มัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและห์
เดิมในสมัยของรัชการที่ 1 ได้ปรากฏว่า มีหัวเมืองภาคไต้ได้ตั่งตัวเป็นอิสระ
แข็งเมืองไม่อยู่ในการปรกครองของทางราชการที่ 1 จึงได้สั่งกองทัพไปปราบปราม จนได้หัวเมืองเหล่านั้นกลับคืนมาได้ พร้อมกันนั้นได้มีพลเมืองอพยพติดตามกองทัพไทยมาสู่พระนคร เมื่อราษฎรนั้นได้มาแล้วก็ได้รับพระมหากรุณาไห้ได้มาอยู่ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด ตำบลท่าอิฐ จ.นนทบุรี ที่ปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และเขตท้องที่อื่นๆ อาทิ มีนบุรี หนองจอง เป็นต้น
เมื่อได้พำนักอยู่สถานที่ดังกล่าวแล้ว จึงได้มีการแยกย้ายกระจัดกระจายไปจับจองที่ทำมาหากินกันใหม่ ผู้ที่อยู่ในตำบลท่าอิฐ ก็ย้ายไปสู่คลองละหาร คลองลำรี คลองลากค้อน คลองพระพิมล คลองอ่างแตก ในเขตพื้นที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (คลองอ่างแตกปัจจุบันทางราชการเรียกว่า คลองพระพิมลสอง แต่ชาวบ้านทั่งไปเรียกกันว่าคลองขุดใหม่)
การที่แยกย้ายกันออกไป ทุกคนก็เสาะแสวงหาทำเลที่ทำมาหากิน บางคนจึงได้มาเห็นว่าสถานที่ตั่งมัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและห์ในปัจจุบันนี้ เป็นสถานที่ค่อนข้างจะอุดมสมบูรณ์ มีคลองเล็กๆ ซึ่งเป็นทางน้ำชาวบ้านเรียกว่าลำกระโดง เชื่อมติดต่อกันโดยไม่ขาดระยะ จึงมีน้ำขึ้นน้ำลงแทบจะตลอดทั้งปี เวลาหน้าแล้งบางที่น้ำจะแห้ง ก็ใช้เป็นการสัญจรไปมาหาสู่กันได้ นอกจากนี้ยังมีบ่อและบึงภายในนั้นเต็มไปด้วยปลานานาชนิด กล่าวกันว่าเมื่อจะแกงปลาแล้วให้ตำน้ำพริกคอยไว้ได้เลย เพียงแต่เอาสวิงหรือลงไปงมก็ได้ปลามาทำอาหารกิน
ที่ดินในสมัยนั้นเป็นลักษณะคล้ายป่าโปร่ง ประกอบไปด้วยต้นกระทุ่ม พงแขม พงอ้อ ต้นตาวางและต้นปรง คลาคล่ำไปด้วยฝูงนกนานาชนิด ในฤดูวางไข่ผู้คนมักจะออกไปเอาไข่นกซึ่งมีจำนวนมากตามในป่า นำมาทำเป็นอาหารบ้า และมาทำเป็นขนมบัวลอย ในยามเช้าและยามเย็นก็จะระเบ็งเซ็งแซ่ไปด้วยเสียงนกและเสียงสัตว์นานาชนิด ในยามเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวก็จะคอยระมัดระวังฝูงนกฝูงสัตว์ที่จะพากันมากินและเหยียบย่ำทำลาย นอกจานั้นยังถูกลุกรานจากโขลงช้างฝูงอีกด้วย และนอกจากนี้ยังมีต้นกระทุ่มต้นใหญ่เล็กขึ้นกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณนาเขตกว้างขวาง และเมื่อถึงฤดูน้ำลากก็จะมีเนินดินน้ำไม่ท่วม จะเป็นที่อาศัยของพวกจิ่งหรีดส่งเสียงร้องในเวลาค่ำคืนและยามอรุณเซ่งแซ่ไปหมดจึงได้มีผู้ขนานนามว่า กระทุ่มมืดและจิ่งหรีด ติดปากชาวบ้านมาถึงทุกวันนี้
ดังได้เรียนแล้วว่าผู้ที่ได้แยกย้ายกันมานั้น ได้มาจากสถานที่ต่างกัน จากสายทางปากลัด อ.พระประแดง ได้แก่ แชก๊ะ โต๊ะบูงอ แซซัง แชนุฮ์ แชเซ็ง แชเป้า แชลีแชกา บุคคลเหล่านี้เป็นพี่น้องกัน ซึ่งเป็นต้นตระกูล “นิมา”จากสายท่าอิฐได้แก่ แชแขวง โต๊ะนา โต๊ะกีโซ๊ะฮ์ อันเป็นต้นตระกูล “งามเทวี” และได้ขยายวนเวียนออกไปสู่ตระกูล “เย็นประเสริฐ” เป็นต้น
เมื่อมาอยู่รวมกันแล้ว ปรากฏว่ามีบุคคลเพิ่มขึ้นจึงสามารถที่จะร่วมกันทำละหมาดวันศุกร์ได้ ดังนั้นแชวังจึงได้รวบรวมกันสร้างมัสยิดขึ้นในที่ดินของแชวังเอง ซึ่งได้ทำวากัฟให้กับมัสยิด และได้ตั่งชื่อว่า “มัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและห์” คั้งแรกที่สร้างนั้นอยู่ในเขตท้งที่หมู่ที่ 8 ตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (ตำบลราษฎร์นิยมกับตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีคลองพระอุดมสองเป็นเขตกั้นระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับปทุมธานี) แชวังได้รับหน้าที่เป็นอิหม่าม ต่อมาแชวังได้เสียชีวิตทายาทได้รับมรดก ครั้งนั้นการวากัฟที่ดินให้กับมัสยิดได้กระทำเพียงวาจา มีผู้รับรู้บ้างแต่ไม่ได้ทำการโอนโฉนดให้กับมัสยิด ดังนั้นเมื่อแชวังเสียชีวิตแล้ว ทายาทผู้รับมรดกจึงได้นำที่ดินไปจำนอง ในที่สุดก็ขาดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น ที่ดินของมัสยิดก็ตกเป็นของผู้อื่นไปด้วย
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว แชเก๊ะ และโต๊ะบูงอ สามีภรรยาจึงได้วากัฟที่ดินให้กับมัสยิด โดยแยกบริจาคเป็นสัดส่วนของตนเอง โดยแชเก๊ะบริจาคจำนวน 5ไร่ โต๊ะบูงอ บริจาคจำนวน5ไร่ และให้ทายาทรับรู้และแบ่งโฉนดทันที เพื่อความสมบูรณ์ของที่วากัฟนั้น โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ในท้องที่ หมู่ที่3ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มัสยิดจึงถูกย้ายข้ามฝั่งมาปลูกในสถานที่ดังกล่าว การปลูกในครั้งนี้ได้พิจารณาถึงความสะดวกในการเดินทางมามัสยิด และการที่จะต้องการอาศัยน้ำอาบน้ำละหมาด มัสยิดจึงปลูกสร้างใกล้กับคลอง หรือลำกระโดง เพื่อจะอาศัยเรือในการเดินทาง และใช้น้ำในลำกระโดงอาบน้ำละหมาดได้ตลอดทั้งปี
ต่อมาทางราชการได้ทำการขุดลำกระโดง ให้เป็นคลองส่งน้ำในระบบชลประทาน จึงทำให้ลำกระโดงกว้างใหญ่ออกไป จำเป็นต้องรื้อและย้ายถอยหลังมัสยิดให้ห่างคลองออกไปอีก การก่อสร้างในครั้งนั้นจึงใช้ไม้เก่าเป็นส่วนมาก สภาพมัสยิดจึงชำรุดทรุดโทรมลงมาตามลำดับ เนื่องจากไม้หมดสภาพนั้นเอง
ดังนั้น คณะกรรมการมัสยิดและปวงสัปบุรุษจึงได้ลงมติให้ทำการก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ จึงมีการย้ายสถานที่ก่อสร้างร้นถอยหลังมาเล็กน้อย เพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์ในอนาคต เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น กว้าง 14 เมตร ยาว 24 เมตร
เมื่อทางราชการได้ทำการก่อสร้างถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ทางมัสยิดมี ความปรารภนาที่จะทำถนนเชื่อมติดกับถนนใหญ่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกมัสยิด ครูดิน นิมา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ จำเป็นผู้ริเริ่มและวางโครงการโดยทำการติดต่อกับเจ้าของที่ดินและทางราชการ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก ฮัจยีอิสมาแอล ฮัจยะห์ย๊ะ เกิดอยู่ ฮัจยะแจ่ม มะเลง ได้ยกที่ดินในส่วนที่ถนนตัดผ่านให้กับทางราชการเพื่อทำถนนเชื่อมกับที่ดินของมัสยิด ถนนกว่าง 8 เมตร ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร และทางราชการได้ดำเนินการทำถนนเทลูกรัง
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2546 ทางราชการได้ทำการก่อสร้างถนนใหม่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จนถึงปัจจุบันมัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ปัจจุบันมัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและห์มีฮัจยีอับดุลเลาะ นิมา ดำรงค์ตำแหน่งอิหม่ามประจำมัสยิด และมีจำนวนสัปบุรุษประมาณ 700-800คน