ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 37' 54.2489"
18.6317358
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 48' 11.3746"
98.8031596
เลขที่ : 127710
อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น
เสนอโดย ANO วันที่ 19 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 19 มีนาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 2924
รายละเอียด

อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น

อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม ตำบลดอนเปาอำเภอ แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2482 ญี่ปุ่นได้ยกกองทัพเข้าสู่ประเทศไทยและขอผ่านประเทศไทย เข้าสู่ประเทศพม่า และอินเดีย ต่อมาปี พ.ศ. 2488 สงครามโลกยุติ กองทัพญี่ปุ่นประสบความพ่ายแพ้ต่อพันธมิตร อันมีอเมริกาเป็นผู้นำ ทหารญี่ปุ่นจากประเทศพม่าและอินเดียแตกทัพ ถอยร่นเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศตะวันตก ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน และทะลักเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ทางอำเภอแม่แจ่ม และแขวงเขตแม่วาง เพื่อจะไปขึ้นรถไฟแล้วลงเรือกลับประเทศญี่ปุ่น และพื้นที่ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วางในปัจจุบัน มีทหารญี่ปุ่นได้เข้าพักอาศัยอยู่ตามบ้าน วัด โรงเรียน และวัดร้าง ป่าช้า เต็มไปหมด การเข้าพักอาศัยเป็นไปด้วยมิตรภาพที่ดีกับคนท้องถิ่น ชาวไทยท้องถิ่นได้ให้ความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทหารญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ทหารญี่ปุ่นที่ประสบโชคร้าย ได้รับบาด เจ็บจากการเดินทาง เป็นไข้ป่าเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพื่อนทหารญี่ปุ่นได้ทำการกลบฝังให้มิดชิดเรียบร้อยตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นที่บริเวณวัดม่วงต่อ (วัดม่าน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ตรงข้ามโรงเรียนบ้านกาด เขมวังส์ ตำบลบ้านกาด และบ่อน้ำร้างวัดสันคะยอมในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ระยะห่างจากวัดประมาณ 30 เมตร

ปี พ.ศ. 2536 ได้มีคณะสงฆ์และคณะเจ้าหน้าที่จากประเทศญี่ปุ่น นำโดยคุณพ่อชิราเบ้ คังงะ ได้มาสำรวจค้นหาศพทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมกันนั้นได้มีหนังสือขออนุญาตสร้างอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบบ่อน้ำร้างวัดสันคะยอม ซึ่งได้สำรวจและพบว่ามีศพทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอยู่ในนั้นด้วย โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม โดยคณะ กรรมการโรงเรียน ได้พิจารณาอนุญาตให้จัดสร้างอนุสรณ์สถานได้ตามวัตถุประสงค์ และอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณรอบๆ รวม 3 ไร่เศษ เพื่อใช้เป็นสถานที่อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2537 ได้ดำเนินการก่อสร้างโดยใช้เงินมูลนิธิจากประเทศญี่ปุ่น ออกแบบก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น และนำช่างจากประเทศญี่ปุ่นมาทำการก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีพิธีเปิดอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น ในปีเดียวกันนี้ทางคณะกรรมการได้จัดตั้งมูลนิธิเอโตะไซดัน เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือการศึกษานักเรียนโรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม และนักเรียนทั่วๆ ไปในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัด ใกล้เคียง

ปี พ.ศ. 2541 มูลนิธิเอโตะ ไซดัน ได้จัดสร้างหอระฆังขึ้นอีก 1 หลัง เป็นแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น และได้นำระฆังใบใหญ่ซึ่งมีลายเซ็นพระจักรพรรดิญี่ปุ่น มาประดิษฐานบนหอระฆัง นอกนั้นทางคณะสงฆ์ และคณะกรรมการ ได้สำรวจศพและนำกระดูกทหารญี่ปุ่นที่ถูกฝังไว้ในที่ต่างๆ ทั้งในอำเภอ แม่วาง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบางส่วนจากประเทศพม่า มาบรรจุรวมกันไว้ในบ่อน้ำอนุสรณ์สถานแห่งนี้ นับพันศพ

ทุกๆ ปี จะมีคณะจากประเทศญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง เดินทางไปคารวะกราบไหว้บรรพชนทหารหาญของตนอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบัน อนุสรณ์ทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของอำเภอแม่วางและจังหวัดเชียงใหม่

สถานที่ตั้ง
อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 4 บ้านดอนเปา
จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่วาง
บุคคลอ้างอิง นายเรืองเนตร พลอยแดง อีเมล์ anothai_cmu@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 4 บ้านดอนเปา
ตำบล ดอนเปา อำเภอ แม่วาง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50360
โทรศัพท์ 053-489170 โทรสาร 053-489170
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่