ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 47' 52.4231"
12.7978953
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 9' 47.7785"
102.1632718
เลขที่ : 125083
เครื่องแต่งกาย เท่งตุ๊ก
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : จันทบุรี
0 1835
รายละเอียด

- เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายของละครชาตรีแต่โบราณไม่สวมเสื้อเพราะทุกตัวละครใช้ผู้ชายแสดงล้วนตัวยืนเครื่อง หรือตัวนายโรง ซึ่งเป็นตัวละครที่แต่งกายดีกว่าตัวอื่น คือจะนุ่งสนับเพลา นุ่งผ้าคาดเจียรบาด มีห้อยหน้า ห้อยข้าง สวมสังวาล ทับทรวง กรองคอ โดยไม่นิยมสวมเสื้อ บนศีรษะสวมเทริดเท่านั้น ในสมัยต่อมา มีผู้หญิง

แสดงร่วมด้วยถ้าไม่สวมเสื้อก็จะดูน่ารังเกียจ ดังนั้นการแต่งกายในสมัยต่อมาจึงสวมเสื้ออนุโลมอย่างละครนอก( มนตรี ตราโมท “การละเล่นของไทย” หน้า 5)

กระทรวงศึกษาธิการ “วรรณกรรมประกอบการเล่นละครชาตรี” ( หน้า 24 ) ได้กล่าวถึงการแต่งกายของละครชาตรีไว้ว่า ในสมัยก่อน ตัวละครที่เป็นกษัตริย์ (พระยา) มีการแต่งกายดังนี้ ผ้านุ่งใช้ผ้าเกี้ยวนุ่งแบบหางหงส์ มีเจียรบาดคาดทับ สวมสนับเพลาปัก เสื้อปักดิ้นแขนยาว มีตาบทิศ ทับทรวง สังวาล ปลายแขนมีทองกรทับ ที่ไหล่มีอินทรธนู สวมชฎาหรือมงกุฎ เสื้อและผ้านุ่งนิยมสีตัดกัน เช่นนุ่งผ้าสีเขียวมักสวมเสื้อสีแดง นุ่งผ้าสีม่วงสวมเสื้อสีเหลือง มีปั้นเหน่ง ชายไหว ชายแครง มีกำไลข้อเท้า รัดข้อเท้า

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ ตัวพระที่เป็นกษัตริย์ เสื้อเปลี่ยนเป็นแขนสั้น (ลดอินทรธนูที่ไหล่และทองกร) ปลายแขนเชิดคล้ายรูปอินทรธนู

ตัวนางที่เป็นกษัตริย์ (นางเอก) ในสมัยก่อนแต่งกายดังนี้ แต่งเหมือนละครนอกแต่ต่างกันที่ผ้านุ่งเป็นผ้าเกี้ยวจีบหน้านาง สวมเสื้อชั้นในแนบตัวสีแดง (ไม่นิยมสีอื่น) มีสไบปักด้วยดิ้นลวดลายสวยงาม ที่ชาย

สไบ ปักเป็นชายทิ้งชาย มีตาบทิศและทับทรวง ช้องนาง มีรัดเกล้ายอดแหลม สวมทองกรที่ข้อมือ สวมกำไลข้อเท้า

แต่ในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไป คือ เครื่องสวมศีรษะตัวนาง ซึ่งเรียกว่า “รัดเกล้ายอด” ใช้สำหรับนางกษัตริย์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมงกุฎกษัตรีย์ และรัดเกล้าเปลว (หรือใบสาเก) สำหรับตัวละครที่เป็นตัวรองลงมาเปลี่ยนเป็นกระบังหน้า คงจะเป็นเพราะตัวนางส่วนมากปัจจุบันนี้ไว้ผมยาวแล้วไม่ต้องใช้ช้อง

ตัวนางสนมหรือสาวใช้ ก็แต่งแบบตัวนาง แต่ไม่มีเครื่องสวมศีรษะ

ตัวยักษ์ แต่งแบบตัวนางแล้วใส่หัวยักษ์ไม่ปิดหน้า

ตัวตลก ส่วนมากใช้ผู้ชายแสดงนุ่งผ้าโจงกระเบน เสื้ออะไรก็ได้

ตัวเสนา สมัยก่อนนุ่งผ้าโจงกระเบน อาจเป็นผ้าปูม หรือผ้ามีลายที่ชาย สวมเสื้อคอปิดมีลายตามยาว

เหมือนตำรวจหลวง มีผ้าคาดเอว ไม่ปิดหน้า(กระทรวงศึกษาธิการ “วรรณกรรมประกอบการเล่นละครชาตรี” หน้า 25 )

เครื่องแต่งกายของละครชาตรีเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างมาจากละครชาตรี เพราะการแต่งกายในการแสดงละครเท่งตุ๊ก มีรูปแบบที่เรียกว่า “เข้าเครื่อง” หรือ “ยืนเครื่อง” มีลักษณะคล้ายกับละครชาตรีที่เล่นกันทั่วไปในประเทศไทย

เครื่องแต่งกายแต่เดิมนั้นใช้วัสดุที่หาได้ง่ายมาสวมใส่ อาทิ ผ้าถุงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เศษผ้าตัดทำเป็นสไบ สร้อยคอ เครื่องประดับต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจาก เส้นทางที่ใช้ในการเดินทางในอดีตไม่สะดวกเหมือนในปัจจุบันหากต้องเดินทางเข้าตัวเมืองจันทบุรีต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งวันกับหนึ่งคืนและถ้าต้องการเดินทางไปกรุงเทพมหานครต้องใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้นจึงมีผลทำให้เครื่องแต่งกายในอดีตมีลักษณะเรียบง่ายไม่วิจิตรงดงามเท่าไรนักต่อมาการคมนาคมสะดวกขึ้นจึงมีการพัฒนาเครื่องแต่งกายและวัสดุที่ใช้ประกอบการตัดเย็บจากกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เครื่องแต่งกายมีการพัฒนาสวยงามมากกว่าในอดีต ถึงอย่างไร

ก็มิได้พิถีพิถันในเรื่องการปักการเย็บมากนัก เนื่องจากต้นทุนค่าวัสดุค่อนข้างมีราคาสูงประกอบกับต้องการความสะดวกสบายในการสวมใส่

ในการแสดงละคร นักแสดงในบทบาทพระเอก – นางเอก ก็จะสวมใส่ชุดยืนเครื่อง ตัวตลกก็จะใส่โจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแบบเรียบง่าย

อาจจะเห็นได้ว่าการแสดงละครเท่งตุ๊กในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องแต่งกาย โดยมีลักษณะการแต่งกาย

ทั้งแบบยืนเครื่องและแบบประยุกต์สมัยใหม่ ซึ่งความหลากหลายที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมรอบข้างรวมทั้งสื่อต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องแต่งกาย

v อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการแสดงละครชาตรีเท่งตุ๊ก

1. อิทธิพลของการแสดงลิเก การแสดงลิเกนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเครื่องแต่งกาย ในอดีตชุมชนแถบนี้มีละครเท่งตุ๊กเป็นศิลปการแสดงที่ให้ความบันเทิงแก่ชุมชนอย่างเดียว

ต่อมาเมื่อมีการแสดงลิเกเข้ามาแสดงและได้รับความนิยมจากชุมชน ทำให้คณะละครเท่งตุ๊กมีรายได้ลดลง

จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการแสดง ตลอดจนเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายให้มีความสวยงามมากขึ้น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมให้กลับมาอีกครั้ง จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ซึมซับรูปแบบเครื่องแต่งกายของลิเกมาอย่างมาก โดยเริ่มมีการสวมถุงเท้า และการแต่งกายก็นิยมแต่งเหมือนกับการแสดงลิเก จนนับเป็น

ส่วนหนึ่งของละครเท่งตุ๊กไปแล้ว

2. อิทธิพลของตลาดเครื่องละครในกรุงเทพมหานคร จากเส้นทางการคมนาคมมีความเจริญมากขึ้นส่งผลให้คณะละครสามารถเดินทางไป – กลับระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีสะดวกขึ้น จึงทำให้หัวหน้าคณะละคร ได้มีโอกาสเห็นเครื่องแต่งกายหลากหลายชนิดก็มีความชื่นชอบและจดจำไปประดิษฐ์เป็นของตนเอง นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่ซื้อมาจากกรุงเทพฯ เช่น เครื่องประดับศีรษะ เข็มขัด หรือแม้กระทั่งแนวคิดในการออกแบบลายในการปักก็นำมาจากร้านขายเครื่องละครในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น

3. อิทธิพลที่ได้รับจากสื่อทางโทรทัศน์ เมื่อเทคโนโลยีมีความเจริญมากขึ้น ประชาชนสามารถมี

เครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกบ้าน คณะละครเท่งตุ๊กจึงมีโอกาสได้เห็นการแสดงโขน ละคร และการแสดงประเภทต่าง ๆ จากสื่อที่สามารถหาดูได้ เมื่อเห็นว่าเครื่องแต่งกายชนิดใดสวยงามก็จะนำมาเป็นตัวอย่างในการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายของตน เช่น การใช้ผ้าสีมาตัดเย็บเป็นเสื้อตัวพระและผ้าห่มนาง เป็นต้น

vประเภทและลักษณะเครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายของละครเท่งตุ๊ก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. เครื่องแต่งกายตัวพระ

2. เครื่องแต่งกายตัวนาง

3. เครื่องแต่งกายตัวเบ็ดเตล็ดอื่นๆ

สถานที่ตั้ง
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือ การแสดงละครชาตรีเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี
บุคคลอ้างอิง นางอภัสนันท์ จิรสินธัญญรัฐ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี อีเมล์ chanthaburi_culture@hotmail.co.th
ถนน เลียบเนิน
ตำบล วัดใหม่ อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000
โทรศัพท์ 039303298 ต่อ 14 โทรสาร 039303298 ต่อ 16
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่