ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 25' 28.4146"
13.4245596
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 25.4077"
99.9570577
เลขที่ : 132576
นายสุเทพ นิ่มอนงค์
เสนอโดย สมุทรสงคราม วันที่ 26 เมษายน 2555
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 28 เมษายน 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 936
รายละเอียด

ปัจจุบันอายุ 72 ปี เกิดเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่อัมพวา บิดาชื่อเฉื่อย มารดาชื่อเงิน เริ่มเรียนปี่พาทย์เมื่ออายุ 12 ขวบกับครูถึก แก้วละเอียด หัดฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการ เพลงโหมโรง จนอายุได้ราว 16 ปี ครูอุทัย บุตรชายของครูถึกซึ่งเคยเดินทางไปเรียนระนาดเอกกับคุณครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กลับคืนมายังบ้านเกิด ครูสุเทพจึงได้หันมาเรียนรู้ดนตรีอย่างจริงจัง โดยเลือกเล่นฆ้องวงเล็กเพราะเป็นคนมือคล่อง น้ำหนักมือดี มีความทรงจำที่ดีและสามารถแตกทางเองได้อย่างทะลุปรุโปร่งเป็นที่ถูกใจครูอุทัย ได้เรียนทั้งเพลงเถาและเพลงเดี่ยวฆ้องวงเล็ก

นักดนตรีคนอื่นๆ ที่อยู่ในรุ่นเดียวกันกับครูสุเทพ ได้แก่ ครูจเร-ครูบันเทิง รอดภัย
(คนปี่พาทย์จากกาญจนบุรี) ระนาดเอก, ครูสมัคร แก้วละเอียด ฆ้องวงใหญ่ (น้องชาย ภายหลังเข้าไปวงเทศบาลกรงเทพมหานคร ถึงแก่กรรมช่วงงานประชันวงหน้าพระที่นั่ง สังกัดวงบางกะปิ), ครูดวงจันทร์ นักดนตรี เป่าปี่, ครูชุบ นิลวงศ์ เปิงมางคอก, ครูสถิต ณ บางช้าง, ครูไกร โปร่งน้ำใจ (คนปี่ บุตรครูอุ๋ย โปร่งน้ำใจ ระนาดกับนางน้อม ครูละครจากท่าเรือพระนครศรีอยุธยา ครูไกรเป็นน้องชายครูยรรยง โปร่งน้ำใจ คนเครื่องหนังวงพาทย์โกศล ครูไกรเคยมาอยู่อัมพวาระยะหนึ่ง มีลูกชื่อจงกล เป็นคนละครชาตรีมีฝีมือ ภายหลังย้ายไปอยู่หลานหลวงและตั้งคณะจงกลนาฏศิลป์รับงานแก้บนละครชาตรีถวายพระพรหมเอราวัณ) เป็นต้น

ครูอุทัยได้ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับมาจากคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะฯ ให้กับนักดนตรีลูกวงครูถึกอย่างไม่ปิดบัง ทำให้วงปี่พาทย์บ้านแก้วละเอียดในเวลานั้นถือเป็นกลุ่มนักดนตรีที่มีคุณภาพสูงสุดวงหนึ่งในลุ่มน้ำแม่กลอง มีชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ไทยบรรเลง”

ครั้งหนึ่ง คุณครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ เคยเดินทางมาร่วมงานบวชครูอุทัยที่อัมพวา ครูสุเทพเคยไปกราบขอเป็นลูกศิษย์ ซึ่งท่านครูก็กรุณารับเป็นศิษย์แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าไปเรียนด้วยเพราะภายหลังท่านครูป่วยและถึงแก่กรรมไปก่อน

ครูสุเทพทำหน้าที่เป็นนักดนตรีในวงไทยบรรเลงมาจนกลายเป็นรุ่นผู้ใหญ่ ได้รับมอบหมายจากครูถึกให้ทำหน้าที่ควบคุมวงและคอยรับงาน เพราะทั้งครูอุทัย ครูสมัครและครูสมานน้องชายเข้าไปทำงานในเมืองกรุงกันหมด อยู่ไปๆ ก็เกิดความเบื่อหน่ายกับวงการดนตรีอัมพวา ประกอบกับการงานซบเซา จึงหันไปทำประมง ลอยเรือยู่ในทะเลอ่าวไทยถึง 20 ปี เรียกว่าเลิกจับฆ้องระนาดไปเลย แต่ยังคงความทรงจำเรื่องเพลงการแม่นยำ

เมื่อเสียงดนตรีภายในใจเรียกร้องจนทนไม่ไหว ภายหลังตัดสินใจกลับคืนมาเป็นคนปี่พาทย์อัมพวาอีกครั้ง และได้มีโอกาสรับเชิญไปเป็นครูปี่พาทย์ที่โพธาราม ร่วมงานกับพระครูพิทักษ์ศิลปาคม (นุชิต ลิ้นทอง) เจ้าอาวาสวัดขนอน ต.สร้อยฟ้า โพธาราม ฝึกเด็กๆ ในชุมชนสร้อยฟ้าให้หัดปี่พาทย์อย่างจริงจัง สามารถบรรเลงเพลงประกอบการแสดงหนังใหญ่ได้อย่างชำนาญ อันเป็นเพลงที่ใช้ในกระบวนหนังใหญ่ที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งหลวงปู่กล่อม อดีตเจ้าอาวาสสมัยรัชการที่ 5 และเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้หนังใหญ่วัดขนอนได้รับรางวัลยูเนสโก เมื่อ พ.ศ. 2549 ในฐานะชุมชนอนุรักษ์วัฒธรรมดีเด่นของโลก

ปัจจุบัน ครูสเทพ นิ่มอนงค์ พำนักอยู่ที่วัดขนอน ยังคงทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้เด็กๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่า ได้เติบโตด้วยความรู้ที่สืบทอดวัฒนธรรมปี่พาทย์ลุ่มน้ำแม่กลอง สอนทั้งด้านศิลปะดนตรี จริยธรรม เป็นตัวอย่างของครูดนตรีชาวบ้านที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง สมถะ และตั้งใจจะเป็นครูวัดขนอนไปเรื่อยๆ จนวาระสุดท้ายตายจากกัน

หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
พักอยู่ที่วัดขนอน (จังหวัดราชบุรี)
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล อัมพวา อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
บุคคลอ้างอิง นางสาวพรทิพย์ ไชยา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภออัมพวา อีเมล์ smk_culture@hotmail.co.th
ตำบล แม่กลอง อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034718-138 โทรสาร 034718-138
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่