แคปซูลหญ้าหนวดแมว ลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ละลายนิ่วสมุนไพรโรงพยาบาลอู่ทอง
1 กระปุกบรรจุ 100 แคปซูล 400 มิลลิกรัม
วิธีใช้ หญ้าหนวดแมว 2 แคปซูล ก่อนอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
โทร.086-8002102, 086-9783251 หรือ www.taladyai.com
ด้านการวิจัย
หญ้าหนวดแมวขับปัสาวะ แก้วนิ่ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon aristatus (Blume) Miiq.
ชื่อพ้อง Orthosiphon grandiflorus Bold.
ชื่ออื่นๆ พยับเมฆ อีตู่ดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ส่วนเหนือดิน
การออกฤทธิ์ (Action) รายงานการวิจัยของญี่ปุ่นพบว่าชาชงใบหญ้าหนวดแมวมีสารสำคัญ methylripariochromene A ในปริมาณ 2.3% ของน้ำหนักแห้ง เมื่อกรอกสาร methylripariochromene A พร้อมน้ำเกลือให้หนูขาวในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า 3 ชั่วโมงต่อมาปริมาตรปัสสาวะและการขับ Na+ , K+ และ ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น (แต่ในขนาด 25 และ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่มีฤทธิ์
ผลการวิจัยทางคลินิก เมื่อให้ผู้ป่วยที่มีนิ่วในท่อไตขนาดประมาณ 0.5 ซม. 23 คน ดื่มยาชงหญ้าหนวดแมวในขนาด 4 กรัม ในน้ำเดือด 750 มิลลิลิตรแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง นาน 2-6 เดือน พบว่า 9 คน (40%) นิ่วหลุดออกมาโดยส่วนมากนิ่วหลุดใน 3 เดือน 13 คน (60%) หายปวดแต่นิ่วไม่หลุด เมื่อให้ผู้ป่วยนิ่วในไตที่มีนิ่วอย่างน้อย 1 ก้อน ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มม. รับประทานยาชงหญ้าหนวดแมว 2.5 กรัมในน้ำเดือด 250 มิลลิลิตรวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนบ่วยติดต่อกันนาน 18 เดือน พบว่าอัตราการลดขนาดของนิ่วต่อปีเท่ากับ 28.6 + 16% ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกลุ่มที่ได้รับยาโซเดียมโปแตสเซียมซิเตรทที่มีอัตราการลดขนาดของนิ่วต่อปีเท่ากับ 33.8 + 23.6% โดยกลุ่มที่ตอบสนองต่อยาได้ไม่ดีคือกลุ่มที่มีแคลเซียมและกรดยูริกในปัสสาวะสูงนอกจากนี้ อาการอื่น ๆ ที่พบในผู้ป่วยเหล่านี้ได้แก่ อาการปวดหลัง ปวดข้อ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดศรีษะ ก็บรรเทาลงในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ข้อบ่งใช้ ขับปัสสาวะ ขับนิ่วขนาดเล็กและลดขนาดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ข้อห้ามใช้ ยังไม่มีข้อมูล
คำเตือนและข้อควรระวัง เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีโปแตสเซียมสูงต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ
อาการไม่พึงประสงค์ ไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการวิจัยทางคลินิก
ขนาดและวิธีใช้ โรงพยาบาลอู่ทอง ชาชงครั้งละ 1 ซอง (2 กรัม) ชงในน้ำร้อนวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร แคปซูลครั้งละ 2-3 แคปซูล (460-490 มิลลิกรัม) วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร 10-15 วัน แล้วพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ