ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 0' 34.8512"
14.0096809
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 59.4757"
100.5331877
เลขที่ : 128770
ประเพณีการกวนข้าวทิพย์
เสนอโดย ปทุมธานี วันที่ 25 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ปทุมธานี วันที่ 25 มีนาคม 2555
จังหวัด : ปทุมธานี
0 2049
รายละเอียด

ประเพณีของชาวจังหวัดปทุมธานี

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์

ชื่อ นายวีระวัฒน์ นามสกุล วงศ์ศุปไทย

ที่อยู่ ๕ หมู่ ๓ ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี๑๒๑๖๐

โทรศัพท์ ๐๘-๗๐๒๙-๒๘๖๔

การศึกษา จบชั้นปริญญาตรี จาก มศว.บางเขน เอกประวัติศาสตร์

อาชีพ รับราชการครู

๒. ชื่อประเพณี ประเพณีกวนข้าวทิพย์

๒.๑ ช่วงเวลาที่จัด ไม่มีเทศกาลที่แน่นอน

๒.๒ ประวัติความเป็นมา ผู้สูงอายุหลายท่านกล่าวว่าข้าวทิพย์ คือ ข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดาเตรียมไว้เพื่อจะนำไปบวงสรวงเทวดา ระหว่างทางได้พบเจ้าชายสิทธัตถะนั่งสงบนิ่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นทางดับทุกข์ทั้งปวง นางสุชาดาเห็นพระองค์มีรัศมีกายเปล่งปลั่ง จึงเกิดความเลื่อมใส และคิดว่าพระองค์เป็นเทวดา จึงถวายข้าวมธุปายาสแด่พระองค์ หลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสจนมีพระกำลังแข็งแรงดีขึ้น ก็ทรงทำความเพียรทางจิตต่อไปจนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี ส่วนนางสุชาดา เมื่อตายไปก็ได้เกิดบนสวรรค์ เพราะได้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าถ้าได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวาย พระสาวกของพระพุทธเจ้าก็จะได้บุญมากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

๒.๓ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง การกวนข้าวทิพย์ต้องมีโรงพิธีรั้วกั้นโดยรอบเปิดไว้เฉพาะทางเข้าและทางออก มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น พอรุ่งขึ้นหมอปรุงข้าวทิพย์นุ่งขาวห่มขาวแบบพราหมณ์จะหุงข้าวด้วยน้ำมะพร้าวเบิกบายศรี วงสายสิญจน์ทำพิธีครู พอข้าวสุก หมอจะให้สาวพรหมจารีสามคนนำข้าวไปใส่กระทะซึ่งมีสายสิญจน์ และยันต์แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่าฝ่ามือติดห้อยอยู่เหนือกระทะ ประมาณ ๒ เมตร บนเพดานยังมีผ้ายันต์ผืนใหญ่ปิดไว้ เมื่อใส่ข้าวลงกระทะก็จะเริ่มพิธีกวน โดยผู้ช่วยหมอเอาส่วนประกอบอื่นๆ ผสมลงในกระทะ ชาวบ้านที่ไปร่วมพิธีก็จะทยอยเข้าไปในโรงพิธี โดยมีข้อห้ามไม่ให้บุคคลเหล่านี้เข้าไปยังโรงพิธี คือ สตรีมีประจำเดือน คนที่เป็นโรคสังคมรังเกียจ และคนมึนเมาครองสติไม่ได้ ระหว่างที่กวนมีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน (เดี๋ยวนี้มีการรับกวนเป็นอาชีพ โดยคุณบุญส่ง โพธิ์สูงและลูกหลาน) เมื่อกวนจนได้ที่แล้ว โดยใช้เวลากวนประมาณหนึ่งวันเต็มจึงนำไปถวายพระสงฆ์ ก่อนจะนำที่เหลือแจกจ่ายชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนำไปเก็บไว้บูชาเป็นมิ่งขวัญ ต่อไป

๒.๔ คุณค่าของประเพณี พิธีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีที่ต้องใช้สถานที่กว้าง ใช้ทุน และกำลังคนจำนวนมากร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมเงินกันจึงจะเกิดความสำเร็จทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน

๒.๕ การสืบทอดประเพณี ปัจจุบันประเพณีการกวนข้าวทิพย์พอจะหาชมได้ตามวัดต่างๆ ทั้งวัดไทย และวัดไทยรามัญ เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จึงมีทั่วไปทุกวัด

๒.๖ สถานที่จัด ประเพณีกวนข้าวทิพย์ต้องใช้บริเวณกว้างในการทำพิธี จึงนิยมทำกันที่วัดมากกว่าทำที่บ้าน

๓. ภาพถ่าย

สถานที่ตั้ง
จังหวัดปทุมธานี
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง วีระวัฒน์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
เลขที่ 5 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล บางกระบือ จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12160
โทรศัพท์ 0-2593-4270 โทรสาร 0-2593-4406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่