ประวัติความเป็นมา
ตำบลโรงช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตร(น่านเก่า) แต่เดิมเป็นสถานที่ตั้งกองช้าง กองม้าของเมืองพิจิตรเก่า และต่อมาชาวบ้านเรียกเพี้ยนไป จึงเรียกเป็นโรงช้าง ตำบลโรงช้าง ปัจจุบันมี ๗ หมู่บ้าน
สภาพทั่วไปของตำบล ตำบลโรงช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองพิจิตร มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองพิจิตรประมาณ ๗ กม. มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๕๐ ตารางกิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มไม่มีภูเขา เหมาะแก่การเกษตร โดยเฉพาะการทำนา อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติและการชลประทาน
อาชีพของตำบล อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป
สถานที่สำคัญของตำบล ได้แก่ วัดโรงช้าง, ศาลหลักเมืองพิจิตร, อุทยานเมืองเก่า (สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร), ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ,สถานีพัฒนาที่ดินพิจิตร, ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพิจิตร, ค่ายลูกเสือจังหวัดพิจิตร
กลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัย ได้แก่ ไทยพื้นถิ่น
เหตุการณ์ สำคัญในอดีต ในอดีตพระยาโคตรตะบองมาตั้งเมืองสระหลวง หรือเมืองพิจิตรเก่า สถานที่แห่งนี้เรียกว่า“กองช้าง” เพราะเป็นที่พักของกองช้าง บริเวณพื้นที่นี้มี โรงช้าง โรงม้าหลวง จึงเรียกชื่อกันต่อมาว่าบ้านโรงช้าง
หน่วยงานสำคัญในพื้นที่ 1.วัดโรงช้าง 2. อุทยานเมืองเก่า (สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร) 3. ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร 4. สถานีพัฒนาที่ดินพิจิตร 5. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพิจิตร 6. ค่ายลูกเสือจังหวัดพิจิตร 7. อบต.โรงช้าง