ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 24' 59.2592"
6.4164609
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 17' 0.9852"
101.2836070
เลขที่ : 136099
การแนแง(การฝากครรภ์โบราณ)
เสนอโดย ยะลา วันที่ 22 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 13 ธันวาคม 2564
จังหวัด : ยะลา
1 1335
รายละเอียด

พิธีแนแงหรือ พิธีการฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณ เป็นพิธีกรรมที่จัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นการดูแลครรภ์ของสาวที่ท้องแรก เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมช้านานแล้ว ผดุงครรภ์โบราณในภาษมลายูท้องถิ่น เรียกว่าโต๊ะบีแดคือ ผู้เฒ่าซึ่งเป็นผู้หญิงเท่านั้นที่มีความรู้ และความเข้าใจในพิธีกรรม โดยบทบาทหลักของผดุงครรภ์ทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน มีหน้าที่หลักในการดูแลครรภ์และการทำคลอด ซึ่งจะรวมถึงพิธีกรรมในการฝากครรภ์ คือพิธีแนแงเป็นพิธีกรรมในเชิงการสร้างความหมายให้กับความเชื่อที่ต้องสอดคล้องกับพิธีกรรมที่จะต้องจัดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขของทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนชนบท หญิงสาวที่ท้องแรกจะให้ความสำคัญและเชื่อมั่นกับความเชื่อในเชิงพิธีกรรมนี้ เพราะศาสนาและวัฒนธรรมจะมีอิทธิพลต่อแนวทางการดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคมที่ย่อมจะมีลักษณะของสังคมที่ต่างกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าในวัฒนธรรมของแต่ละสังคมย่อมที่จะมีรูปแบบเป็นตัวของตัวเอง มีความเป็นอัตลักษณ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขใด ๆ มาตัดสินพิจารณา หรือนำไปเปรียบเทียบตีค่ากับวัฒนธรรมอื่น อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคม และจิตใจของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาสู่การประสานและผูกมัดคนในสังคมเดียวกัน พฤติกรรมความเชื้อของหญิงมุสลิมที่ต้องปฏิบัติในขณะที่ตนตั้งครรภ์ครบ7 เดือนนั้น เป็นการประพฤติปฏิบัติ หรือเป็นค่านิยม เพราะอาจกล่าวได้ว่าค่านิยมทางสังคมสามารถเป็นแกนกลางให้บุคคลที่เป็นสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ยึดหลักปฏิบัติตาม เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติที่สอดคล้องกับค่านิยมโดยอัตโนมัติ จะถูกนำไปไปถ่ายทอดทางวัฒนธรรมในเชิงของขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ เพื่อตอบสนองต่อค่านิยมทางสังคมนั้น ๆ ที่จำเป็นจะต้องมีความเชื่อ เพื่อยึดถือปฏิบัติต่อกัน แล้วมีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกร่นหนึ่ง จนกลายเป็นพฤติกรรมความเชื่อที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ และพยายามรักษาไว้ให้คงอยู่ จึงทำให้พิธีแนแงเป็นเสมือนพิธีที่บังคับให้หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกในชุมชนนี้ต้องฝากครรภ์ หรือทำพิธี เชื่อว่า ทำให้คลอดง่าย เด็กทารกมีสุขภาพทีดี ฯลฯ ซึ่งโตะบีแดหรือหมอตำแยเป็นผู้ทำพิธีผู้ประกอบพิธีกรรมแนแง คือโต๊ะบีแด(หมอตำแยหรือหมอพื้น) พิธีจะเริ่มด้วยการอ่านคถา นำน้ำมาอาบตัวหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อน เพื่อขจัดสิ่งที่ชั่วร้ายก่อนจะเริ่มทำพิธี ขั้นตอนเริ่มแรกนี้เป็นสิ่งสำคัญตามความเชื่อของทัศนคติจากโต๊ะบีแด หรือผู้ที่จะทำพิธี เพราะเมื่อขาดขั้นตอนแรกที่สำคัญเปรียบเสมือนพิธีนี้ไม่ได้ส่งผลอะไรเลยต่อมาภายหลัง ที่สำคัญการอาบน้ำจะต้องชำระหรือทำความสะอาดด้วยมือของโต๊ะบีแดเอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพิธีที่จะต้องทำในขั้นต่อไปนั้น เชื่อมั่นว่าจะต้องสำเร็จและได้ผลตามที่เชื่อกันมา ก่อนที่จะทำการอาบน้ำร่างกายหญิงที่เข้าพิธีนั้น โต๊ะบีแดจะต้องโกนขนบริเวณที่ตัว ที่ต้นแขนที่ละนิด หน้าผาก เท้าและหัวเข่าที่สำคัญ จากนั้นก็เริ่มอ่านคถาในขณะที่ทำการชำระล้างร่างกายของหญิงที่เข้าพิธี จากนั้นก็จะเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นวัสดุ สิ่งของที่เตรียมไว้ให้เป็นทางการ อาทิเช่น ขมิ้น 1 ผล มะพร้าว 3 ลูก ผ้าสะใบ 7 ผืน 7 สี ข้าวสาร 4 กิโลกรัมเสื่อ 1 ผืน ใบพลู ปูน หมาก เป็นต้น ซึ่งมักจะทำพิธีกันในเวลาช่วงเช้าสาย ๆ ประมาณเวลา 10.00 น. ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะอย่างมาก ทำให้บรรยากาศของการประกอบพิธีนั้นไม่มีแขกมากมายความเชื่อของหญิงมุสลิมกับพิธีแนแง เป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเป็นพิธีที่ง่าย ๆจะ ไม่มีพิธีเลี้ยงฉลองอะไร

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล สะเอะ อำเภอ กรงปินัง จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางหะยีมะลีเย๊าะ ดีสะเอะ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่