ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 24' 14.3395"
17.4039832
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 59' 8.0279"
99.9855633
เลขที่ : 136376
ประเพณีพวงมะโหตร
เสนอโดย boonchuboonchu วันที่ 23 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย สวจ.สุโขทัย วันที่ 5 มิถุนายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 3086
รายละเอียด

ประเพณีพวงมะโหตร

คำว่าพวง มะโหตร มาจากภาษา สันตกฤตว่า หุตะ แปลว่า แขวนหรือห้อยไว้ เพราะฉะนั้น คำว่าพวง มะโหตร จึงแปลว่า สิ่งของที่แขวน หรือ ห้อยไว้ในที่สูง ประเพณีถวายพวงมะโหตรเพื่อบูชาธรรมไม่ปรากฏในตำนานว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคิดเป็นคนแรก แต่ในธรรมบทขุทะกะนิกาย ภาคที่ ๒ กล่าวถึงนางสามาวดีและบริวาร นางสามาวดี เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน ครองกรุงอุเชนี นางสามาวดีและบริวารเลื่อมใสในพระ พุทธศาสนาร้อยพวงดอกไม้ มีลักษณะคล้ายฉัตรถวายพระสงฆ์ที่ออกบิณฑบาต เป็นประจำทุกเช้า ความล่วงรู้ไปถึง พระเจ้าอุเทนจึงให้พระนางสามาวดี จัดทำเป็นพวงดอกไม้แขวนไว้ในพระราชวัง และนิมนต์พระสงฆ์มารับฉันภัตราหาร และถวายพวงดอกไม้เป็นประจำ เพื่อให้พระเจ้าอุเทนได้มีส่วนการถวายพวงดอกไม้ร่วมกับพระนางในครั้งนั้นด้วย

แต่ในประเทศไทยไม่ทราบชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้จัดทำครั้งแรก สมัยที่ผู้เขียนบรรพชาเป็นสามเณร จำอยู่ที่วัดทองเหลือ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ มีโยมถมยา มายรรยง โยมจำปี กล่ำใย โยมสำเภา มายรรยง โยมแปลก โยมยุพิณ ฯลฯ คณะศรัทธาวัดทองเหลือ จัดพวงมะโหตรบูชาเทศมหาชาติ ได้สอบถามท่านเหล่านั้นก็ไม่รู้ที่มา ไปเห็นที่ วัดกลาง อำเภอ เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เห็นว่าดี และก็ทำ ไม่ยาก จึงจดจำแบบอย่างมาทำ และก็ทำทุกปี หลังจากที่ผู้เขียน ย้ายวัดไปอยู่ที่ วัดมงคลทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จึงไม่รู้ว่าประเพณีนี้ยังเหลืออยู่เปล่าแต่เมื่อผู้เขียนมารับตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมตำบลนครเดิฐจึงทราบว่าที่วัดจันวนาประชากร(วัดดงจันทน์) มีการร้อยพวงดอกไม้ที่เรียกว่า พวงมะโหตร บูชาธรรม ในเทศกาลเทศมหาชาติเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ ลักษณะคือ เป็นดอกไม้ที่ปักซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นห่างกัน ประมาณ ๕๐ –๗๐ เซนติเมตร จำนวน ๗ –๙ ชั้นมีอุบะดอกไม้แห้งหรืออุบะ นก ปลา ฯลฯ หรือกระดาษสายรุ้งสีต่าง ๆ ห้อยไว้ที่ปลาย ก้านของดอกไม้แต่ละดอก เพื่อให้ชั้นของดอกไม้ต่อเนื่องกัน ลงมา เป็นพวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ซ.ม. ที่โคนของก้าน ดอกไม้ แต่ละดอกจะผูกของกินของใช้ เช่นขนมแห้ง ปากกา สมุด ดินสอไว้ด้วย การปักดอกและการผูกของกินของใช้ที่โคนของก้านดอกไม้นั้น ในชั้นเดียวกันก็ใช้ดอกไม้ประเภทเดียวกัน และของที่ใช้ผูกก็เป็นของชนิดเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อความกลมกลืนของดอกไม้ที่มีอยู่ ในชั้นเดียวกัน แม้แต่สีของดอกไม้ก็เป็นสีเดียวกันเช่นกัน

พวงมะโหตร เป็นสื่อกลาง ที่ช่วยให้หนุ่มสาวได้ รู้จักคุ้นเคย กัน และศึกษานิสัยใจคอซึ่งกันและกัน เพราะการทำพวง มะโหตร ต้องอาศัยแรงงานคนมาก เช่นเหลาไม้ไผ่ที่ทำก้านของดอกไม้ การประดิษฐ์ ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ การทำอุบะสำหรับแขวนที่ปลายก้าน ของดอกไม้ แต่ละดอก ระยะเวลาการเตรียมงาน และจัดทำดอกไม้ อย่างน้อยที่สุดประมาณ ๗ วัน ในช่วงเวลาที่หนุ่มสาวได้จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำมาจัดสร้างพวงมะโหตรนี้เอง เป็นเวลาที่ทำให้หนุ่มสาวได้รู้จักกัน สร้างความคุ้นเคย และศึกษานิสัยใจคอซึ่ง กันและกัน การสร้างพวงมะโหตร จะเริ่มในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ภาคเช้า ก่อนวันพระออกพรรษา ประมาณ ๒-๓ วัน ใช้เวลาสร้างประมาณ ๓ ชั่วโมง โดยใช้เชือกแขวนที่ขื่อของศาลา นำปลายเชือกข้างหนึ่งมาร้อยผลส้มโอ แล้วปักดอกไม้แห้งต่อ ๆ กันเป็นวงกลม พวงมะโหตร ๑ ชั้น ใช้ดอกไม้ประมาณ ๒๐ - ๒๒ ดอกเมื่อปักดอกไม้เสร็จแล้วแขวนขนมแห้ง สตางค์ ที่โคนและแขวนอุบะที่ปลายของดอกไม้แต่ละดอกจากนั้นจึงชักพวงดอกไม้ให้สูงขึ้นเพื่อจัดทำพวงมะโหตรชั้นที่ 2 ทำเช่นนี้จนครบ ๗ –๙ ชั้น และในชั้นสุดท้ายของพวงมะโหตร จะแขวนพวงตะรั้งแทนอุบะ ใต้พวงมะโหตรเป็นของใช้สำหรับถวายวัดที่ไม่สามารถแขวนที่ก้านของดอกไม้ได้ เช่น โอ่ง หม้อ จาน ปิ่นโต ฯลฯ ส่วนภาคบ่ายจะมีเทศพระมาลัยประดับไว้ที่วัด ๑ คืน เช้าวันขึ้น ๑๕ ต่ำ ทำบุญตักบาตร และมีเทศมหาชาติ เมื่อเทศมหาชาติจบแล้ว ถวายพวงมะโหตร ถ้ามีงานตักบาตรเทโวโรหนะก็รื้อพวงมะโหตรถวายพระหลังจากงานเทโวโรหนะเลิกแล้ว คือในวันแรม ๑ ค่ำซึ่งเป็นวันออกพรรษา การสร้างพวงมะโหตรนี้ชาวบ้านเชื่อว่าได้บุญกุศลมากเพราะนอกจากจะได้ร่วมฉลองเทศมหาชาติทั้ง ๑๓ กันแล้ว ยังเป็นการจัดหาข้าวของเครื่องใช้เข้าวัดด้วย และยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นสื่อกลางให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกันและสนิทสนมกันช่วยผ่อนคลายความตรึงเคียดจากการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันประเพณีการจัดสร้างพวงมะโหตร ของตำบลน้ำขุม และนครเดิฐ อำเภอศนีนคร ได้เปลี่ยนไปมาก เช่นดอกไม้ ซึ่งแต่เดิมใช้ดอกไม้สดและดอกไม้กระดาษ ก็เปลี่ยนมาเป็นดอกไม้พลาสติก กิจกรรมการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การจัดสร้างพวงมะโหตรใช้เวลาน้อยลง แต่ความเชื่อในเรื่องของอานิสงส์แห่งบุญจากการสร้างพวงมะโหตรนั้น ชาวบ้านยังเชื่อว่าได้บุญมากเหมือนเดิมและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของอำเภอศรีนคร และใกล้เคียงพวงมะโหตรของวัดน้ำขุม หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำขุม อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจะจักสร้างพวงมะโหตรกันบนศาลาวัดก่อนวันออกพรรษา ๑ วัน (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) และวันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันตักบาตรเทโวซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย โดยมีการจัดประกวดขบวนรถบุปผาชาติที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ท้องถิ่นของตำบลน้ำขุม

สถานที่ตั้ง
ตำบลนำขุมและตำบลนครเดิฐ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ทุกหมู่ของตำบลนำขุมและตำบลนครเดิฐ ถนน ศรีนคร-ปลายราง
อำเภอ ศรีนคร จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
บุคคลอ้างอิง นายบุญชู พวงกุหลาบ เลขาธิการสภาวัฒนธรรมอำเภอศรีนคร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอศรีนคร
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 /บ้านศรีนคร ถนน ประชาชื่น
ตำบล ศรีนคร อำเภอ ศรีนคร จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 0895372973
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
boonchuboonchu 21 มิถุนายน 2555 เวลา 12:23
เป็นประเพณีที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ในตำบลนำขุมและนครเดิฐ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัยเท่านั้น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่