ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 16' 58.827"
18.2830075
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 28' 31.3104"
99.4753640
เลขที่ : 128996
พระวิหาร วัดศรีรองเมือง
เสนอโดย ลำปาง วันที่ 26 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ลำปาง วันที่ 2 กรกฎาคม 2564
จังหวัด : ลำปาง
0 2213
รายละเอียด

วิหารไม้ซึ่งมีหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย มียอดแหลม ๙ ยอด แบบศิลปะพม่า เพดานเป็นลายไม้แกะสลัก และเสากลมใหญ่จำหลักลวดลายประดับด้วยกระจกสี ฝีมือประณีต วิจิตรสวยงาม บ้านท่าคราวน้อย ตำบลสบตุ๋ย ในเขตเทศบาลเมืองด้านทิศตะวันตก เดิมชื่อ วัดท่าคะน้อยพม่า ด้านหลังวัดอยู่ติดกับแม่น้ำวัง เป็นวัดพม่าอีกวัดหนึ่งในจังหวัดลำปางที่มีความงดงามมาก ตามประวัติความเป็นมาของวัดศรีรองเมืองนั้นกล่าวกันว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ ๗ ปี โดยคหบดีชาวพม่าซึ่งมารับจ้างทำไม้จากฝรั่งชาติอังกฤษที่ได้รับสัมปทานทำไม้ในภาคเหนือ สมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการทำป่าไม้ เรื่องการสร้างวัดหรือศาสนสถานอันเป็นที่พึ่งทางจิตใจนี้ ชาวพม่าก็เช่นเดียวกับคนไทยที่สำนึกต่อธรรมชาติที่มีบุญคุณทุกอย่าง เมื่อตนมีอาชีพตัดไม้ โค่นต้นไม้ในป่า ย่อมต้องขอขมาต่อธรรมชาติโดยสร้างวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ พร้อมทั้งอธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่าปกป้องคุ้มครองตนเองมิให้มีภัย แต่เดิมภายในวัดนี้มีทั้งวิหารใหญ่และวิหารน้อย สำหรับวิหารน้อยนั้นมีอยู่ถึง ๙ หลังแต่ปัจจุบันวิหารน้อยเหล่านั้นปรักหักพังไปจนหมดสิ้น จึงเหลืออยู่เพียงวิหารใหญ่ซึ่งเป็นวิหารประธานของวัดเพียงหลังเดียว ปัจจุบันสถาปัตยกรรมที่สำคัญได้แก่ วิหารไม้สร้างด้วยไม้สัก ศิลปะพม่ามีหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย มียอดแหลม ๙ ยอด ฉลุลายบนสังกะสีใช้ประดับบนจั่วและเชิงชายเพิ่มความอ่อนช้อยสง่างามให้กับตัววิหาร ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่าแบบมัณฑเลย์ มีพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร หน้ากลม คิ้วโก่ง จมูกค่อนข้างสั้น พระประธานองค์ ใหญ่จะห่มจีวรเฉียง พระพุทธรูปองค์ริมทั้งสองข้างจะห่มจีวรคลุมไหล่ องค์ที่สองนับจากซ้ายประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้วเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะล้านนา เพดานวิหารประดับด้วยกรอบลายเป็นช่องๆเต็มเพดาน โดยปั้นเป็นเส้นรักและประดับด้วยกระจกสีลวดลายพันธุ์พฤกษา รูปสัตว์และรูปปั้นเทพารักษ์ นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีเสาไม้ตกแต่งด้วยการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้พันธุ์พฤกษาแล้วประดับด้วยกระจกหลากสี ฝีมือประณีตวิจิตรสวยงาม โดยเฉพาะเสาหน้าพระประธานจะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานร และสัตว์ป่าเหมือนในป่าหิมพานต์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๔

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดศรีรองเมือง
ตำบล สบตุ๋ย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
บุคคลอ้างอิง ศุขฐิ์เกษม ฝั้นคำอ้าย
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง อีเมล์ culture_lampang@hotmail.com
เลขที่ 409 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน พระเจ้าทันใจ
ตำบล ต้นธงชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000
โทรศัพท์ 0 5422 8763 โทรสาร 0 5482 4182
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lampang/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่