ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 36' 10.5718"
14.6029366
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 4' 8.9278"
104.0691466
เลขที่ : 126923
ขนมเนียล
เสนอโดย ssk วันที่ 14 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 15 มีนาคม 2555
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 1304
รายละเอียด

ขนมเนียล เป็นขนมพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชนพื้นเมืองในแถบอีสานใต้ซึ่งเป็นชุมชนเผ่าเขมร การทำขนมเนียล ไม่ปรากฏชัดว่ามีการทำมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีความเชื่อว่าตนในสมัยโบราณจัดทำขึ้นเพื่อรับประทานเป็นอาหารว่างสำหรับครอบครัว เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการเกษตร อีกประการหนึ่ง ชาวไทยเขมรนิยมปลูกต้นมะพร้าวในชุมชนบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิต ประจำวันเช่นใช้บอ่อนมาห่อข้าวต้ม ใช้ใบแห้งมาทำเป็นฝาบ้านใช้กะทิในการประกอบอาหารคาว หวาน ใช้ยอดมะพร้าวเป็นอาหารลำต้นสร้างที่อยู่อาศัย กะลาใช้ทำเป็นของใช้เป็นต้น

คำว่าเนียล เป็นคำภาษาเขมร หมายถึง ภาชนะที่ใช้ตวงข้าวสารกรอกหม้อ เวลาหุงข้าวของชนเผ่าเขมรโบราณ ซึ่งได้นำภูมิปัญญามาใช้โดยนำกะลามะพร้าวมาผ่าครึ่งแล้วขัดให้เรียบ นำมาเป็นภาชนะสำหรับใช้ตวง โดยมากนิยมใช้ในการตวงข้าวสาร

สูตรต้นตำหรับ

1. แป้ง 2 ถ้วยตวง

2. น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง

3. น้ำตาลอ้อย 1 ถ้วยตวง

4. เนื้อมะพร้าวขูดฝอย 2 ถ้วยตวง

5. เกลือ ¼ ช้อนชา

วิธีทำ

1. หม้อนึ่งนำกะลามายึดติดกับปากหม้อโดยใช้แป้งข้าวเหนียวผสม กับน้ำให้เหนียวกับน้ำให้เหนียวนำไปอุดรูรอบปากหม้อ ที่เป็นรอยต่อให้เรียบร้อย เติมน้ำลงในหม้อแล้วตั้งไฟให้เดือด

2. ผสมแป้ง น้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย เกลือป่น คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำมะพร้าวขูดมาผสมคลุกเคล้าแล้วนำไปนึ่งในหม้อนึ่งที่เตรียมไว้

3. นำส่วนผสมในข้อ 1 มานึ่งในหม้อให้สุกโดยใช้ไอน้ำประมาณ 3-5 นาที แล้วตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ นำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้

สถานที่ตั้ง
บ้านละลม และหมู่บ้านอื่นๆเกือบทุกหมู่บ้าน
ตำบล ละลม อำเภอ ภูสิงห์ จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านละลม และหมู่บ้านอื่นๆ
บุคคลอ้างอิง นายบุญชู บุดดาห์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
ถนน เทพา
ตำบล เมืองเหนือ อำเภอ เมืองศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33000
โทรศัพท์ 045-692334 โทรสาร 045-617812
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่