ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
“บางขะแยง” เป็นชื่อตำบลหนึ่ง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัด
ปทุมธานี ชื่อ บางขะแยง เพี้ยนมาจาก “บางแขยง” หมายถึง พื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำขัง และบริเวณนี้มีปลาชนิดหนึ่งชุกชุมมากเรียกว่า “ปลาแขยง” ปลาชนิดนี้ไม่มีเกล็ด หางมี ๒ แฉก มีเงี้ยงยาวแหลมคม มีหนวดยาว ๒ คู่ คล้ายกับปลากด แต่ลำตัวเล็กกว่า ส่วนหัวใหญ่และลำตัวเรียว ปลาแขยงมี ๒ ชนิด คือ ปลาแขยงใบข้าว มีลำตัวโต ยาวประมาณ ๕ นิ้ว ด้านหลังสีน้ำตาลอ่อน ข้างตัวและท้องสีขาว อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ปลาแขยงลาย ตัวเล็กและสั้นกว่าปลาแขยงใบข้าว สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีทางสีดำยาวไปตามลำตัว ปลาแขยงเอามาแกงเผ็ดฉู่ฉี่รับประทานอร่อยดีมาก
ตำบลบางขะแยง เมื่อครั้งโบราณเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ เป็นย่านแลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะ
การแลกเปลี่ยนสินค้าจะใช้วัว ควาย แลกสินค้ากับพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขาย ปัจจุบันยังมีซากกระดูกวัวควายใต้พื้นดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดตลาดเหนือเป็นจำนวนมาก (จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดตลาดเหนือ พระครูปลัด สาธิต ปิยวณฺโณ) ตำบลบางขะแยงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตำบลบ้านใหม่และคลองรังสิตประยูรศักดิ์ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำบลบางขะแยงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีสะพานช้างข้ามสำหรับให้ทัพช้างของพระเจ้ากรุงธนบุรีเดินข้ามไปปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และไปตั้งกองทัพช้างและกองทัพม้าที่ใกล้กับหัวเกาะใหญ่ราชคราม ที่เรียกว่า โคกช้าง ซึ่งจากการสันนิษฐานของเจ้าอาวาสวัดตลาดเหนือเชื่อว่า บริเวณที่เป็นโคกช้างในสมัยโบราณคือบริเวณที่เป็นวิหารหลวงพ่อสำเภาทองในปัจจุบัน และโคกม้า ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งของเจดีย่อไม้สิบสอง ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดตลาดเหนือและมีลักษณะเป็นโคกให้เห็นจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่รับสินค้าจากกองเกวียนที่นำมาจากนครนายก ปราจีนบุรี และนครราชสีมา สระบุรี ล่องลงมาพักที่วัดเทียนถวาย มาแต่โบราณ โดยผ่านคลองบ้านใหม่ ซึ่งเดิมเรียกว่า “คลองพราน” เขตติดต่อกับ หนองปลาสิบ ที่อยู่หลังวัดเทียนถวายออกไปทางทิศตะวันออก
ปัจจุบันตำบลบางแขยงเป็นตำบลใหญ่ มีประชาชนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีโรงงาน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายโรงงาน เป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งของอำเภอ
ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
“บางขะแยง” เป็นชื่อตำบลหนึ่ง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัด
ปทุมธานี ชื่อ บางขะแยง เพี้ยนมาจาก “บางแขยง” หมายถึง พื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำขัง และบริเวณนี้มีปลาชนิดหนึ่งชุกชุมมากเรียกว่า “ปลาแขยง” ปลาชนิดนี้ไม่มีเกล็ด หางมี ๒ แฉก มีเงี้ยงยาวแหลมคม มีหนวดยาว ๒ คู่ คล้ายกับปลากด แต่ลำตัวเล็กกว่า ส่วนหัวใหญ่และลำตัวเรียว ปลาแขยงมี ๒ ชนิด คือ ปลาแขยงใบข้าว มีลำตัวโต ยาวประมาณ ๕ นิ้ว ด้านหลังสีน้ำตาลอ่อน ข้างตัวและท้องสีขาว อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ปลาแขยงลาย ตัวเล็กและสั้นกว่าปลาแขยงใบข้าว สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีทางสีดำยาวไปตามลำตัว ปลาแขยงเอามาแกงเผ็ดฉู่ฉี่รับประทานอร่อยดีมาก
ตำบลบางขะแยง เมื่อครั้งโบราณเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ เป็นย่านแลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะ
การแลกเปลี่ยนสินค้าจะใช้วัว ควาย แลกสินค้ากับพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขาย ปัจจุบันยังมีซากกระดูกวัวควายใต้พื้นดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดตลาดเหนือเป็นจำนวนมาก (จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดตลาดเหนือ พระครูปลัด สาธิต ปิยวณฺโณ) ตำบลบางขะแยงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตำบลบ้านใหม่และคลองรังสิตประยูรศักดิ์ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำบลบางขะแยงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีสะพานช้างข้ามสำหรับให้ทัพช้างของพระเจ้ากรุงธนบุรีเดินข้ามไปปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และไปตั้งกองทัพช้างและกองทัพม้าที่ใกล้กับหัวเกาะใหญ่ราชคราม ที่เรียกว่า โคกช้าง ซึ่งจากการสันนิษฐานของเจ้าอาวาสวัดตลาดเหนือเชื่อว่า บริเวณที่เป็นโคกช้างในสมัยโบราณคือบริเวณที่เป็นวิหารหลวงพ่อสำเภาทองในปัจจุบัน และโคกม้า ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งของเจดีย่อไม้สิบสอง ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดตลาดเหนือและมีลักษณะเป็นโคกให้เห็นจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่รับสินค้าจากกองเกวียนที่นำมาจากนครนายก ปราจีนบุรี และนครราชสีมา สระบุรี ล่องลงมาพักที่วัดเทียนถวาย มาแต่โบราณ โดยผ่านคลองบ้านใหม่ ซึ่งเดิมเรียกว่า “คลองพราน” เขตติดต่อกับ หนองปลาสิบ ที่อยู่หลังวัดเทียนถวายออกไปทางทิศตะวันออก
ปัจจุบันตำบลบางแขยงเป็นตำบลใหญ่ มีประชาชนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีโรงงาน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายโรงงาน เป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งของอำเภอ
ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
“บางขะแยง” เป็นชื่อตำบลหนึ่ง อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัด
ปทุมธานี ชื่อ บางขะแยง เพี้ยนมาจาก “บางแขยง” หมายถึง พื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำขัง และบริเวณนี้มีปลาชนิดหนึ่งชุกชุมมากเรียกว่า “ปลาแขยง” ปลาชนิดนี้ไม่มีเกล็ด หางมี ๒ แฉก มีเงี้ยงยาวแหลมคม มีหนวดยาว ๒ คู่ คล้ายกับปลากด แต่ลำตัวเล็กกว่า ส่วนหัวใหญ่และลำตัวเรียว ปลาแขยงมี ๒ ชนิด คือ ปลาแขยงใบข้าว มีลำตัวโต ยาวประมาณ ๕ นิ้ว ด้านหลังสีน้ำตาลอ่อน ข้างตัวและท้องสีขาว อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ปลาแขยงลาย ตัวเล็กและสั้นกว่าปลาแขยงใบข้าว สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีทางสีดำยาวไปตามลำตัว ปลาแขยงเอามาแกงเผ็ดฉู่ฉี่รับประทานอร่อยดีมาก
ตำบลบางขะแยง เมื่อครั้งโบราณเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ เป็นย่านแลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะ
การแลกเปลี่ยนสินค้าจะใช้วัว ควาย แลกสินค้ากับพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขาย ปัจจุบันยังมีซากกระดูกวัวควายใต้พื้นดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดตลาดเหนือเป็นจำนวนมาก (จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดตลาดเหนือ พระครูปลัด สาธิต ปิยวณฺโณ) ตำบลบางขะแยงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตำบลบ้านใหม่และคลองรังสิตประยูรศักดิ์ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำบลบางขะแยงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีสะพานช้างข้ามสำหรับให้ทัพช้างของพระเจ้ากรุงธนบุรีเดินข้ามไปปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และไปตั้งกองทัพช้างและกองทัพม้าที่ใกล้กับหัวเกาะใหญ่ราชคราม ที่เรียกว่า โคกช้าง ซึ่งจากการสันนิษฐานของเจ้าอาวาสวัดตลาดเหนือเชื่อว่า บริเวณที่เป็นโคกช้างในสมัยโบราณคือบริเวณที่เป็นวิหารหลวงพ่อสำเภาทองในปัจจุบัน และโคกม้า ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งของเจดีย่อไม้สิบสอง ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดตลาดเหนือและมีลักษณะเป็นโคกให้เห็นจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่รับสินค้าจากกองเกวียนที่นำมาจากนครนายก ปราจีนบุรี และนครราชสีมา สระบุรี ล่องลงมาพักที่วัดเทียนถวาย มาแต่โบราณ โดยผ่านคลองบ้านใหม่ ซึ่งเดิมเรียกว่า “คลองพราน” เขตติดต่อกับ หนองปลาสิบ ที่อยู่หลังวัดเทียนถวายออกไปทางทิศตะวันออก
ปัจจุบันตำบลบางแขยงเป็นตำบลใหญ่ มีประชาชนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายโรงงาน เป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งของอำเภอเมืองปทุมธานี