ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 0' 12.2087"
14.0033913
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 39' 52.9564"
100.6647101
เลขที่ : 130434
บัวรัตอุบล
เสนอโดย ลาดหลุมแก้ว วันที่ 8 เมษายน 2555
อนุมัติโดย ปทุมธานี วันที่ 8 เมษายน 2555
จังหวัด : ปทุมธานี
1 286
รายละเอียด

บัวรัตอุบล

บัวรัตอุบลเป็นอีกชนิดหนึ่งของบัวสาย หรืออุบลชาติ ฝรั่งเรียกว่า water lilyเป็นบัวอีกชนิดที่รู้จักกันแพร่หลาย มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Nymphaea อยู่ในวงศ์ Nymphaeaceaeชื่อนี้บ่งบอกความเป็นไม้น้ำได้อย่างดี เพราะคำว่า nymphหมายถึงนางไม้ซึ่งสิงสถิตอยู่ตามแม่น้ำ ต้นไม้ หรือภูเขาในเทพปกรณัมของกรีก บัวชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในเขตภูมิอากาศร้อน คนไทยเรียกบัวสายเพราะใช้ “สายบัว”หรือก้านดอกมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู บัวสายมีหลายพันธุ์ซึ่งมีลักษณะและสีสันต่างกันไป ล้วนมีชื่อเรียกไพเราะเพราะพริ้งในภาษากวีของไทย แตกต่างกันไป

บัวรัตอุบล มีดอกสีแดงขนาดเล็กกว่าสัตตบรรณ และสัตบุต กลิ่นหอมแรง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphaea pubescens Willd.

ชื่อวงศ์: Nymphaeaceae

ชื่อสามัญ: Red indian water lily

ชื่อพื้นเมือง: บัวสายขาว บัวสายแดง บัวสายสีชมพู รัตอุบล เศวตอุบล สัตตบรรณ เศวตอุบล

ลักษณะทั่วไป:

ต้น ไม้โผล่เหนือน้ำ อายุหลายปี จัดอยู่ในกลุ่มอุบลชาติ ลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้าสั้นๆ อยู่ใต้ดิน คล้ายหัวเผือก

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 25-30 เซนติเมตร ฐานใบหยักเว้าลึก ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยใหญ่ หูใบเปิด ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมันใบอ่อนสีแดงเลือดหมู ใบแก่มีสีเขียว ผิวใบด้านล่างถ้าเป็นใบอ่อนสีม่วง ใบแก่มีสีน้ำตาลมีขนนุ่มๆ เส้นใบใหญ่นูน ก้านใบสีน้ำตาล ยาวเท่าระดับน้ำที่ส่งแผ่นใบขึ้นมาลอยเรียงเป็นวงที่ผิวน้ำ

ดอก สีม่วงแดง ชมพู ชาว ออกเป็นดอกเดี่ยวจากเหง้า ก้านดอกสีน้ำตาลอวบกลมส่งดอกขึ้นลอยที่ผิวน้ำ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ดอกรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น เกสรเพศผู้สีเหลืองหรือสีตามกลีบดอกจำนวนมาก ลักษณะเป็นแผ่นแบน มีอับเรณูเป็นร่องขนานตามความยาว รังไข่ขนาดใหญ่ติดกับชั้นของกลีบดอก เกสรเพศเมียติดกับรังไข่ด้านบนตามแนวรัศมี ก้านดอกสีน้ำตาล ดอกบานช่วงใกล้ค่ำถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้น ดอกบานเต็มที่กว้าง 15-20 เซนติเมตรมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีชองดอกคือ

ดอกสีขาว เรียก โกมุท กมุท กุมุท เศวตอุบล

ดอกสีชมพู เรียก ลินจง

ดอกสีม่วงแดง เรียก สัตตบรรณ รัตตอุบล

ฝัก/ผล ผลสดค่อนข้างกลม เรียก “โตนด” มีเนื้อ

เมล็ด เมล็ดทรงกลมจำนวนมาก

ฤดูกาลออกดอก: ตลอดปี

การปลูก: เป็นไม้น้ำที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในโอ่งมังกร หรือในบ่อน้ำ วิธีปลูกทำได้โดยผสมดินและปุ๋ยคอกใส่ลงในกระถาง นำบัวลงมาปลูกในกระถาง ใช้ดินเหนียวหรือดินท้องนากลบทับเพื่อป้องกันดินและปุ๋ยคอกลอยขึ้นมา หลังจากนั้นก็นำไปวางในโอ่งปากกว้างใส่น้ำให้เต็ม ในกรณีที่ปลูกในบ่อ/บึงหรือในท้องนา ต้องนำหน่อที่แยกออกมาปักดำลงไปในดิน

การดูแลรักษา: เป็นพืชที่ชอบแดด การใส่ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์นำไปฝังบริเวณใกล้ราก โดยใส่ปุ๋ยประมาณ 2 ช้อนชาต่อเดือน

การขยายพันธุ์: เมล็ด หน่อ

การใช้ประโยชน์:

- ไม้ประดับ

- บริโภค

- สมุนไพร

- เครื่องสำอางค์ประทินกลิ่น

ส่วนที่ใช้บริโภค: ก้านดอก(สายบัว) รับประทานได้

คำสำคัญ
บัวรัตอุบล
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ตำบล บางปรอก จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 02-5934270 โทรสาร 02-5934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่