ประวัติความเป็นมา หลวงพ่อสุโข เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามได้สัดส่วน ค้นพบที่วัดร้างในป่าบ้านเสือโฮก ตำบลโพธิ์ประทับช้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1840 ชาวอำเภอบึงนาราง ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานใน อุโบสถวัดบึงนาราง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร โดยเรียกนามว่า “หลวงพ่อสุโข” เนื่องจากสันนิฐานว่าเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งคำว่า “สุโข” หมายถึงความสุข จึงพากันเรียกสืบมา และพร้อมใจกันจัดงานสมโภชขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นวันลอยกระทง
ปัจจุบันได้ลงรักปิดทองหลวงพ่อสุโขใหม่ และนำไปประดิษฐานภายในกุฏิรับรองพระพิศาลศิษยานุสรณ์ (ชั้นบน) เพราะเกรงว่าจะสูญหาย เนื่องจากเคยสูญหายมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
ความสำคัญ หลวงพ่อสุโข เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดพิจิตร และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอำเภอบึงนาราง ที่ประชาชนให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างสูง
ลักษณะของสิ่งของ (รูปทรง ตำหนิ ขนาด) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ หล่อด้วยโลหะสำริด หน้าตักกว้าง 1 ศอก 13 นิ้ว สูง 1 ศอก 22 นิ้ว มีตำหนิเป็นรอยปะทีข้อศอกขวา
สภาพเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีอาชีพด้านเกษตรกรรม มีการพัฒนามาสู่การผลิตสินค้า บริการจำหน่าย และค้าขาย สังคมมีขนาดครอบครัวที่เล็กลง
สถาปัตยกรรม (ยุคสมัย)...สัญนิษฐานว่าเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย
การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน จัดงานสมโภชเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นวันลอยกระทง ซึ่งเป็นงานประเพณีที่สำคัญของอำเภอบึงนาราง
ผู้ครอบครอง/หน่วยงานผู้ดูแล พระครูพิศาลจริยคุณ เจ้าอาวาสวัดบึงนาราง เจ้าคณะอำเภอโพทะเล