ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 31' 23.9999"
19.5233333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 18' 6.0001"
100.3016667
เลขที่ : 129962
ชาวไทลื้อ บ้านธาตุสบแวน
เสนอโดย Or Chiangkham วันที่ 3 เมษายน 2555
อนุมัติโดย พะเยา วันที่ 11 เมษายน 2555
จังหวัด : พะเยา
1 1805
รายละเอียด

ในปี พ.ศ.2331พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้มีรับสั่งให้เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ไปตีเมืองเชียงตุง และได้เข้าไปกวาดต้อนชาวไทยใหญ่จากรัฐฉาน ประเทศพม่ากับ ชาวไทลื้อ จากแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน อันประกอบด้วยเมืองพง เมืองมาง เมืองหย่วน เมืองแมน เมืองล้า และเมืองอู แต่ละเมืองก็มีเจ้าผู้ครองนครปกครองอยู่ บรรดาผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาให้ไปอยู่เมืองเชียงม่วน (อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) โดยมีเจ้าผู้ครองนครที่ทรงพระนามว่าพญาคำและ พญาธนะรวมอยู่ด้วย และมีความเห็นว่า อันเมืองเชียงม่วนนี้ จะทำอาชีพใดหรือการเกษตรก็ไม่ค่อยที่จะได้ผลดีนัก จึงขออนุญาตเจ้าเมืองน่านอพยพผู้คนเข้ามาอยู่เมืองเชียงคำ (อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านมาง” โดยได้เอาชื่อเมืองมางที่เคยอยู่ในอดีตมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน พญาทั้งสองได้นำชาวไทยลื้อทั้งหลายมาตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัย พร้อมกับประกอบอาชีพตามที่ถนัด และได้พากันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่ง โดยตั้งชื่อวัดว่า “วัดมาง”

ต่อมาปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีรับสั่งให้เจ้าอนันตวรฤทธิ์เดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านไปตีเมืองสิบสองปันมา เมืองเชียงรุ้งอีก ปรากฏว่าพอถึงเจ้าเมืองเชียงรุ้งยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และยังพบชาวไทลื้อกลุ่มหนึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนฮ่อ ซึ่งปกครองด้วยระบบทารุณโหดร้าย จึงได้ทรงช่วยเหลือไทลื้อเหล่านั้นให้พ้นจากอิทธิพลอันเลวร้าย โดยการกวาดต้อนเข้ามาอยู่ที่บ้านหงาว อำเภอเทิง จังหวัดน่าน (อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน)

ครั้นถึง พ.ศ. 2413 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สืบราชสมบัติแห่งนครน่าน ได้มีเจ้าเมืองสิบสองปันนา ชื่อ “พญาโพธิราช” พาชาวไทลื้ออพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอยู่ในเมืองเทิงซึ่งบรรดาชาวไทลื้อต่างเรียกเจ้าเมืององค์นี้ว่า “พญานายฮ้อย”

ฝ่ายพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ทรงวิตกและเกรงว่าชาวไทลื้อเหล่านี้ อาจพากันอพยพกลับไปอยู่ที่เดิมอีก จึงได้อพยพไปอยู่ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดน่าน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2416 แต่พื้นที่ของเมืองเชียงม่วนไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวไทลื้อจึงเข้าไปขออนุญาตย้ายที่อยู่อาศัยใหม่จากเจ้าเมืองน่าน พระองค์ได้โปรดให้หัวหน้าไทลื้อออกไปสำรวจหาสถานที่ตามแหล่งต่าง ๆ ในที่สุดก็ไปพบที่ราบกว้างใหญ่ พื้นดินอุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำยวน แม่น้ำแวน แม่น้ำลาวไหลผ่าน เป็นที่อยู่อาศัยของไทลื้อสืบไป จึงกลับไปถวายรายงานและ ก็ได้รับอนุญาต แล้วพากันอพยพเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งใหม่ นั่นก็คือท้องที่อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน โดยมีหมู่บ้านหย่วน บ้านมาง บ้านแมน บ้านล้า บ้านหนองลื้อ ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำลาว บ้านทุ่งมอก บ้านเชียงบาน บ้านปางวัว บ้านเชียงคาน บ้านแพด บ้านน้ำแวน อยู่บริเวณแม่น้ำแวน และบ้านแดนเมือง อยู่บริเวณแม่น้ำยวน

ต่อมา ปี พ.ศ. 2447 พวกไทลื้อได้พากันตั้งหมู่บ้านขึ้นอีกแห่งหนึ่งชื่อ “บ้านธาตุสบแวน” ซึ่งแยกมาจากหมู่บ้านหย่วนพร้อมกับได้พากันแยกย้ายหรือขยายหมู่บ้านออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมือง เชียงคำอีกเป็นจำนวนหลายหมู่บ้าน ชาวไทลื้อได้พากันตั้งหมู่บ้านเป็นหลักแหล่งมาจนทุกวันนี้

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
บ้านธาตุสบแวน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านธาตุสบแวน
ตำบล หย่วน อำเภอ เชียงคำ จังหวัด พะเยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สมาคมไทลื้อจังหวัดพะเยา
บุคคลอ้างอิง นายประพล ประวัง
ชื่อที่ทำงาน สมาคมไทลื้อจังหวัดพะเยา
ตำบล หย่วน อำเภอ เชียงคำ จังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56110
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่