ลัวะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอบ่อเกลือ ประมาณร้อยละ ๗๖ มีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีการละเล่นพื้นบ้านที่สำคัญ คือ การตีพิ การละเล่นการตีพิของชาวลัวะได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาแต่โบราณ โดยจะตีพิเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวจากไร่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นเฉลิมฉลอง หรือเมื่อมีงานรื่นเริง สนุกสนาน
ลวะ เป็นกลุ่มชนซึ่งนักภาษาศาสตร์ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มมอญข-เขมร ซึ่งในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ คมาล, มัล หรือมาล (Mal) และคลำไปร๊ต์, ไบ้, ปรัย (Prai, Pray) บางครั้งจะใช้คังกล่าวคู่กับชื่อที่ใช้เรียกตนเอง เช่น ลัวะมัล ลัวะปรัย ชาวลัวะทั้ง ๒ กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันนเล็กน้อยในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายมีลักษณะเหมือนกัน
ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
ชาวลัวะมักตั้งบ้านที่ราบเชิงเขา โดยมักเลือกตั้งหมู่บ้านไม่ห่างแหล่งน้ำใช้มากนัก ส่วนมากอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก กระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ ในหมู่ญาติร่วมตระกูลเดียวกัน
ลักษณะบ้านของชาวลัวะเป็นบ้านยกพื้นสูง เรือนครัวและเล้าข้าวอยู่แยกจากตัวเรือน โดยมีชานบ้านเชื่อมต่อกัน เดิมนิยมมุงหลังคาด้วยหญ้าคา โดยทำเป็นชายคายื่นจากตัวบ้านคลุมบริเวณชานบ้าน ชายคาด้านที่ลาดลงจะมีครกกระเดื่องตั้งอยู่ ใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เก็บฟืนและสิ่งของต่างๆ
ประเพณีที่สำคัญของชาวลัวะ ได่แก่ ประเพณีงานศพ ชาวลัวะมีความเชื่อในเรื่องผีไร่ หรือเจ้าที่เจ้าทาง การที่จะไปทำไร่ทำสวนที่ใดที่หนึ่งก็ต้องมีการเลี้ยงผี เครื่องดนตรีที่สำคัญได้แก่ พิ