ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 42' 22"
16.7061111
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 4' 44"
103.0788889
เลขที่ : 128657
งานท้องถิ่นไทยกุ้มข้าวใหญ่เมืองกระนวน
เสนอโดย uraiwancom1 วันที่ 24 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 14 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 542
รายละเอียด

งานท้องถิ่นไทย กุ้มข้าวใหญ่ เมืองกระนวน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมาอำเภอกระนวน ได้กำหนดจัดงานนี้ขึ้นในวันที่ ๑๘ มีนาคม ของทุกปี โดยอำเภอกระนวน ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาวัฒนธรรมอำเภอกระนวน ได้ร่วมกันจัดโครงการงานท้องถิ่นไทย กุ้มข้าวใหญ่ เมืองกระนวน เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี กิจกรรมในงานจะจัดพิธีวันท้องถิ่นไทย งานบุญกุ้มข้าว พิธีสู่ขวัญข้าว และกิจกรรมทางวัฒนธรรม การแสดงหมอลำกลอน การจัดแสดงและจำหน่าย สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น การจำหน่ายสินค้า OTOP ของทุกตำบล การจัดกิจกรรมของหน่วยงานทางราชการ การแสดงการออกกำลังกายของชมรมผู้สูงอายุอำเภอกระนวน การรำบายศรีสู่ขวัญข้าวของผู้สูงอายุและคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอกระนวน

การกำหนดจัดงาน งานบุญคูนลานหรืองานบุญกุ้มข้าวปกติจะทำในเดือน ๓ ซึ่งจะอยู่ที่ปลายเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ของทุกปี อำเภอกระนวนได้กำหนดจัดในวันที่ ๑๘ มีนาคม ของทุกปี เป็นเพราะมติที่ประชุม มีความเห็นให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวบ้าน คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอกระนวน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่องานจะได้ยิ่งใหญ่ขึ้น ซึ่ง อปท.กำหนดจัดงานวันท้องถิ่นเป็นประจำทุกปี มีมีการบูรณาการร่วมกัน

ความโดดเด่นเป็นงานที่บ่งบอกถึงการสร้างความสามัคคีในชุมชน ตำบล หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ความมเชื่อต่อประเพณีพิธีกรรม

เป็นการทำบุญเพื่อรับขวัญข้าว เมื่อถึงเดือนยี่ หรือเดือนที่ 1 คือเดือนมกราคม ของทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะขนเอามัดรวงข้าวที่เกี่ยวเสร็จแล้ว นั้นไปกองรวมกันไว้ที่ลานเก็บข้าวด้วยมีความเชื่อว่าข้าวนั้นเป็นพืชเลี้ยง ชีวิตที่มีเทพารักษา เทพองค์นั้นมีนามว่า "แม่โพสพ" ซึ่งเป็นขวัญข้าวที่เลี้ยงมนุษย์มา การทำบุญมีพระสวดมนต์เย็น ฉันเช้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว และผูกข้อต่อแขนกันในหมู่ชาวบ้านผู้ร่วมพิธี
"แม่โพสพ"

มูลเหตุที่ทำ

เนื่องมาจากชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว จะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันไว้ที่ลานนวดข้าว แล้วนำมาวางกองเรียงกันให้สูงขึ้นเรียก คูณลาน ชาวนาที่ทำนาได้ผลเมือต้องการจะทำบุญบำเพ็ญกุศลให้ทาน ก็จะสัดขึ้นที่ลานเป็นสถานที่ทำบุญทำทาน โดยมีญาติพี่น้องมาทำบุญ
นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ปะพรมน้ำมนต์ ขึงด้ายสายสิญจน์ รอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้วถวายอาหาร บิณฑบาตร เสร์จแล้วจึงเลี้ยงคน เพราะถวายข้าวเป็นทานมีอานิสงฆ์มากจึงถือเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้

พิธีกรรม

ในการทำบุญคูณลาน จะต้องจัดเตรียมสถานที่ทำบุญที่ลานนวดข้าวของตน การนำข้าวที่นวดแล้วมากองขึ้นให้สูงเรียกว่า คูณลาน จากนั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ จัดน้ำอบ น้ำหอมไว้ประพรมขึงด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าวเมื่อพระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธ มนต์จบแล้วถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นนำข้าวปลาอาหาร มาเลี้ยงญาติพี่น้อง ผู้มาร่วมทำบุญ พระสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาในงาน เสร็จแล้วก็จะให้พรและกลับวัด เจ้าภาพก็จะนำน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่วัว ควาย ตลอดจนเครื่องมือในการทำนาเพื่อความเป็น
สิริมงคล ในปัจจุบันนี้ บุญคูณลานค่อยๆเลือนหายไป เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้สนใจประพฤติ ปฏิบัติกัน ประกอบกับในทุกวันนี้
ชาวนาไม่มีลานนวดข้าวเหมือนเก่าก่อน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ และมัดข้าวเป็นฟ่อนๆ แล้วจะขนมารวมกันไว้ ณ ที่ที่หนึ่งของนา โดยไม่มีลานนวดข้าว หลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวมาสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงใส่ในกระสอบ และในปัจจุบันยิ่งมีการใช้รถไถนา เครื่องสีข้าว เป็นส่วนมากจึงทำให้ประเพณีคูณลานนี้เลือนหายไป แต่ก็มีบางหมู่บ้านบางแห่งที่ยังรวมกันทำบุญโดยนำข้าวเปลือกมา กองรวมกัน เรียก "กุ้มข้าวใหญ่" ซึ่งจะเรียกว่าบุญกุ้มข้าวใหญ่ แทนการทำบุญคูณลาน ซึ่งนับว่าเป็นการประยุกต์ใช้ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ให้เหมาะกับกาลสมัย

สถานที่ตั้ง
สนามหน้าที่ว่าการอำเภอกระนวน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 บ้านหนองโก ถนน อภัย
อำเภอ กระนวน จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอกระนวน
บุคคลอ้างอิง นางอุไรวรรณ คำโฮง อีเมล์ uraiwankomhong@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอกระนวน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 บ้านหนองโก ถนน อภัย
อำเภอ กระนวน จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40170
โทรศัพท์ 043 251369,081874701 โทรสาร 043 251358
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่