วันเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้าเหนือ
สถานที่จัดงาน วัดพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ความเป็นมา และความเชื่อของการจัดงานประเพณี
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ เจ้าพระยาชัยชนะสงคราม (เจ้าพระยาคราว) กับภริยาคือเจ้าอู่ทองศรีพิมพา ได้สร้างวัดพระนอนขึ้น วัดนี้เดิมชื่อ “วัดม่วงคำ” เนื่องจากมีต้นมะม่วงคำแดงอยู่ต้นหนึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระนอน ซึ่งแต่เดิมวัดนี้มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระเจ้านอน) เป็นหินยาว ๖ ศอก ต่อมา จ้าวปู่ท้าวคำ ซึ่งเป็นปู่ของเจ้าพระยาชัยชนะสงคราม ให้สร้างพระนอนองค์ใหญ่ครอบพระนอนองค์
เดิมไว้ แล้วตกแต่งให้สวยงาม แต่ยังมิทันแล้วเสร็จดี ก็เกิดมีสงครามกับพม่า พม่าประเพณี ๑๒ เดือน 47ยกกองทัพมารุกรานเมืองโกศัย ชาวเมืองตื่นภัยก็พากันอพยพหลบหนีไปอยู่ตามป่าเขา เจ้าพระยาชัยชนะสงครามเห็นเหตุการณ์ดังนั้น จึงสั่งเจ้าพิมพาผู้ภริยาให้เร่งสร้าง
ต่อให้เสร็จ แล้วให้จัดทำบุญในวันรุ่งขึ้น เจ้าพระยาชัยชนะสงครามออกสู้รบกับข้าศึกและเสียชีวิตในที่รบ อนุชาของท่าน ชื่อท้าวยาสิทะ แสนหาญ ก็ออกสู้รบกับพม่าและหายสาบสูญไป เจ้าพิมพาจึงได้ลงมือสร้างวัดพระนอนจนแล้วเสร็จ และให้จารึกในแผ่นทองคำเป็นอักขระภาษาพื้นเมืองว่า “วัดพระนอนนี้ ให้มีงานนมัสการไหว้สาในเดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ” วัดพระนอนจึงได้มีประเพณีนมัสการในวันดังกล่าว
เป็นประจำทุกปีตั้งแต่นั้นมา โดยจัด ๓ วัน คือ ๑๓ –๑๔- ๑๕ ค่ำ เดือน ๙วิหารพระนอน อยู่ติดกับวิหารหลังใหญ่ เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นวิหารรูปยาวไปตามสัณฐานของพระพุทธไสยาสน์ ด้านหน้าพระวิหารนี้ มีพระธาตุ (เจดีย์) ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์
ขั้นตอน พิธีการของงานประเพณี
๑ . วันแรก มีการทำบุญตักบาตร ในช่วงเช้า และจัดมหรสพ จุดพลุยามค่ำคืน
๒ .วันที่สอง มีการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า ประชาชนเข้าถวายสักการะองค์พระเจ้านอน และจัดมหรสพ จุดพลุยามค่ำคืน
๓. วันที่สาม มีการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า กลางวัน ถวายจตุปัจจัยไทยทานพระสงฆ์ชั้นเจ้าอาวาส (หัววัด) และจัดมหรสพ จุดพลุยามค่ำคืน
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง
การทำบุญตักบาตร การสวดมนต์เย็น การถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์เจ้าอาวาส (หัววัด) การแสดงปาฐกถาธรรม การจุดบอกไฟดอกถวายเป็นพุทธบูชา