หนังสือความเชื่อเรื่องผี : ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวอีสาน
ความเชื่อเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เป็นบ่อเกิดแห่งพฤติกรรมเป็นที่มาของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม เป็นที่รวมแห่งมรดกด้านภูมิปัญญา และเป็นตัวแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นชี้นำวิถีชีวิตของบุคคลและสังคม สังคมอีสานมีความเชื่อเรื่องผี ซึ่งจากความเชื่อนี้จะมองเห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณที่พยายามสะสมอุบาย และแนวทางปฏิบัติที่เห็นว่าดี เหมาะสมกับสภาพสังคมไว้ให้ลูกหลานได้ทำตาม ความเชื่ออาจมีเพิ่มมีลดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพและกาลสมัย หากความเชื่อตรงกันก็เกิดสันติสุข
หนังสือความเชื่อเรื่องผี ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวอีสาน เป็นหนังสือที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิตของคนอีสานอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งสามารถสะท้อนภาพให้ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจวิถีชีวิตของคนอีสานได้ดีขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 ลัทธิความเชื่อ
ตอนที่ 2 ความเชื่อของสังคมอีสาน เช่น ความเชื่อเรื่องผีแถน ผีปู่ตา ผีปอป และผีพราย ฯลฯ
ตอนที่ 3 หมอลำผีฟ้ากับพิธีกรรมรักษาผู้ป่วย
ตอนที่ 4 ประเพณีและพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อ เช่น พิธีเสี่ยงทาย นางด้ง พิธีแห่นางแมวขอฝน การเสียเคราะห์ และการสู่ขวัญ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้บอกเล่าถึงฮีตสิบสิง ประเพณีอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญเป็นหนังสือที่รวมแห่งมรดกภูมิปัญญา และแสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีสาน เป็นกุศโลบายชี้นำวิถีชีวิตด้านความเชื่อของคนอีสานสู่ความสันติสุขร่วมกัน
ผู้ประพันธ์ :นายประมวล พิมพ์เสน
แหล่งผลิต :แหล่งเรียนรู้และจัดจำหน่ายหนังสือเล่มนี้ คือ ศูนย์การถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น หรือสามารถสั่งซื้อได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น