ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 40' 31.9098"
16.6755305
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 29' 42.8075"
103.4952243
เลขที่ : 126232
วัดเวฬุวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เสนอโดย สุภา วันที่ 11 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : กาฬสินธุ์
1 871
รายละเอียด

วัดเวฬุวัน เดิมชื่อวัดแก้งคำ ตั้งอยู่บ้านแก้งกุดเชียงโสม ตำบลหนองบัว อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์(ปัจจุบันตำบลหนองบัวอยู่ในเขต อำเภอหนองกรุงศรี) ตั้งวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2442 อายุของวัดถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) จำนวน 108 ปี นับว่าเป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่มากวัดหนึ่ง ที่ดินตั้งวัดในอดีตมีเนื้อที่ ประมาณ 10 ไร่เป็นวัดที่ตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้านแก้งคำ เป็นแหล่งให้การศึกษาแก่ประชาชนตามคติโบราณคือ วัดเป็นสถานศึกษาของชุมชน นอกจากนั้นวัดยังเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญของชาวพุทธตามคติ ฮีต 12 ครอง 14 ทำให้วัดได้รับการยอมรับเคารพนับถือและเทิดทูนจากประชาชนอย่างมาก

ในการสร้างวัดในยุคแรกนั้น พระสงฆ์ที่เป็นผู้นำในการสร้างวัดได้แก่ พระอาจารย์ลุน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตอำเภอยางตลาด ทั้งนี้จากข้อมูลคำบอกเล่าของ นายพิมพ์ สมคำสี เมื่อ พ.ศ. 2535 นายพิมพ์ มีอายุ 94 ปี (เกิด พ.ศ. 2441) นายพิมพ์ ยืนยันว่าสมัยเป็นเด็กอายุ ประมาณ 3- 4 ปี บิดา มารดาเคยพาไปตักบาตรทำบุญที่วัดหลายครั้ง ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่าวัดบ้านแก้งคำได้ตั้งมานานแล้ว โดยนายพิมพ์ สมคำสี สันนิษฐานว่า ประมาณ พ.ศ. 2442 ในระหว่างนี้วัดบ้านแก้งคำไม่สังกัดคณะธรรมยุตหรือมหานิกาย แต่เมื่อปี พ.ศ. 2480 – 2482 ท่านพระครูประสิทธิสมณญาณ ได้มาจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้นำญาติโยมพัฒนาวัดให้มีเสนาสนะต่าง ๆ เหมาะสมขึ้น และเนื่องจากวัดนี้มีกอไผ่ขึ้นล้อมรอบตามรั้ววัดจำนวนมาก จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเวฬุวัน” สังกัดในคณะธรรมยุติกนิกาย ตั้งแต่นั้นมา สืบเนื่องจากวัดนี้มีการตั้งมานาน จึงมีพระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปกครองวัดในฐานะเจ้าอาวาส ทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย จำนวนประมาณ 17 รูป บางรูปปกครอง 2 ปี บางรูป 5 ปี และบางรูป 30 ปี

สถานที่ตั้งวัดปัจจุบัน

วัดเวฬุวัน ในปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 58 หมู่ที่ 2 บ้านตาดดงเค็ง (ผัง6) ตำบลนิคม อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46140

สาเหตุที่ย้ายวัดเวฬุวันมาตั้งใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจากที่วัดเดิมถูกน้ำท่วม เพราะมีโครงการก่อสร้างเขื่อนลำปาว ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2506 ดังนั้น นิคมสร้างตนเองลำปาว กรมประชาสงเคราะห์ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดสรรที่ให้แก่ประชาชนที่อพยพย้ายออกจากพื้นที่สร้างเขื่อน จึงได้จัดสรรที่ให้ตั้งวัด จำนวน 12 ไร่ตามหนังสือ กรมประชาสงเคราะห์ ที่ มท. 0711/04042 ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2511 โดยมีวัดและโรงเรียนที่ได้รับจัดสรรที่ดินพร้อมกัน จำนวน 5 วัด โรงเรียน 7 แห่ง รวมเป็น 12 แห่ง

อาณาเขตของวัด

ทิศตะวันออก กว้าง 2 เส้น 2 วา จรดถนนสาธารณประโยชน์ปัจจุบันถมคอนกรีตเข้าสู่บ้านคำประถม ผัง 10 ทิศตะวันตก กว้าง 3 เส้น 2 วา จรดที่ดินของนายจันทร์ แก้วสิมมา ทิศเหนือ ยาว 6 เส้น จรดถนนสาธารณประโยชน์ ปัจจุบันเป็นถนนคอนกรีตจากบ้านตาดดงเค็ง ผ่านหน้าวัด ไปสู่บ้านคำประถม ผัง 10 ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นถนนลูกรังผ่านหน้าวัดไปสู่บ้านศรีสมบูรณ์ ผัง 9 ทิศใต้ ยาว 6 เส้น จรดที่ดินทำกินของชาวบ้าน จำนวน 4 แปลงลักษณะรูปที่ดินเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ที่ดินตั้งวัดและธรณีสงฆ

-ที่ดินตั้งวัด จำนวน 12 ไร่( กรมประชาสงเคราะห์ )

-ที่ดินธรณีสงฆ์ที่มีเอกสารสิทธิ์ (โฉนดที่ดิน) จำนวน 7 แปลง เนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 23 ไร่3 งาน 30 ตารางวา

-ที่ดินธรณีสงฆ์ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน ประมาณ 9 ไร่( ที่ป่าช้า 4ไร่ , สวนไม้สัก ด้านหน้าเจดีย์ 5ไร่ )

รวมที่ดินทั้งหมด จำนวน 44 ไร่3 งาน 30 ตารางวา

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดเวฬุวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เลขที่ 58 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย บ้านตาดดงเ
อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดเวฬุวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
บุคคลอ้างอิง สุภาวดี มิสา อีเมล์ supa_misa@yahoo.co.th
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46000
โทรศัพท์ 0818747902
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 29 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:44
ดีมาก กราบนมัสการให้พระครูเจ้าของข้อมูลทราบและเข้าเยี่ยมชมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อไป
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่