ศาลพระเจ้าพืราชดำห้วยน้ำริน เป็นสถานที่ที่ชาวตำบลแม่จริมและอำเภอแม่จริม รวมถึงอำเภอใกล้เคียงให้ความเคารพศรัทธาเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนนับถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจตลอดมา โดยมีประวัติดังนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2469 มีเจ้าพญาเมืองบ่อว้า ชื่อว่า พญาอินต๊ะ บุญเรือง( ธนูราช ) พร้อมกับท้าวสน ท้าวกันใจ ท้าวเกตุ ทั้วกันทะ ท้าวธนะ ได้มีแนวคิดร่วมกันในการแกะสลักพระพุทธรูปที่ต้นมะค่าต้นหนึ่งที่อยู่ระหว่างเมืองบ่อว้า ( อำเภอ แม่จริม ) กับเมืองพงษ์ ( อำเภอสันติสุข ) ซึ่งเมืองพงษ์ในขณะนั้น มีพญาขุนจร เป็นเจ้าเมืองต้นมะค่าต้นนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร วันแรกของการแกะสลักพระพุทธรูปนั้น เจ้าพญาทั้งสองได้ขึ้นขี่คอช้างสำรวจต้นมะค่า หาตำแหน่งเหมาะสมเพื่อเป็นที่ตั้งในการแกะสลักพระพุทธรูป โดยพญาขุนจรเจ้าเมืองพงษ์เป็นผู้ลงมือแกะสลักเป็นคนแรกและให้ท้าวทั้ง 5 ช่วยกันหาไม้มาทำทางขึ้น ด้านทิศเหนือ ห้วยน้ำรินทางทิศตะวันออกของถนน แล้วทำป้ายไม้เขียนเป็นภาษาเมืองล้านนาว่า เมืองบ่อว้า เมืองพงษ์ พระพุทธรูปไม้มะค่าองค์นี้เป็นฝีพระหัตของพญาขุนจรเจ้าเมืองพงษ์และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการจัดสร้างและแกะสลักพระพุทธรูปไม้มะค่านี้บริเวณห้วยน้ำริน จึงได้ให้ชื่อ พระพุทธรูปแกะสลักไม้มะค่าว่า พระเจ้าหัวยน้ำริน ( พระพิราชดำ ) ในปี พ.ศ. 2514ได้มีหน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ( ร.พ.ช. ) จัดสร้างถนนสายบ่อว้า (อำเภอแม่จริม ) เมืองพงษ์ ( อำเภอสันติสุข )ได้มีการโค่นล้มต้นมะค่าพร้อมพระพุทธรูปแกะสลักต้นมะค่าต้นนี้ลงโดยที่ชาวบ้านไม่ทราบ เมื่อชาวบ้านได้พบว่าต้นมะค่าถููกตัด และพระพุทรูปไม้มะค่าแกะสลักถูกทำลายจึงได้ริเริ่มจัดสร้างศาลาและได้นำพระพุทธรูปแกะสลักต้นมะค่ามาประดิษฐานไว้ ณ ศาลาแห่งนี้จึงเป็นที่ เรียกว่า ศาลพระเจ้าห้วยน้ำริน ( พระพิราชดำ ) เป็นที่สักการะของชาวอำเภอแม่จริม อำเภอสันติสุข ตลอดจนถึงผู้ที่สัญจรไปมา