ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 0' 22.8978"
14.0063605
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 42' 35.6548"
101.7099041
เลขที่ : 135548
บายศรีสู่ขวัญ
เสนอโดย ทาสรักผู้ภักดี วันที่ 17 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย ปราจีนบุรี วันที่ 17 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : ปราจีนบุรี
0 376
รายละเอียด

ความสำคัญ
การสู่ขวัญนั้นถือเป็นการบำบัดทาง จิตใจอย่างหนึ่ง โดยที่การสู่ขวัญนั้นทำให้ผู้ที่ได้รับการสู่ขวัญนั้นเกิดความมั่นใจมายิ่ง ขึ้น จะเห็นได้จากการรักษาโรคของแพทย์นั้นจะต้องใช้วิธีการจิตบำบัดควบคู่ไปกับ การรักษาทางวิทยาศาสตร์ การสู่ขวัญนี้ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน เช่น หากผู้ที่เข้าพิธีสู่ขวัญมีอาการไม่สบายอยู่ก่อนแล้วแต่เมื่อได้รับการสู่ ขวัญแล้วบุคคลนั้นก็จะเกิดความมั่นใจว่าตนเองต้องหาย เมื่อมีความมั่นใจว่าต้องหายป่วยอาการต่าง ๆ ที่เคยเป็นก็ค่อยทุเลาลงเนื่องมาจากจิตใจเป็นตัวกำหนดนั่นเอง


พิธีกรรม
การสู่ขวัญจะประกอบพิธีทั้งทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นด้วยการ นิมนต์พระสงอย่างน้อย 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระ เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาพุทธแล้วจึงจะทำพิธีสู่ขวัญ การจัดพาขวัญ จะทำเป็นบายศรีหรือใบศรี 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น ขึ้นอยู่กับโอกาส และควมาเหมาะสม บายศรีชั้นล่างจะบรรจุดอกไม้ บายศรีชั้น 5 จะบรรจุฝ้ายผูกแขน เวียนเทียนรอบหัว เวียนเทียนรอบตัว นอกจากจัดพาขวัญแล้วจะต้องนำผ้าแพร หวี กระจก น้ำอบน้ำหอม สร้อยแหวน ของผู้ที่เป็นเจ้าของขวัญใส่พานอีกใบหนึ่งวางไว้ข้าง ๆ พาขวัญ การสวด ผู้เป็นเจ้าของขวัญต้องจับพาขวัญด้วยมือขวา ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เป็นไปตามคำสู่ขวัญ ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมวงอยู่ด้านหลังตั้งจิตอธิษฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุข ความเจริญ พราหมณ์หรือหมอขวัญจะเริ่มทำพิธีด้วยการจุดธูปและเวียนรอบตัว กราบพระรัตนไตยมือจับสายสิญจน์ขึ้นประนมแล้วกล่าวคำสูตรขวัญเป็นการเชิญขวัญ การเชิญขวัญนี้จะต้องสวดสูตรขวัญด้วยทำนองที่ไพเราะเร้าใจให้ขวัญมาสู่ตน เมื่อสู่ขวัญเสร็จแล้วพราหมณ์จะผูกแขนให้เจ้าของขวัญเป็นคนแรก ต่อจากนั้นญาติพี่น้องจะช่วยกันผูกแขนด้วยฝ้ายผูกแขน ถือว่าเป็นการผู้ขวัญให้อยู่กับตนในขณะที่ผู้กข้อมือก็จะให้พรแก่เจ้าของ ขวัญด้วย


สาระ
"ขวัญ" ตามความหมายที่ใช้กันหมายถึง ผมที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอยบนศรีษะ นอกจากนี้ยังกินความรวมไปถึง วิญญาณหรือสิ่งที่ไม่มีตัวตนประจำกายคนและสัตว์มาตั้งแต่แรกเกิด ชาวอีสานนิยมเรียกสิ่งที่ตนรักว่า "ขวัญ" เช่น เมียขวัญ เสาขวัญ นาขวัญ ข้าวขวัญ และเรียกผู้ที่รู้พิธีทำขวัญว่า "หมอขวัญ" หรือพราหมณ์ พิธีเรียกขวัญให้มาอยู่กับตนเรียกว่า "สู่ขวัญ" เรียกว่า "สูตรขวัญ" เหตุที่ทำการสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตทั้งในยามประสบโชคและประสบ เคราะห์ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วยก็ทำพิธีสู่ขวัญ ย้ายที่อยู่ ไปค้าขายได้เงินทองมามากก็สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ ประกอบการงานเสร็จเป็นผลสำเร็จ ได้ลาภ ยศ เกียรติ เสื่อมลาภ ยศ เกียรติก็จะทำพิธีสู่ขวัญ

สถานที่ตั้ง
บ้านนายพยนต์ แสงหิรัญ
เลขที่ 133 หมู่ที่/หมู่บ้าน 16 บ้านหนองดุม
ตำบล นนทรี อำเภอ กบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สนง.วัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี
บุคคลอ้างอิง นายพยนต์ แสงหิรัญ
เลขที่ 133 หมู่ที่/หมู่บ้าน 16 บ้านหนองดุม
ตำบล นนทรี อำเภอ กบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี รหัสไปรษณีย์ 25110
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่