธรรมเทศนาในเทศกาลต่างๆ เพื่อให้แนวทางในการเรียนรู้หลักธรรม ที่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันการส่งเสริมสุขภาพกายมีการจัดแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพและจัดให้มีที่สำหรับออกกำลังกายให้แก่เยาวชน ผู้สูงอายุ ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป

โดยส่งเสริมให้รู้และเข้าใจถึงหลักการบริโภคอย่างเหมาะสมและรู้คุณค่า ตามหลักพุทธธรรม คือการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงกิจกรรเด่นของชุมชน คือ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน การแต่งกาย และการผลิตหัตถกรรมพื้นบ้านเช่น การทอผ้ามีการสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญา ชาวไตลื้อ โดยมีการรวบรวมปราชญ์ด้านต่าง ๆ และมีการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

จัดงานสืบสานวัฒนธรรมไตลื้อ ในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี โดยมีการเดินขบวนเพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวไตลื้อ จาก ๗ จังหวัดภาคเหนือ และได้แสดงแบบจำลองสถาปัตยกรรมบ้านไตลื้อมีการจัดตั้งศูนย์สมาคมไตลื้อแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดเชียงใหม่ และมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ แสดง ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของชาวไตลื้อ วัดรังษีสุทธาวาส เป็นวัดที่มีสถานที่ร่มรื่น เย็นตา สบายใจ สำหรับผู้ที่ได้พบเห็นและสัมผัส เป็นวัดที่มีความสะอาดตามหลักสุขอนามัย เข้าออกสะดวกปลอดภัย อุ่นใจ สงบ สำหรับการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจงานสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพะศิลปหัตถกรรมของไตลื้อ และหัตถกรรมพื้นบ้าน

ทางวัดฯได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด ได้จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาไตลื้อให้กับประชาชนทั่วไป โดยมีอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ฟองไหล

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดรังษีสุทธาวาส (เมืองลวงใต้)
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 8 บ้านลวงใต้ ซอย - ถนน -
จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดรังษีสุทธาวาส (เมืองลวงใต้)
บุคคลอ้างอิง พระครูสุตธรรมวิจิตร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอดอยสะเก็ด อีเมล์ ap_vanid03@hotmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านเชิงดอย ซอย - ถนน -
จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50220
โทรศัพท์ 081-8741304 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่