เดิมอำเภอพิบูลมังสาหารเป็นอำเภอที่มีสถานที่ท่องเที่ยว คือแก่งสะพือ ใครมาที่นี่มักจะควบคู่ไปกับการหาซื้อของฝากกลับไปด้วย ในจำนวนบรรดาของฝากส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหาร นั่นคือ ซาลาเปา ซึ่งมีจำหน่ายเพียงที่เดียว คือ บริเวณริมสะพานข้ามแม่น้ำมูล ซึ่งประกอบอาชีพขายกาแฟ ควบคู่ไปด้วย จึงมีแนวคิดที่จะผลิต ซาลาเปา ขึ้น
ปลายปี2549มีการนำทีมโดย คุณ สุพัตรา ทับเคลียว ได้ประสานกับพัฒนาฝีมือแรงงานและความมั่นคงของมนุษย์ ตามโครงการพัฒนาอาชีพ โดยรวบรวมสมาชิก15คนและมีสมาชิกกลุ่มหมู่บ้านอื่น มาร่วมอบรมด้วย ที่เทศบาลอำเภอพิบูลมังสาหาร จำนวน30วัน หลังการอบรมสมาชิกก็ระดมทุนกัน คนละ1,200บาทเริ่มผลิตออกจำหน่ายในตอนแรก ต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ เป็นค่าวัสดุให้กลุ่มจาก พัฒนาแรงงาน ภาค7จำนวน87,366บาท สมาชิกมีความพร้อมมากขึ้น จึงผลิตที่บ้านประธานและจนขณะนี้กลุ่มโตมากขึ้นจึงแยกตัวมาเช่าบ้านเป็นที่ทำการกลุ่ม ใช้เป็นที่ ผลิต เก็บวัสดุ ตู้แช่ ที่จำหน่าย ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า ทั้งในตัวจังหวัดและต่างจังหวัด ตลอดจนมีผู้มาซื้อไปต่างประเทศไปขายที่ตลาดปากเซ โดยมีแม่ค้ามารับไปเอง
ปี2553เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์OTOPจึงได้นำผลิตภัณฑ์มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับการคัดสรรในระดับประเทศ3ดาว
การสืบทอดการทำซาาเปา แรงงานทั้งหมดมาจากคนในชุมชน ทำให้สมาชิกกลุ่ม ชุมชนเครือข่ายมีรายได้ ลดปัญหาการว่างงานของชุมชน สืบทอดสูตรในการทำมาแต่อดีต ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
จำหน่ายที่ร้านที่ทำการกลุ่มซาลาเปาภูเขาแก้ว เลขที่ 12/7 บ้านภูเขาแก้ว เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลบราชธานี