พระธิเบศร์วงศา
พระธิเบศร์วงศา (กอ) เป็นบุตรของพระยากล้า (หาญดอนเลา) บุตรของพระยาคำพิทูรย์ (เจ้าฟ้าคำแดง) เจ้าเมืองน้อยอ้อยหนู (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนามใกล้เมืองเดียนเบียนฟู) ได้อพยพติดตามบิดาลงมาทางใต้ในปี พ.ศ.๒๓๓๔เข้าสวามิภักดิ์กับเจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทร์มีนามว่า "พระยากล้า" พระยากล้า (หาญดอกเลา) เป็นคนฉลาดมีความสามารถปกครองชาวผู้ไท หรือภูไทจนมีความสงบสุขเรื่อยมา โดยมีพระธิเบศร์วงศา (กอ) เป็นบุตรคนโตของภรรยาคนแรก (ซึ่งเป็นชาวผู้ไท) ต่อมาพระยากล้าถึงแก่กรรมลงเกิดมีการแย่งชิงอำนาจกันขึ้น พระธิเบศก์วงศาได้พาสมัครพรรคพวกหนีลงมาทำกินอยู่บนเทือกเขาภูพานในอาณาบริเวณทิศเหนือตั้งแต่บ้านสร้างค้อ ทิศตะวันออกตั้งแต่บ้านนาหลัก บ้านติ้ว บ้านกุดฝั่งแดงจนถึงภูผาซาน ต่อมาพระยาธิเบศร์วงศา พร้อมด้วยท้าวด้วง ท้าวต้อ ได้ปรึกษาหารือกันว่าพื้นที่บนหลังเขาไม่เหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานจึงได้นำสมัครพรรคพวกเคลื่อนตัวลงมาทางที่ลุ่มและได้พบกับลำน้ำใหญ่ (ลำน้ำยัง) และลำห้วยอีกหลายสายเห็นว่าพื้นที่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน และแหล่งน้ำที่พบยังมีใบเสมาแกะสลักลาย จึงถือเอกานิมิตหมายนั้นตั้งแต่เป็นชื่อบ้านว่า "กุดสิมนารายณ์" ในจุลศักราช ๑๒๘๗ (พ.ศ.๒๓๘๘) ปีมะเส็ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะบ้านกุดสิมนารายณ์ขึ้นเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ และตั้งพระธิเบศร์วงศาเป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์เป็นคนแรกท้าวด้วงเป็น อุปฮาด ท้าวต้อเป็นราชวงศ์และท้าวเนตรเป็นราชบุตร มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จดเมืองสกลนคร ทิศใต้ จดเมืองยโสธรและเมืองร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก จดเมืองมุกดาหาร ทิศตะวันตก จดเมืองกาฬสินธุ์
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ชาวอำเภอเขาวง ได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างอนุสาวรีย์พระธิเบศร์วงศา เพื่อให้บุตรหลานและเยาวชนรุ่นหลังได้สักการะดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ จึงได้กำหนดให้วันที่ ๒๓ เดือนมีนาคม ของทุกปีเป็นวันบวงสรวงดวงวิญญาณพระธิเบศร์วงศา อันเป็นพิธีสำคัญซึ่งยึดถือปฏิบัติตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวผู้ไทได้กำหนดไว้จวบจนปัจจุบัน
ผลงาน
พระ ธิเบศร์วงศา (กอ) เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนแรก ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย (ภูไท) จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการสนองแผ่นดินด้วยความซื่อ สัตย์สุจริต มีความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างดีมิได้บกพร่องต่อหน้าที่ประการใด ตลอดระยะเวลาที่ปกครองเมืองกุดสิมนารายณ์ รวม ๑๗ ปี